พรบ.ควบคุม

ที่มา Milk Code

04 ธันวาคม 2017
แชร์ให้เพื่อน

ที่มา Milk Code

[seed_social]
[seed_social]

1.ทำไม ร่างพ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กครอบคลุมผลิตภัณฑ์ถึงอายุ 3 ปี

 

  1. WHO แนะนำให้เด็กทุกคนกินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และให้นมแม่ต่อเนื่องควบคู่กับอาหารตามวัยถึง 2 ปี หรือนานกว่านั้น

ตามหลักการขององค์การอนามัยโลกที่แนะนำให้เด็กได้กินนมแม่อย่างเดียวถึงอายุ 6 เดือนและกินนมแม่ต่อเนื่องควบคู่กับอาหารตามวัยจนถึงอายุ 2 ปีหรือนานกว่านั้น เนื่องมาจากผลการศึกษาวิจัยจำนวนมากทั่วโลกที่พบว่าการให้เด็กกินนมแม่ต่อเนื่องยิ่งนานยิ่งมีประโยชน์ต่อตัวแม่และเด็กทั้งในด้านสุขภาพ ความสำเร็จทางการศึกษา เศรษฐกิจและสังคม (ผลการวิจัยตีพิมพ์ใน Lancet series)

ตามความเป็นจริงคือ เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไปจำเป็นต้องได้กินนมและได้รับอาหารตามวัยที่เหมาะสมซึ่งอาหารตามวัยหมายถึงอาหารมื้อหลักเช่นข้าวบดตับบดไข่บดเป็นต้นนมผสมไม่ได้เป็นอาหารตามวัยแต่นมผสมคือนมที่นำมาใช้ทดแทนนมแม่หากแม่ยังสามารถให้นมลูกต่อเนื่องได้ แม่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้นมผสมจนถึงอายุอย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป ดังนั้น การให้ความเห็นว่านมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดของทารกตั้งแต่แรกเกิดถึงหนึ่งปีเท่านั้น จึงเป็นการบิดเบือนคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกให้เกิดความสับสนว่าเด็กควรกินนมแม่ถึงแค่อายุ 1 ปี

  1. หลักเกณฑ์สากลว่าด้วยการตลาดอาหารทดแทนนมแม่ ครอบคลุมผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กอายุถึง 3 ปี

สมัชชาอนามัยโลก (World Health Assembly) และประเทศสมาชิก ได้มีมติรับรองหลักเกณฑ์สากลว่าด้วยการตลาดอาหารทดแทนนมแม่ (International Code of Marketing of Breast Milk Substitutes หรือ Code) ตั้งแต่พ.ศ.2524 และมีมติเพิ่มเติมในปีต่อๆ มาเป็นลำดับ

ที่ผ่านมา บริษัทผู้ผลิตมักโต้แย้งว่า อาหารทดแทนนมแม่ (Breastmilk Substitutes – BMS) หมายถึง นมที่ใช้สำหรับเด็กแรกเกิดถึง 6 เดือนเท่านั้น และใช้โอกาสนี้ในการทำการส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์นมของเด็กอายุ1 ปีขึ้นไป แต่ล่าสุด ในที่ประชุมสมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 69 (WHA 69th, 2016) องค์การอนามัยโลกได้จัดทำ Guidance on ending inappropriate promotion of food for infants and young children (เอกสารแนบ 1) เพื่อเป็นแนวทางให้ประเทศสมาชิกมีความเข้าใจตรงกันในเรื่องของ การส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กที่ไม่เหมาะสม ซึ่งใน guidance ดังกล่าว ในข้อแนะนำที่ 2 อธิบายไว้ชัดเจนว่า BMS ให้หมายถึงอาหารหรือนมใดๆที่ทำการส่งเสริมการตลาดสำหรับเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 3 ปี และเมื่อประเทศต่างๆออกกฎหมายเพื่อบังคับใช้หลักเกณฑ์สากลว่าด้วยการตลาดอาหารทดแทนนมแม่ ก็ให้หมายความครอบคลุมผลิตภัณฑ์ถึง 3 ปี

ดังนั้น การตีความหลักเกณฑ์ของ WHO ว่าใช้ควบคุมการตลาดเฉพาะกับอาหารและผลิตภัณฑ์ของทารก 1 ปีเท่านั้น จึงเป็นการตีความที่ไม่ถูกต้องตามความเข้าใจสากลที่ได้รับการยอมรับจากประเทศต่างๆ และจากองค์การระหว่างประเทศ

  1. ทารกและเด็กเล็กเป็นกลุ่มเปราะบางต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองสิทธิ

สินค้าทุกชนิดจำเป็นต้องมีมาตรฐานควบคุมการโฆษณาและส่งเสริมการตลาดเพื่อป้องกันการโฆษณาชวนเชื่อและหลอกลวงประชาชนถึงคุณสมบัติสรรพคุณที่เกินจริงทารกและเด็กเล็กซึ่งเป็นประชากรกลุ่มวัยที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นช่วงที่สร้างพื้นฐานของชีวิตในระยะยาวทั้งร่างกายและสมองแต่กลับเป็นกลุ่มที่เปราะบางช่วยเหลือและตัดสินใจเลือกอาหารเองไม่ได้ นมผสมซึ่งเป็นสินค้าที่ถูกนำมาใช้เป็นอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กโดยพ่อแม่และครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวที่ลูกไม่ได้กินนมแม่ จำเป็นต้องถูกควบคุมเรื่องการโฆษณาและส่งเสริมการตลาดอย่างรัดกุมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอวดอ้างสรรพคุณทางโภชนาการและสุขภาพเพื่อจูงใจให้พ่อแม่และครอบครัวเกิดการใช้โดยไม่จำเป็นหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนั้นการควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารก (แรกเกิด- 12 เดือน)เท่านั้น อาจไม่เพียงพอในการปกป้องเด็กเล็กซึ่งเป็นประชากรในวัยเปราะบางเช่นกัน

  1. การส่งเสริมการตลาดแบบข้ามชนิด

การอนุญาตให้ทำการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับเด็กเล็ก จะส่งผลให้เกิดการส่งเสริมการตลาดแบบข้ามชนิด (cross promotion) หมายถึง เมื่อมารดาและครอบครัวได้เห็นการโฆษณาและส่งเสริมการใช้อาหารสำหรับเด็กเล็กจะทำให้เกิดการเชื่อมโยงไปสู่อาหารสำหรับทารก เนื่องจาก ชื่อ ตราและสัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กทั้งสองกลุ่มมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ดังนั้นการควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกเท่านั้นเป็นวิธีการที่ขาดประสิทธิภาพและเปิดช่องโหว่ให้มีการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กได้

 

  1. ร่างพ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง

 

ร่างพ.ร.บ.ฯ ฉบับนี้ ครอบคลุมผลิตภัณฑ์เหล่านี้

 

  1. ทำไมห้ามโฆษณาทุกช่องทาง

การโฆษณาเป็นการส่งเสริมการตลาดที่พบเห็นได้มากที่สุด และมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของแม่ในการเลี้ยงลูกนมผสมเช่นเดียวกัน (นงนุช, 2558) ใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ขอบเขตของการโฆษณา คือ การใช้สื่อสาธารณะที่ประชาชนทั่วไปทั้งที่ต้องการหรือไม่ต้องการได้เห็น หรือทราบข้อความได้เห็น ได้รับทราบ โดยมุ่งประโยชน์ทางการค้า

สื่อสาธารณะ ประกอบด้วยโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์อื่นใด สื่ออิเลกทรอนิกส์ หรือสื่อสาธารณะอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ ทั้งนี้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม

ไม่รวมกรณีที่หญิงตั้งครรภ์ หรือแม่ที่มีลูกอายุต่ำกว่า3 ปี ได้โทรติดต่อไปหาบริษัทด้วยตนเอง หรือค้นหาความรู้การให้นมจากหน้าเว็ปของบริษัท รับทราบผลิตภัณฑ์ซึ่งโฆษณาได้ตามฉลากและไม่รวมกรณีที่แม่คนหนึ่งได้แนะนำให้แม่อีกคนหนึ่งใช้ผลิตภัณฑ์โดยไม่มีประโยชน์ทางการค้า

 

  1. พ.ร.บ. ปิดกั้นการให้ข้อมูลประชาชนจริงหรือไม่

หลักเกณฑ์สากลฯ และร่างพ.ร.บ.ฯ ไม่ได้ห้ามบริษัทให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ กับบุคลากรทางการแพทย์และแม่ ครอบครัวและประชาชนทั่วไป เพียงแต่การให้ข้อมูลของบริษัทฯ จะต้องเป็นข้อความเดียวกับข้อความที่ปรากฎในฉลากที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับคณะกรรมการอาหารและยาเท่านั้น รวมถึงไม่สามารถกล่าวอ้างสรรพคุณทางโภชนาการและสุขภาพ

นอกจากนี้การหากบริษัทฯ จะให้ข้อมูลกับบุคลากรทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องกล่าวอ้างสรรพคุณของผลิตภัณฑ์จะต้องมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ

 

  1. พ.ร.บ.มีผลกระทบทางเศรษฐกิจหรือไม่

พ.ร.บ. ฉบับนี้ไม่กระทบต่อการพัฒนาองค์ความรู้ของประเทศ ไม่มีเนื้อหาใดจำกัดสิทธิการทำวิจัยและการศึกษาของบุคลากรทางการแพทย์ ที่สำคัญไม่ขัดกับหลักเศรษฐกิจและการค้าเสรี เนื่องจากประเทศไทยไม่ใช่ประเทศแรกที่นำหลักการของ WHO มาออกเป็นกฎหมาย มีมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลกที่ได้ผลักดัน CODE เป็นกฎหมายสำเร็จ และไม่มีประเทศใดถูกฟ้องร้องว่ากฎหมายฉบับนี้ละเมิดหลักการค้าเสรี

นอกจากนี้ จากบทนำ องค์การการค้าโลก (World Trade Organization) กล่าวว่า การค้าควรมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน และการค้าเสรีไม่ควรเป็นเป้าหมายในตัวของมันเอง

หลักปฏิบัติสำคัญขององค์การการค้าโลก ได้แก่

เมื่อพิจารณาถึงหลักปฏิบัติที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่าการควบคุมการส่งเสริมการตลาดของอาหารทารกและเด็กเล็ก สามารถทำได้โดยไม่ขัดต่อหลักการค้าเสรีของ WTO เพราะมาตรการต่างๆในหลักเกณฑ์สากลฯ มีผลต่อผลิตภัณฑ์จากทุกประเทศทุกบริษัทอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีการปฏิบัติต่อสินค้านำเข้าและสินค้าในประเทศอย่างแตกต่างกัน

 

  1. พ.ร.บ.มีผลกระทบต่อการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขหรือไม่

ร่างพระราชบัญญัตินี้ไม่ได้ส่งผลกระทบแง่ลบแก่บุคลากรสาธารณสุขแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกลับช่วยป้องกันบุคลากรสาธารณสุขให้ปราศจากการมีผลประโยชน์ทับซ้อนและการเป็นสื่อบุคคลให้กับภาคธุรกิจด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนี้

ร่างพระราชบัญญัติอนุญาตให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้าและผู้จำหน่าย ที่ประสงค์จะมอบอุปกรณ์และสิ่งของให้แก่หน่วยบริการสาธารณสุขสามารถกระทำได้โดยต้องอุปกรณ์และสิ่งของนั้นต้องไม่มีชื่อ ตรา และสัญลักษณ์ที่เชื่อมโยงถึงผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการส่งเสริมการตลาดแฝงและการจดจำชื่อ ตราสัญลักษณ์ของแม่และครอบครัวเมื่อมารับบริการ ซึ่งผู้ผลิต ผู้นำเข้าและผู้จำหน่ายที่มีความประสงค์จะทำประโยชน์เพื่อสังคมโดยไม่หวังผลทางการค้าจะไม่ถูกขัดขวางโดยร่างพระราชบัญญัตินี้

 

  1. การมี พ.ร.บ.จะช่วยให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้นหรือไม่

กลยุทธ์ที่จะช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ ส่งเสริม สนับสนุน และปกป้อง ปัจจุบันประเทศไทยมีการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ผ่านการรณรงค์ การให้ความรู้กับแม่และครอบครัว  สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ สนับสนุนการลาคลอด สนับสนุนมุมนมแม่ในสถานประกอบการ  แต่ประเทศไทยยังขาดกลยุทธ์ในการปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งการมีพ.ร.บ.เป็นกลยุทธ์การปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ดีที่สุด ดังนั้นเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการช่วยให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทั้ง 3 กลยุทธ์นี้จะต้องขับเคลื่อนไปพร้อมๆกัน

จากรูปด้านล่างเป็นการเปรียบเทียบอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และ GDP per Capita และ Code status โดยจะสรุปได้ว่า เศรษฐสถานะกับอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน มีความผกผันกันกล่าวคือประเทศที่ยิ่งมีเศรษฐสถานะไม่ดี ยิ่งมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนสูง แต่การมีกฎหมายหรือมาตรการควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กที่เข้มข้น (full provision and many provision law) จะช่วยทำให้ผลของเศรษฐสถานะต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง (slope ของลดลง) ดังนั้น การมีกฎหมายหรือมาตรการจะช่วยทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้นในประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลาง

  1. พ.ร.บ.นี้มีความซ้ำซ้อนกับกฎหมายหรือประกาศของคณะกรรมการอาหารและยาหรือไม่

พ.ร.บ.นี้ไม่มีความซ้ำซ้อนหรือขัดแย้งกับกฎหมาย หรือประกาศของคณะกรรมการอาหารและยา เนื่องจากว่า พ.ร.บ.นี้จะควบคุมในเรื่องของ “การส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์” ไม่ใช่ “คุณลักษณะ คุณภาพของผลิตภัณฑ์”

นอกจากนี้ พ.ร.บ.นี้ไม่ได้ควบคุมฉลากของผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะเป็นไปตามข้อกำหนดตามประกาศของคณะกรรมการอาหารและยา

                          

บทความที่เกี่ยวข้อง
แถลงการณ์ร่วม #องค์การยูนิเซฟ และ #องค์การอนามัยโลก ยืนยันสนับสนุนร่างพรบ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กในประเทศไทย
งานสัญญาประชาคมตำบลท่าม่วง
Media Orientation