จากบทความเรื่อง For how long should an infant be breastfed?
เขียนโดย พญ. ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล
แปลโดย คุณจอย
ประโยชน์ของนมแม่นั้น รู้กันมาตั้งแต่ยุคโรมันแล้ว อารยธรรมโรมันได้ยกย่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดังที่ปรากฏในหลัก ฐานว่ามีการบูชา”เทพธิดาแห่งนมแม่” แพทย์ชาวโรมันสองท่าน ได้เขียนเรื่องระยะเวลาการให้นมแม่ไว้ในตำ ราเรียน โซรานัสเป็นคนแรกที่แ นะนำให้ทารกกินนมแม่จนกว่า ” ฟันของเด็กจะขึ้นจนคร บ” ส่วนกาเลนแนะว่าควรให้เด็กดื่มนมแม่ถึง3 ขวบ นมแม่ให้ทั้งสารอาหาร และภูมิคุ้มกันต่างๆ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่เด็กๆในสมัย โบราณมักจะได้นมแม่ไป จนถึง 2-3 ขวบ
แม้ปัจจุบันนี้ นมแม่ก็ยังคงมีคุณค่า กว่านมประเภทอื่นๆแต่คุณแม่สมัยใหม่ก็มี ีแนวโน้มที่จะให้นมลูกเป็นระยะเวลาที่สั้นลง เหตุผลหลักก็คือคุณแม่ ต้องกลับไปทำงานหลัง ลาคลอด 3 เดือนแต่ว่าคุณแม่สามารถที่จะให้นมลูกต่อได้หาก มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า
ความเข้าใจผิดบางประการทำให้เด็กๆได้รับน้ำนมแม่เป็นระยะเวลาที่สั้นลง เร็วๆนี้คุณแม่ทำงานท่านหนึ่งพาลูกอายุ 6 เดือนมาตรวจสุขภาพตามนัด เธอได้ให้นมแม่อย่างมีความสุขและประสบความสำเร็จในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาโดยบีบน้ำนมไว้ให้ลูกในช่วงกลางวัน และให้ลูกดูดจากเต้าโดยตรงในช่วงเย็นและกลางคืน
” ดิฉันควรเริ่มให้นมผสมลูกรึยังคะ” คุณแม่ท่านหนึ่งถาม
“เอ หมอว่าคุณก็จัดสรรเวลาได้ดีจนให้นมแม่มาได้ตั้งนาน ลูกก็น่ารักแข็งแรง ทำไมถึงคิดว่าลูกต้องกินนมผสมล่ะคะ” หมอไม่ตอบแต่ถามกลับ
“ดิฉันได้ยินคนรอบข้าง พูดทำนองว่า ‘โห ยังให้ลูกกินนมแม่อยู่อีกเหรอ นมแม่ใสๆแบบนี้ไม่มีประโยชน์แล้วสำหรับเด็กอายุเท่า นี้ หรือไม่ก็บอกว่านมแม่อย่างเดียวไม่พอ
สำหรับลูกอีกต่อไป ทำให้ดิฉันไม่มั่นใจและ ไม่แน่ใจว่าทำสิ่งที่ ถูกต้องสำหรับลูกหรือเปล่า”
หมอมองหนูน้อยจ้ำม่ำห นัก 7.5 กก. ที่กำลังยิ้มสดใสอยู่ตรงหน้า ทำไมใครๆถึงพูดว่าเจ้ าหนูนี่ได้นมไม่พอนะ หมอตรวจดูเจ้าหนูน้อยอย่างละเอียด ขณะจับพุงป่องนุ่มนิ่มของหนูน้อย หมอบอกไปว่า
” หมอเข้าใจว่าคุณกังวล เพราะคนอื่น แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือสิ่งที่คุณแม่และคุณ พ่อคิดเกี่ยวกับนมแม่ ถ้าทั้งสองคนเห็นว่านมแม่เป็น นมที่ดีที่สุด ก็ไม่ต้องไปสนใจว่าคน อื่นจะว่ายังไง นมก็ของเราเอง ร่างกายก็ของเรา เพื่อให้คุณแม่มั่นใจ ส่วนสูงและน้ำหนักของ หนูน้อยเติบโตดีแล้ว หมอตรวจดูแล้วก็เห็นว่าเขาดูแข็งแรงทั้งร่างกาย อารมณ์และสังคม นมแม่ไม่ได้ให้แค่เพียงอาหารต่อร่างกายเท่านั้น แต่เป็นอาหารสมอง และอาหารใจด้วย ด้วยนมแม่ล้วนๆลูกก็เ ติบโตสมวัยและไม่เคยเ จ็บ ป่วยสักครั้งคุณแม่ให้ของขวัญที่ด ีที่สุดที่แม่จะให้ลูกได้แล้วล่ะค่ะ ก็คือการให้นมแม่ล้วน 6 เดือนเต็มแบบนี้”
คุณแม่ท่านนั้นยิ้ม ดูคลายกังวลลงไป แต่ก็ยังมีความสงสัยอยู่
” สารอาหารในนมแม่เหมือนในนมผสมมั้ยคะ”
ไม่ต้องสงสัยเลยว่า คุณแม่ท่านนี้กำลังข้องใจ เธออาจจะได้รับผลกระทบ จากโฆษณานมผงที่พบเห็นได้ทุกหนทุกแห่ง นับตั้งแต่สถานีรถไฟฟ ้า ไปจนถึงบันไดเลื่อนในห้าง แต่ไม่มีใครโฆษณานมแม่!
” ไม่เหมือนกันแน่นอนค่ ะ สารอาหารในนมแม่เหนือกว่าในนมผสมอยู่แล้ว นมแม่มีคุณภาพคับแก้ว บริษัทนมพยายามผลิตนมผสมให้ใกล้เคียงนมแม่มากที่สุด แต่ทำไม่เคยได้เพราะสารอาหารหลายอย่างในนมแม่ไม่สามารถผลิตได้ใ นโรงงาน ทั้งภูมิต้านทานที่จะ ต่อสู้กับเชื้อโรค เซลล์มีชีวิตคอยทำลายแบคทีเรีย เอ็นไซม์เช่นไลโซไซม์ สำหรับระบบภูมิคุ้มกัน หรือไลเปสช่วยย่อยไขมัน สารอาหารพิเศษนับร้อยชนิด ที่พบได้แต่เฉพาะในน้ ำนมของมนุษย์เท่านั้น ”
หมอบอกคุณแม่ถึงความมหัศจรรย์เพียงบางส่วน ของการให้นมแม่
” ดิฉันเห็นด้วยกับที่คุณหมอพูดมาและตัดสินใจจะให้นมแม่ต่อค่ะ แต่อยากได้คำยืนยันจากคุณหมอให้มั่นใจขึ้น แล้วจากนี้ดิฉัํนควรให ้อาหารอย่างอื่นกับลูกมั้ยคะ”
“ตั้งแต่อายุ 6 เดือนเป็นต้นไป นมแม่อย่างเดียวไม่เพียงพอในแง่่ที่ว่าลูกต้องการอาหารอื่นเสริมเพิ่มเติมด้วย เพื่อให้เขาหัดเคี้ยวและกลืืนอาหารแข็ง ลูกจะได้รับสารอาหารและโปรตีนเพื่อการเจริญเติบโตค่ะ คุณแม่อาจจะเริ่มด้วยข้าวบดปริิมาณน้อยๆก่อน แล้วค่อยๆเพิ่มขึ้นวันละเล็กละน้อย เพิ่มโปรตีนทีละอย่างเพื่อจะสังเกตได้ว่าเขาแพ้ตัวไหนไหม
ไข่แดงต้มสุกผสมกับข้าวบดก็เตรียมง่ายดีนะคะ ใช้ช้อนค่อยๆป้อน ต่อไปก็ลองอาหารที่หลากหลายเช่น ผัก ผลไม้ เนื้อหมู ปลา ไก่ สำหรับเด็กอายุ 6-8 เดือน ควรกินอาหารเสริมแทนนม 1 มื้อ ควบคู่กับนมแม่ต่อไปได้ค่ะ โดยให้ดูดได้บ่อยเท่าที่เขาต้องการเลยนะคะ เพราะนมแม่ยังมีประโยชน์ทั้งในแง่สารอาหารและภูมิคุ้มกันค่ะ ” หมอสรุปให้ฟังสั้นๆ
” ทีนี้พอไปทำงานแล้วก็จะกังวลน่ะสิคะ ว่าน้ำนมแม่จะน้อยลงไหม เพราะบางวันก็แทบจะไม่มีเเวลาปั๊มนมเลยค่ะ” นี่คือข้อที่คุณแม่ที่ไปทำงานมักจะเป็นห่วงกัน
“หมอรู้ค่ะว่าแม่ที่ทำงานนอกบ้านต้องทำอะไรต่ออะไรหลายอย่างทั้งที่บ้านและที่ทำงาน แต่เชื่อไหมคะว่าแม่ทำงานตั้งหลายคนสามารถให้นมแม่ต่อได้ถึงขวบกว่าสองขวบเลยทีเดียว พยายามลดความกังวลลง เพราะนั่นจะทำให้น้ำนมยิ่งผลิตน้อยลงไปอีกค่ะ ตราบใดที่คุณแม่ยังปั๊มนมและลูกยังดูดจากเต้านมแม่ก็จะไหลมาเทมาไม่ขาดสายแน่นอนค่ะ
คุณแม่มีเพื่อนที่เคยให้นมแม่ที่พอจะคุยด้วยได้ไหมคะ?” การสนับสนุนจากเพื่อนๆและครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับแม่ที่ให้นมลูก
“คงจะไม่มีหรอกค่ะ เพื่อนที่ที่ทำงานแต่ละคนก็ให้นมแม่กันไม่เกิน 3เดือนสักคน เขาก็เลยบอกให้ดิฉันป้อนนมผสมกันไงคะ ก็เลยเป็นคนที่แปลกกว่าใครๆ แต่จะพยายามทำให้ดีที่สุดค่ะ” คำตอบของเธอทำให้นึกถึงสังคมไทยสมัยก่อน ที่อยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ เวลามีปัญหาแบบนี้ก็จะมีพี่ป้าน้าอาคอยช่วยเหลือให้กำลังใจ ตอนนี้เราต้องหาวิธีอื่นแล้ว
” คุณแม่คะ หมอรู้จักชุมชนคนรักนมแม่อยู่แห่งหนึ่ง เป็นชุมชนบนอินเตอร์เน็ตค่ะ ที่นี่แม่ๆที่มีประสบการณ์ในการให้นมแม่ และมีความเอื้ออาทร จะคอยให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ และให้กำลังใจซึ่งกันและกันที่www.thaibreastfeeding.org คุณแม่จะได้พบกับแม่ๆทั้งหลาย และอ่านข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการให้นมแม่ค่ะ ให้นมแม่ต่อนะคะ ถ้ามีปัญหาอะไรก็ติดต่อมาได้ค่ะ”
หมออยากจะให้เด็กๆทุกคนได้รับน้ำนมแม่ไปจนกระทั่งพวกเขาค่อยๆเลิกไปเองทีละเล็กละน้อยตามธรรมชาติ องค์การอนามัยโลก และ ยูนิเซฟได้ประกาศเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ปี 2005 เรื่อง “Innocenti Declaration 2005” เกี่ยวกับการส่งเสริม ปกป้องและ สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดังนี้
“….. วิสัยทัศน์ของเราคือ สิ่งแวดล้อมที่พร้อมจะช่วยทำให้ แม่ ครอบครัว และผู้ดูแลเด็กกลุ่มอื่นๆ สามารถตัดสินใจเมื่อได้รับข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนแล้ว เรื่องการให้อาหารที่เหมาะสมแก่เด็ก, ซึ่งคือการให้นมแม่อย่างเดียวล้วนใน 6 เดือนแรก ตามด้วยการเริ่มอาหารเสริมที่เหมาะสมกับวัย และยังคงให้นมแม่อย่างต่อเนื่องจนถึงสองปีหรือนานกว่านั้น…. “