แม่อาสา

คุณภาพนมแม่ VS อาหารที่แม่กิน

10 กันยายน 2017
แชร์ให้เพื่อน

คุณภาพนมแม่ VS อาหารที่แม่กิน

[seed_social]
[seed_social]

ขอยกบทความนี้ให้แม่ๆ ทุกท่านค่ะ

เชียร์ให้บำรุงตัวเองไว้ก่อนค่ะ สุขภาพจะได้ดีๆ กันถ้วนหน้า

อ่านแล้วขอให้สบายใจ เชื่อมั่น มั่นใจนมคุณค่านมแม่นะคะ/  บี

คุณภาพนมแม่ VS อาหารที่แม่กิน

แม่ที่ให้นมบุตรผลิตน้ำนมประมาณ 23-27 ออนซ์ต่อวัน ซึ่งในนมแม่จะมีแคลเซี่ยมและสารอาหารอื่นๆ ที่ลูกต้องการ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่แม่ได้รับพลังงานเพิ่มอีก 500 แคลลอรี่ต่อวัน เพราะสารอาหารที่แม่รับประทานจึงเป็นสิ่งที่สำคัญไม่เพียงแต่สำหรับลูก แต่สำคัญมากสำหรับแม่เช่นกัน

ในเชิงคุณค่า (คุณภาพ) นมแม่ดีและมีประโยชน์เสมอเพราะร่างกายจะจัดสรรดึงสารอาหารไปให้ลูก (จะเกิดขึ้นในน้อยรายเท่านั้นที่แม่ขาดสารอาหารอย่างหนัก ทำให้คุณค่าของนมแม่ด้อยลง) แต่ในเชิงปริมาณ สารอาหารที่แม่รับประทานจะมีผลกับปริมาณน้ำนมเป็นอย่างมาก

หมายความว่าแม้แม่ไม่ได้บำรุง คุณภาพของนมแม่จะไม่ด้อยลง แต่ปริมาณที่บีบได้อาจจะลด หลักๆ เป็นเพราะร่างกายของแม่เหนื่อยล้าค่ะ

เพราะสารอาหารต่างๆ ที่แม่รับเข้าไปนั้นจะบำรุงทั้งร่างกายของแม่ที่ยังต้องการการฟื้นฟูหลังคลอดบุตร และยังช่วยในการผลิตน้ำนมเป็นหลัก แม่ให้นมที่ไม่ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่อาจมีลูกที่แข็งแรง แต่ร่างกายอาจทรุดโทรมเพราะร่างกายจะเลือกที่จะสร้างน้ำนมให้ลูกก่อน

ดังนั้นหากแม่ทานอาหารไม่ครบหมู่จึงจะทำให้ร่างกายของขาดสารอาหาร ทั้งที่ลูกได้รับสารอาหารครบถ้วน

*****************************************

พื้นฐานการรับประทานอาหารระหว่างให้นมลูก

1. เพิ่มปริมาณน้ำดื่มอีก 1 ลิตรจากเดิม เพราะน้ำจะถูกนำไปช่วยสร้างน้ำนมแม่

2. เพิ่มปริมาณการรับประทานให้ได้ประมาณ 2500 แคลลอรี่ (หรือมากกว่าหากต้องการให้นมลูกระยะเวลาเกิน 3 เดือน) เน้นว่าแคลลอรี่ที่เพิ่มควรได้มาอาหารโปรตีน ไม่ใช่แป้งหรือน้ำตาลค่ะ

3. แบ่งทานอาหาร 5 มื้อต่อวัน (อาหารเช้า เที่ยง ของว่างช่วงบ่าย อาหารเย็น และของว่างช่วงค่ำ) อาหารว่างที่ดีต่อสุขภาพควรเป็นน้ำดื่ม + เครื่องดื่มที่มีประโยชน์ ผลไม้ เป็นต้น

4. งดสูบบุหรี่หรือสูดควันบุหรี่ เพราะสารนิโคตินสามารถผ่านทางน้ำนมไปหาลูกได้

5. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์สามารถผ่านทางน้ำนมเช่นกัน

6. งดซื้อยาทานเอง ยาสามัญทั่วไปมักปลอดภัยระหว่างการให้นม แต่แม่ที่ให้นมควรปรึกษาแพทย์หรือคลินิกนมแม่ก่อน

7. หลีกเลี่ยงสารพิษต่างๆ เช่นควันบุหรี่ ยาฆ่าแมลงและสารพิษต่างๆ

8. รับประทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวจากธรรมชาติ ช่วยในการเสริมสร้างสมองของลูกเช่น เมล็ดทานตะวัน ปลาและน้ำมันมะกอก

9. รับประทานโฟเลท (กรดโฟลิค) พบมากในยอดผัก ผักใบเขียว ข้าวโพดและกะหล่ำปลี หากไม่สะดวกสามารถซื้อจากร้านขายยาทั่วไป

ข้อมูลจาก http://www.about.com

http://womenshealth.about.com/cs/breastfeeding/a/nursingdiet.htm

Admin
มูลนิธิศูนย์นมแม่
บทความที่เกี่ยวข้อง
นมแม่กู้คืนไม่ง่าย..แต่สำเร็จได้ค่ะ
ประสบการณ์ คลอด (ผ่า)
ชวนลูกเล่น พัฒนาสมองวัยเตาะแตะ