แม่อาสา

ทารกไม่กินน้ำเลย 6 เดือน …… เป็นไปได้อย่างไร

10 กันยายน 2017
แชร์ให้เพื่อน

ทารกไม่กินน้ำเลย 6 เดือน …… เป็นไปได้อย่างไร

[seed_social]
[seed_social]

ทารกไม่กินน้ำ 6 เดือน …… เป็นไปได้อย่างไร

น้ำนั้น สำคัญไฉน?? … นมแม่คือน้ำที่ลูกน้อยต้องการ…..

นมแม่ล้วน 6 เดือนแรก (Exclusive Breastfeeding)

1. ถาม – ทำไมต้องนมแม่ล้วนเท่านั้นในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต

ตอบ – จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ลูกน้อยที่กินนมแม่อย่างเดียวใน 6 เดือนแรกจะมีผลดีกับการเติบโตและพัฒนาการของลูก เพราะนมแม่มีคุณค่าและพลังงานที่เหมาะสมกับความต้องการของทารก การกินนมแม่ล้วนในช่วง 6 เดือนแรก ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตในทารกจากโรคร้ายต่างๆ เช่น โรคติดเชื้อในทางเดินอาหาร ในทางเดินหายใจ (ปอดบวม) หรือหูอักเสบ ช่วยให้ร่ายกายของทารกฟื้นตัวเร็วเมื่อเจ็บป่วย และยังช่วยแม่คุมกำเนิดโดยธรรมชาติด้วย

2. ถาม – ทำไมน้ำจึงไม่จำเป็นสำหรับทารก

ตอบ – ความเชื่อผิดๆ ที่สืบทอดลงมา เช่น

* มนุษย์ต้องกินน้ำ ทารกจึงต้องได้รับน้ำสะอาดด้วย

* ดับกระหาย

* ทำให้ไม่งอแง ไม่ติดแม่

* ช่วยให้ถ่ายง่าย ท้องไม่ผูก

ซึ่งจริงๆ แล้ว ทารกต้องการปริมาณน้ำ 80–100 มล.ต่อ 1 กก. ในช่วงอาทิตย์แรกๆ และประมาณ 140–160 มล.ต่อ 1 กก. ในช่วงอายุ 3–6 เดือน ซึ่งหากลูกกินนมแม่ทุกครั้งที่ต้องการ หรือ on demand (กลางวันและกลางคืน) ปริมาณน้ำที่ลูกได้รับจากน้ำนม เป็นปริมาณที่เพียงพอตามที่ร่างกายต้องการแล้ว เพราะ

– 80% ของนมแม่ คือ น้ำ

ในระยะแรก หัวน้ำนมจะเข้มข้นไปด้วยสารอาหารและภูมิคุ้มกัน ปริมาณน้ำจะน้อยแต่น้ำเป็นสิ่งที่ไม่จะเป็นสำหรับเด็กแรกเกิด เพราะร่างกายของเด็กแรกเกิดในปริมาณน้ำสะสมอยู่แล้ว ในระยะวันที่ 3-4 หัวน้ำนมถูกแทนที่ด้วยน้ำนมแม่ ซึ่งจะเป็นแหล่งน้ำของทารกไปจนถึงอายุ 6 เดือน

(ส่วนประกอบของนมแม่ – ไขมัน 3.8%, โปรตีน 0.9%, แล็คโตส 7.0%, อื่นๆ 0.2%, น้ำ 88.1%)

– สารอาหารในน้ำนมแม่ถูกดูดซึมไปใช้ได้เกือบ 100 %

แม้ว่าปริมาณน้ำในนมแม่มีสูงและสสารในนมแม่มีน้อย (แต่พอเหมาะกับความต้องการของลูก) ร่างกายของทารกสามารถดูดซึมสารอาหารในนมแม่ได้เกือบ 100% ปริมาณน้ำที่ได้จากนมแม่จะช่วยในการชะล้างส่วนเกิน ไตของทารกที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่จึงไม่ต้องทำงานหนัก

3. ถาม – การให้ทารกกินน้ำก่อนอายุ 6 เดือน มีผลกระทบอย่างไร

ตอบ – เนื่องจากกระเพาะของทารกเล็กมาก การป้อนน้ำกับทารกทำให้น้ำไปแทนที่ของนมในกระเพาะ ทำให้เสี่ยงก่อให้เกิดภาวะขาดอาหารในทารก การเติบโตและพัฒนาการล่าช้า ปริมาณน้ำเพียงเล็กน้อยสามารถทำให้ทารกอิ่มหรือเจริญอาหารน้อยลง และจะได้รับประโยชน์จากนมแม่น้อยลง (การศึกษาพบว่าการให้น้ำในช่วง 6 เดือนแรกทำให้ทารกกินนมได้น้อยลง 11 % การให้ทารกกินน้ำในระยะ 6 เดือนแรกยังเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคท้องเสียที่เกิดจากน้ำหรือภาชนะที่ไม่สะอาดด้วย

ดังนั้นเมื่อใดที่ลูกหิวนมหรือกระหายน้ำ นมแม่จะช่วยดับกระหายพร้อมยังให้สารอาหารอื่นๆ ที่สำคัญต่อทารกในปริมาณที่พอเหมาะอีกด้วย ผลดีอีกข้อสำหรับการกินนมแม่อย่างเดียวคือ ลูกดูดยิ่งบ่อย จะเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายแม่ผลิตน้ำนมมากขึ้นด้วย

4. ถาม – ทำไมจึงให้ทารกกินน้ำเมื่ออายุ 6 เดือน

ตอบ – เนื่องจากร่างกายของทารกเริ่มต้องการสารอาหารเพิ่มขึ้นหลังอายุ 6 เดือนไปแล้ว น้ำนม (ไม่ว่าจะเป็นนมแม่หรือนมผง) มีสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของทารก ดังนั้นควรให้ทารกเริ่มทานอาหารเสริมหลัง 6 เดือนไปแล้ว โดยอาหารเหล่านี้จะทำให้ทารกต้องการปริมาณน้ำมากขึ้นด้วยสำหรับการกลืนและย่อย อย่างไรก็ตาม การให้น้ำไม่ควรให้มากจนเกินไป เพราะอาจทำให้ปริมาณการกินนมแม่ลดน้อยลง

ข้อมูลจาก : http://www.linkagesproject.org

Exclusive Breastfeeding: The Only Water Source Young Infants Need- Frequently Asked Questions

Admin
มูลนิธิศูนย์นมแม่
บทความที่เกี่ยวข้อง
บทบาทคุณพ่อช่วยเลี้ยงลูก
ได้เวลาอ่านนิทาน
มุมนมแม่ประเทศใต้หวัน