คุณค่าน้ำนมแม่

การให้นมแม่ช่วยพัฒนาสมองได้อย่างไร

21 มิถุนายน 2017
แชร์ให้เพื่อน

การให้นมแม่ช่วยพัฒนาสมองได้อย่างไร

[seed_social]
[seed_social]

วันนี้ไทยเราจะแข่งขันได้ ต้องแข่งกันที่สมองซีกขวา ซึ่งเป็นโหมดของความคิดสร้างสรรค์”

คุณ ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี กล่าวตอนหนึ่งในการสัมมนา เรื่อง ” Inspired Leadership : ก้าวเป็นที่หนึ่งด้วยแรงบันดาลใจ”

สมองของทารกแรกเกิดเริ่มพัฒนาจากสมองซีกขวาค่ะ ธรรมชาติจึงทำให้แม่ในช่วงหลังคลอดใหม่ๆ มีสมองซีกขวาที่เด่นขึ้นเป็นการชั่วคราว เพื่อจะได้สื่อสารกับลูกรู้เรื่อง

ธรรมชาติได้ให้นมแม่มาด้วยค่ะ เพื่อพัฒนาสมองทั้งสองซีกของลูก เรามาช่วยกันให้เด็กไทยมีสมองที่พัฒนาได้เต็มตามศักยภาพ ด้วยนมแม่กันเถอะค่ะ

การให้นมแม่ช่วยพัฒนาสมองได้อย่างไร

สมองของทารกแรกเกิดมีขนาดเพียง ¼ ของสมองผู้ใหญ่เท่านั้น ทารกต้องการการเลี้ยงดูและสารอาหารที่เหมาะสมในช่วงอายุ 3 ปีแรก เพื่อให้สมองมีการเจริญพัฒนาเต็มที่ตามศักยภาพของแต่ละคน

โครงสร้างสมองแบ่งเป็นส่วนๆตามการทำหน้าที่ สมองชั้นนอก สมองส่วนหน้า สมองส่วนหลัง สมองชั้นในและก้านสมอง เซลล์ประสาทในสมองจำนวนนับล้านล้านเซลล์มีการติดต่อสื่อสารส่งสัญญาณกัน ผ่านเส้นใยประสาท เกิดเป็นวงจรในสมองมากมาย  นมแม่มีส่วนช่วยพัฒนาสมองลูก เพราะ

1.การอุ้มลูกขึ้นมาดูดนมแม่ทำให้ประสาทสัมผัสทุกส่วนของทารกได้รับการกระตุ้นอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงที่กินนมแม่

  1. เมื่อแม่อุ้มลูกขึ้นดูดนนมแม่ มีการส่งสัญญาณประสาทที่ผิวหนัง ที่ดวงตา ที่หู ลิ้น. ทุกส่วนล้วนสัมพันธ์กัน ทำให้ทารกมีปฏิกริยาสนองตอบ เกิดวงจรประสาทใหม่ๆขึ้นตลอดเวลา
  2. สารอาหารในน้ำนมแม่มีส่วนช่วยสร้างเส้นใยประสาท เปรียบเทียบเส้นใยประสาทกับสายไฟฟ้า. สายไฟฟ้า จะมีฉนวนหุ้มอยู่ข้างนอกเพื่อให้ส่งไฟฟ้าได้ดี เส้นใยประสาทก็เช่นกันมีแผ่นไขมันหุ้มอยู่โดยรอบ เพื่อให้การส่งสัญญาณประสาทมีประสิทธิภาพ

สารอาหารในน้ำนมแม่นี่แหละที่ช่วยการสร้างแผ่นไขมันนี้ : Cholesterol. DHA และไขมันอื่นๆช่วยกันสร้างแผ่นไขมัน (myelin sheath) Sialic acid ในรูปของganglioside พบสูงมากที่บริเวณเชื่มต่อของปลายประสาท น้ำนมแม่มีกรดSialic สูงถึง 0.3-1.5mg/ml Taurine. เป็นกรดอะมิโนอิสระที่พบมากที่สุดในน้ำนมแม่ ช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์ประสาท ช่วยฟื้นฟูจอประสาทตา

สารอาหารที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ยังมีสารประกอบอีกมากมายในน้ำนมแม่ ที่ประสานการทำงาน และรวมพลังกัน ไม่ได้มีตัวใดตัวหนึ่งเป็นพระเอก ดังนั้น การที่นมผงกล่าวว่า ได้เติมสารนั้นนี้ตามที่มีในน้ำนมแม่ ก็ไม่ได้แปลว่า สารเหล่านั้นจะทำงานได้เหมือนในน้ำนมแม่ เพราะ ขาดส่วนประกอบอื่นอีกมากมายที่จะมาทำงานด้วยกัน เรื่องนมแม่ ไม่มีใครเป็นฮีโร่เพียงคนเดียวค่ะ เราช่วยเหลือ ร่วมกันทำงาน จึงเกิดเป็นพลังขึ้นมาได้  สารอาหาร และส่วนประกอบในน้ำนมแม่ ต่างเกื้อหนุนซึ่งกันและกันจนเกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับลูกของเราค่ะ

 

Admin
มูลนิธิศูนย์นมแม่
บทความที่เกี่ยวข้อง
ของดีที่มีเฉพาะน้ำนมแม่เท่านั้น ตอนที่ 3
ของดีที่มีเฉพาะนมแม่เท่านั้น ตอนที่ 4
Executive Function-EF หรือ “ทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ”
คุณค่าน้ำนมแม่

การให้นมแม่ช่วยพัฒนาสมองได้อย่างไร

21 มิถุนายน 2017
แชร์ให้เพื่อน

การให้นมแม่ช่วยพัฒนาสมองได้อย่างไร

[seed_social]
[seed_social]

วันนี้ไทยเราจะแข่งขันได้ ต้องแข่งกันที่สมองซีกขวา ซึ่งเป็นโหมดของความคิดสร้างสรรค์”

คุณ ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี กล่าวตอนหนึ่งในการสัมมนา เรื่อง ” Inspired Leadership : ก้าวเป็นที่หนึ่งด้วยแรงบันดาลใจ”

สมองของทารกแรกเกิดเริ่มพัฒนาจากสมองซีกขวาค่ะ ธรรมชาติจึงทำให้แม่ในช่วงหลังคลอดใหม่ๆ มีสมองซีกขวาที่เด่นขึ้นเป็นการชั่วคราว เพื่อจะได้สื่อสารกับลูกรู้เรื่อง

ธรรมชาติได้ให้นมแม่มาด้วยค่ะ เพื่อพัฒนาสมองทั้งสองซีกของลูก เรามาช่วยกันให้เด็กไทยมีสมองที่พัฒนาได้เต็มตามศักยภาพ ด้วยนมแม่กันเถอะค่ะ

การให้นมแม่ช่วยพัฒนาสมองได้อย่างไร

สมองของทารกแรกเกิดมีขนาดเพียง ¼ ของสมองผู้ใหญ่เท่านั้น ทารกต้องการการเลี้ยงดูและสารอาหารที่เหมาะสมในช่วงอายุ 3 ปีแรก เพื่อให้สมองมีการเจริญพัฒนาเต็มที่ตามศักยภาพของแต่ละคน

โครงสร้างสมองแบ่งเป็นส่วนๆตามการทำหน้าที่ สมองชั้นนอก สมองส่วนหน้า สมองส่วนหลัง สมองชั้นในและก้านสมอง เซลล์ประสาทในสมองจำนวนนับล้านล้านเซลล์มีการติดต่อสื่อสารส่งสัญญาณกัน ผ่านเส้นใยประสาท เกิดเป็นวงจรในสมองมากมาย นมแม่มีส่วนช่วยพัฒนาสมองลูก เพราะ

1.การอุ้มลูกขึ้นมาดูดนมแม่ทำให้ประสาทสัมผัสทุกส่วนของทารกได้รับการกระตุ้นอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงที่กินนมแม่

2. เมื่อแม่อุ้มลูกขึ้นดูดนนมแม่ มีการส่งสัญญาณประสาทที่ผิวหนัง ที่ดวงตา ที่หู ลิ้น. ทุกส่วนล้วนสัมพันธ์กัน ทำให้ทารกมีปฏิกริยาสนองตอบ เกิดวงจรประสาทใหม่ๆขึ้นตลอดเวลา

3. สารอาหารในน้ำนมแม่มีส่วนช่วยสร้างเส้นใยประสาท เปรียบเทียบเส้นใยประสาทกับสายไฟฟ้า. สายไฟฟ้า จะมีฉนวนหุ้มอยู่ข้างนอกเพื่อให้ส่งไฟฟ้าได้ดี เส้นใยประสาทก็เช่นกันมีแผ่นไขมันหุ้มอยู่โดยรอบ เพื่อให้การส่งสัญญาณประสาทมีประสิทธิภาพ

สารอาหารในน้ำนมแม่นี่แหละที่ช่วยการสร้างแผ่นไขมันนี้ : Cholesterol. DHA และไขมันอื่นๆช่วยกันสร้างแผ่นไขมัน (myelin sheath) Sialic acid ในรูปของganglioside พบสูงมากที่บริเวณเชื่มต่อของปลายประสาท น้ำนมแม่มีกรดSialic สูงถึง 0.3-1.5mg/ml Taurine. เป็นกรดอะมิโนอิสระที่พบมากที่สุดในน้ำนมแม่ ช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์ประสาท ช่วยฟื้นฟูจอประสาทตา

สารอาหารที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ยังมีสารประกอบอีกมากมายในน้ำนมแม่ ที่ประสานการทำงาน และรวมพลังกัน ไม่ได้มีตัวใดตัวหนึ่งเป็นพระเอก ดังนั้น การที่นมผงกล่าวว่า ได้เติมสารนั้นนี้ตามที่มีในน้ำนมแม่ ก็ไม่ได้แปลว่า สารเหล่านั้นจะทำงานได้เหมือนในน้ำนมแม่ เพราะ ขาดส่วนประกอบอื่นอีกมากมายที่จะมาทำงานด้วยกัน เรื่องนมแม่ ไม่มีใครเป็นฮีโร่เพียงคนเดียวค่ะ เราช่วยเหลือ ร่วมกันทำงาน จึงเกิดเป็นพลังขึ้นมาได้ สารอาหาร และส่วนประกอบในน้ำนมแม่ ต่างเกื้อหนุนซึ่งกันและกันจนเกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับลูกของเราค่ะ

 

Admin
มูลนิธิศูนย์นมแม่
บทความที่เกี่ยวข้อง
เอกสิทธิ์น้ำนมแม่ B SSL
นมแม่ช่วยพัฒนาสมองลูก 2
คุณแม่ให้นมลูก 2 เดือนขึ้นไป : ช่วยลดอาการเจ็บปวดเรื้อรังที่แผลผ่าตัดคลอดได้