คุณค่าน้ำนมแม่

จากน้ำนมแม่ สู่กระบวนการพัฒนาทักษะ EF

10 ธันวาคม 2017
แชร์ให้เพื่อน

จากน้ำนมแม่ สู่กระบวนการพัฒนาทักษะ EF

[seed_social]
[seed_social]

จากน้ำนมแม่ สู่กระบวนการพัฒนาทักษะ EF

งานวิจัยจำนวนมากที่ชี้ให้เห็นว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (breastfeeding) มีผลบวกต่อเด็กหลายประการ ในด้านสติปัญญาและพัฒนาการพื้นฐานทั่วไปของสมอง รวมถึงมีผลระยะยาวต่อความสำเร็จในการเรียนและฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม (Tawia, 2013)

เด็กที่ได้รับน้ำนมจากแม่ จะมี IQ สูงกว่าเด็กที่กินนมผง เส้นรอบวงศีรษะ (head circumference) ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับสติปัญญา มีขนาดใหญ่กว่า และสมองเนื้อขาวของเด็กที่กินนมแม่มีการพัฒนารวดเร็วกว่า ซึ่งสมองเนื้อขาวนี้มีผลต่อการส่งสัญญาณข้อมูลในสมองและความเร็วของสมอง

สำหรับเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่ พบว่าจะมีไอคิวต่ำเด็กที่กินนมแม่กว่าประมาณ 2-5 จุด และเส้นรอบวงศีรษะเล็กกว่า การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองก็ได้พบว่า มีพัฒนาการตอบสนองน้อยกว่า ซึ่งความแตกต่างนี้เห็นได้ตั้งแต่เด็กอายุได้ 3 เดือน

นอกจากนี้ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ยังพบว่ามีความเชื่อมโยงระยะยาว กับความสำเร็จในโรงเรียน การศึกษาในระดับหลังปริญญาตรี และมีผลโยงไปถึงการเปลี่ยนสถานภาพทางสังคม (social mobility) อีกด้วย คำอธิบายก็คือ นมแม่นั้นมีส่วนประกอบของกรดไขมันชนิด DHA และ AA ที่จำเป็นต่อการสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ในระบบประสาทส่วนกลาง และมีคอเรสเตอรอลสูง ช่วยในการสร้างไมอิลิน ซึ่งเพิ่มความเร็วในการส่งสัญญาณในสมองของเด็ก และกรด DHA ยังมีความเชื่อมโยงกับการเจริญเติบโตของสมอง เส้นรอบวงศีรษะ น้ำหนักของสมอง และการสร้างซีนแนปส์ โดยที่นมชงไม่สามารถจะทดแทนได้ (Michaelson et al. 2009)

พบกันในงาน การประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 6 วันที่ 8 -10 พ.ย. 60 ณ โรงแรมมณเฑียรริเวอร์ไซด์

ขอบคุณภาพ คุณอาลิซาเบธ แซดเลอร์
ขอบคุณเรื่อง อาจารย์ พรพิไล เลิศวิชา ผู้เชี่ยวชาญด้าน EF

บทความที่เกี่ยวข้อง
ของดีที่มีเฉพาะนมแม่เท่านั้น ตอนที่ 1
ของดีที่มีเฉพาะน้ำนมแม่เท่านั้น ตอนที่ 3
ของดีที่มีเฉพาะนมแม่เท่านั้น ตอนที่ 4