ทำไมจึงต้องมีพรบ code milk ในประเทศไทย

08 ธันวาคม 2017
แชร์ให้เพื่อน

ทำไมจึงต้องมีพรบ code milk ในประเทศไทย

[seed_social]
[seed_social]

ทำไมจึงต้องมีพรบ code milk ในประเทศไทย

1.ประเทศไทยประกาศใช้หลักเกณฑ์ ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องมานานถึง 30ปี แต่ก็มีการละเมิดหลักเกณฑ์นี้ทุกข้อมาโดยตลอด ในทุกภาคของประเทศไทย ทั้งนี้เพราะ ไม่มีบทลงโทษ

2.การตลาดที่ขาดจริยธรรมที่ดำเนินมาเป็นเวลานาน ลดทอนการให้นมแม่ ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยในประเทศออสเตรเลีย พบว่า การโฆษณานมผงสำหรับเด็ก 1 ปีขึ้นไป มีผลต่อการรับรู้ของแม่และครอบครัว และส่งผลต่อการใช้นมผงตั้งแต่ยังเป็นทารกได้ เพราะสามารถจดจำตราผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันได้ (1)

อัตราการให้นมแม่ในประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่ต่ำมาก ดูจากอัตราการให้นมแม่อย่างเดียวถึง 6 เดือน ในปี 2006 คือ 5% และค่อยๆเพิ่มอย่างช้าๆ เป็น 23% ในปี 2016 ซึ่งยังห่างจากเป้าหมายของโลกที่จะให้มีอัตราการให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน เป็น 50% ในปี 2025 (2)

เราจึงต้องมีการปกป้องการให้นมแม่ โดยการออกกฎหมายนี้ ควบคู่ไปกับ การส่งเสริม และสนับสนุนการให้นมแม่ ซึ่งได้ดำเนินงานมาโดยตลอด

  1. อุตสาหกรรมนมผง มีมูลค่าการตลาดที่สูงมาก และขยายตัวเพิ่มมากขึ้นทุกปีตลาดนมผงในประเทศไทยคิดเป็น ประมาณ 2% ของตลาดในปี 2014 คิดเป็นจำนวนเงิน 26,353 ล้านบาท คาดว่าตลาดจะเติบโตขึ้นเป็น 32,000 ล้านบาท ในปี 2019 เมื่อมีตลาดใหญ่ จึงมีการทำการตลาดหลายวิธีตามมา โดย ให้ข้อมูลที่ชักนำให้เข้าใจผิด ว่านมผงดีทัดเทียมกับนมแม่ด้วย แม่จึงตัดสินใจที่จะไม่ให้นมแม่ หรือตัดสินใจเลิกให้นมแม่ก่อนเวลาอันควร
  2. การตลาดนมผงที่ขาดจริยธรรม และไม่เหมาะสม ส่งผลต่อการตัดสินใจ ว่าจะเลี้ยงทารกอย่างไร เนื่องจากได้รับข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน ข้อมูลเพียงด้านเดียวจากการโฆษณาไม่เพียงพอสำหรับการตัดสินใจ

แม่จะตัดสินใจได้อย่างดีที่สุด เมื่อได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนรอบด้าน เกี่ยวกับการให้นมแม่ และนมผง โดยปราศจากอิทธิพลของการตลาด และการโฆษณา พรบ code milk จะได้ผลจริงหรือไม่? การออกข้อกำหนดควบคุมที่เข้มแข็งจะทำให้
-ลดการตลาดนมผงที่ไม่เหมาะสมให้น้อยลง
-ลดการใช้นมผง
-เพิ่มอัตราการให้นมแม่

ยกตัวอย่างอัตราการขายนมผง และข้อกฎหมายที่แตกต่างกันระหว่างประเทศ อินเดีย และประเทศจีน ในช่วงปี 2002- 2008 มีความแตกต่างระหว่าง 2 ประเทศใหญ่ๆที่จะอธิบายกร๊าฟนี้ การขายนมผงในประเทศอินเดียเทียบกับจีน กล่าวคือ การขายนมผงในจีนเพิ่มสูงขึ้นทุกปี จาก 1000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2002 เป็น เกือบ 3500 ล้านเหรียญในปี 2008 ในขณะที่ยอดขายนมผงในอินเดียขยับขึ้นน้อยมาก (3)

-ข้อแตกต่างที่สำคัญคือ กฎหมาย code นมของอินเดีย ห้ามการส่งเสริมการตลาดของนมผงและอาหารเด็กจนถึงอายุ 2 ปี ในขณะที่จีน ห้ามถึงนมผงสำหรับทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือนเท่านั้น ความแตกต่างอื่นๆเช่น
1.จีนมีประชากรในเมืองมากกว่า คือ 51% อินเดีย 31 % และมีอัตราที่ผู้หญิงทำงานนอกบ้านมากกว่า 68% เทียบกับ 29%
2.จีนมี GDP per capita สูงกว่า ( 6070 US dollar ในปี 2012 ) และ GDP growth สูงกว่า ( 9.3% จากปี 1990-2011)เทียบกับIndia1515USdollarและ4.9%ตามลำดับ
3. แต่อินเดียมีเด็กเกิดมากกว่าจีนถึงเกือบ 2 เท่าความแตกต่างของการขายนมผงในสองประเทศนี้ เด่นชัดมากว่า การมี กฎหมายที่ควบคุมการส่งเสริมการตลาดนมผงถึงอายุ ยิ่งมาก ยิ่งทำให้มีการขายนมผงได้น้อย และนั่นหมายความว่า มีการให้นมแม่มากขึ้น(อัตราการให้นมแม่ของสองประเทศนี้ก็แตกต่างกัน ที่อินเดีย ให้นมแม่อย่างเดียว 46% ที่ 1 ปี เด็กยังกินนมแม่ถึง 88% ในขณะที่จีน 28% และ 37% ตามลำดับ)

ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยเราจะมี พรบ ควบคุมการส่งเสริมการตลาด อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก เพื่อปกป้องการให้นมแม่ และทำให้เด็กไทยได้รับนมแม่มากขึ้น และเป็นระยะเวลานานขึ้น

ผลกำไรที่ประเทศไทยได้รับคือ สุขภาพดีของเด็ก ที่จะเติบโตเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ เป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับอนาคตของประเทศเรา / พญ. ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล

References
1. Nina J Berry et al, It’s all formula to me : Women’s Understanding of toddler milk ads, Breastfeeding review 2009 ; 17 (3):21-30
2. The Status of breastfeeding Practices in Thailand (MICS ,2016)
3.The Impact of Marketing of Breast-Milk Substitutes on WHO-Recommended Breastfeeding Practices . Ellen G. Piwoz, SCD, Sandra L. Huffman, ScD Research article Food and Nutrition Bulletin August 27 2015

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
งานรวมใจแม่อาสาครั้งที่ 1/2558 “พื้นฐานซีวิตดี เริ่มที่ในครรภ์”
สัมมนานมแม่และวิทยากร วันที่ 29 ก.ค.57
รายการจุดชนวนความคิด ร่างพรบ.ควบคุมอาหารทารกและเด็กเล็ก