ความก้าวหน้า ร่าง พรบ. การควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก
ความก้าวหน้า ร่าง พรบ. การควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. …… โดย ผศ. ดร. ปารีณา ศรีวนิชย์ (อ.เตย) รองคณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายในงาน ประชุมเชิงปฎิบัติการ การตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วันที่ 31 มีค. 60 โรงแรมแกรนด์ มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น
- ความจำเป็นในการมี พรบ. การควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. ……เนื่องจากต้องมีการปกป้องแม่ในการได้รับรู้ด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างถูกต้อง ทว่า ปัจจุบันมีการละเมิดหลักเกณฑ์ ดังนั้น กฎหมายฉบับนี้ จะแก้ไขปัญหาการควบคุมการตลาด ตลอด Supplier Chain เพื่อให้แนวทางในการทำการตลาดอย่างเหมาะสม
• เมื่อแม่กลับไปทำงาน ได้รับความกดดันจากที่ทำงานในเรื่องการปั๊มนมแล้วเบียดบังเวลานาน มีแม่หลายท่านได้รับประสบการณ์นี้ แม่จึงควรได้รับการปกป้อง
• การให้นมในที่สาธารณะ ในต่างประเทศ ถือว่าเป็นเรื่องอนาจาร แต่ทว่าในเมืองไทย อาจจะไม่ได้มีเหตุการ์ณนี้ ในโอกาสนี้ แม่สามารถใช้เสื้อให้นมได้เพื่อให้ดูเรียบร้อยขึ้น และมีความสะดวกขึ้นมา สามารถนั่งให้นมลูกในที่สาธาณะได้
• กฎหมาย พรบ. การควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. …… มีเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “แม่ที่ต้องเลี้ยงลูกด้วยนมผง” เนื่องจากจะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการมีกฎหมายฉบับนี้ ที่มาของนมผง 1 กระป๋อง ซึ่งเป็นกระป๋องแรกนำมาเป็น “ตัวอย่างแจก” ให้ลูกได้กินหลังแรกคลอด เป็นที่มาของให้ลูกกินนมกระป๋องต่อไป (ก่อนกำหนดเวลาที่เหมาะสม : ข้อมูลอ้างอิง WHO)
• หน้าที่ของกฎหมาย ต้องมีการตีความ ในทุกประเทศ กฎหมายต้องมีการตีความ จึงช่วยให้ทุกคนเกิดความเข้าใจในการใช้กฎหมายอย่างถูกต้อง และ เด็กจะต้องได้รับอาหารหลัก หลังอายุ 1 ปี ทานอาหารวันละ 3 มื้อ
• ผลสำรวจของการทำตลาดของบริษัทนมผง พบว่า มีการละเมิดหลักเกณฑ์ Milk Code ทุกข้อ
• กฎหมายควบคุมการโฆษณาและการส่งเสริมการตลาด “อาหารเสริมสำหรับทารก” อายุ 1 – 3 ปี ไม่สามารถลดการควบคุมจำนวนปีได้ มีหลายคนสงสัยว่าทำไมไม่ควบคุมเหลือเพียง 2 ปี เนื่องจากผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับทารก มีเฉพาะเด็กอายุ 1 – 3 ปี
• ผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับเด็กและทารก มี 2 ประเภท ได้แก่ ผลิตภัณฑ์สำหรับทารก (Infant Product) และ ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก (Young Children Product) ดังนั้น กฎหมายควบคุมอาหาร 2 ประเภท
• นมผงเป็นผลิตภัณฑ์ Second Best ไม่ใช่อาหารที่เป็นอันตราย แต่หากผลิตภัณฑ์นี้ ทำให้เด็กขาดโอกาสในการกินนมแม่ ทำให้ได้นมแม่น้อยลง การละเมิดจริยธรรมของผลิตภัณฑ์สำหรับทารกและเด็กเล็ก จำเป็นต้องได้รับการควบคุม
• ข้อมูลของอาหารสำหรับเด็กและทารก ควรมาจากบุคลากรทางการแพทย์ แต่ไม่ใช่หน้าที่ของบริษัทเป็นผู้ให้ข้อมูล (แสดงข้อมูลส่วนประกอบของนมผงบนฉลากได้เท่านั้น)