แม่อาสา

นมวัวเหมาะสมกับการให้ลูกของคนเอเซียจริงหรือ

10 กันยายน 2017
แชร์ให้เพื่อน

นมวัวเหมาะสมกับการให้ลูกของคนเอเซียจริงหรือ

[seed_social]
[seed_social]

          พอดีเคยเขียนไว้ในเวบบอร์ดเก่า  กลัวหายก็เลยขออนุญาติเอามาแปะไว้ที่เวบนี่นะคะ  จะได้เป็นประโยชน์กับแม่ ๆ ท่านที่ยังไม่เคยได้อ่าน  ในการตัดสินใจเลือกนมอื่นที่ไม่ใช่นมแม่เป็นอาหารเสริมลูก

          วันนี้คุณดื่มนมแล้วหรือยัง” คำขวัญนี้คงคุ้นหูกันมานานแล้ว โดยรัฐบาล เมื่อปี พ.ศ. 2528 ได้รณรงค์ให้คนไทยดื่มกันมากขึ้น โดยคิดว่านมจะช่วงลดการขาดสารอาหารพวกโปรตีน วิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ทำให้แม่หลายคนคิดว่านมวัวมีสารอาหารที่ดีกว่านมแม่ การรณรงค์นี้นำมาซึ่งปัญหาการทานนมแม่ลดลงทำให้ประเทศไทยติดอันดับประเทศที่แม่ให้นมแม่แก่เด็กแรกเกิดลำดับเกือบสุดท้ายของการสำรวจ

          มีการถกเถียงกันถึงคุณประโยชน์และโทษของนมวัวว่ามันจะทำให้เด็กไทยลดการขาดสารอาหารจริงๆ เหรอ งานวิจัยหลายชิ้นในต่างประเทศพบว่าการทานนมวัวเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคที่มีความสัมพันธ์กับไขมันในเลือดสูง ภูมิแพ้ โรคกระดูกพรุน ฟันผุ ท้องผูก ทานอาหารยากและโรคโคลิกดิฉันเขียนบทความนี่ขึ้นเพื่อจะให้ท่านได้เห็นว่าความจริงการที่เด็กทานนมผสมแทนการทานนมแม่นั้นไม่ได้ทำให้เด็กมีสารอาหารที่ดีขึ้นมากกว่านมแม่เลยสักนิด แต่เป็นการสร้างระเบิดเวลาไว้กับลูก ๆ ของเราที่จะต้องเผชิญปัญหาเหมือนที่ปัจจุบันเด็กที่อยู่ในโครงการนมโรงเรียนประสบอยู่

          เป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบันว่าการดื่มนมแม่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทารกและเด็ก ในธรรมชาติสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมต่าง ๆ จะให้นมแก่ลูกตัวเองในช่วงวัยทารกเท่านั้น เมื่อทารกสามารถทานอาหารได้เหมือนตัวเต็มวัยก็จะให้กินอาหารตามแต่ชนิดของสัตว์ สัตว์แต่ละชนิดมีระบบการย่อยอาหารที่แตกต่างกัน สุนัขสามารถทานอาหารบูดเสียได้โดยไม่มีอาหารท้องเสีย วัวทานหญ้าได้เพราะว่ามีเอนไซส์สำหรับย่อยหญ้า ในขณะที่คนไม่สามารถทานได้เหมือนกับสัตว์ตัวอย่าง เหล่านี้เป็นความมหัศจรรย์ทางระบบย่อยอาหารที่ธรรมชาติได้ให้มากับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ

          ในสมัยก่อนวัวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใกล้ชิดมนุษย์มากที่สุด ดังจะเห็นได้จากมีการใช้นมวัวในการประกอบพิธีกรรมมากมาย เมื่ออุตสาหกรรมนมเจริญเติบโต นักธุรกิจใช้ความรู้บางส่วนของสังคมพ่อแม่สร้างกระแสให้มีการส่งเสริมการทานนมวัวเพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นความเชื่อที่ว่าเด็กที่ทานนมวัวจะมีรูปร่างสูงใหญ่และนมวัวสามารถชดเชยสารอาหารจำพวกโปรตีนและแร่ธาตุที่จำเป็นได้ดีจนถึงดีมาก

          มีการเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของคนกับวัวให้เห็นภาพอย่างน่าสนใจว่า คนใช้เวลาในการเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยนานถึง 20 ปี เพิ่มจากน้ำหนัก 6 ปอนด์ไปเป็น 150 ปอนด์(ไม่รู้ว่าเปลี่ยนเป็นกิโลใช้อะไรหาร) หรือคิดเป็นอัตราเฉลี่ยปีละประมาณ 120 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ลูกวัวเพิ่มจาก 90 ปอนด์ไปเป็น 2,000 ปอนด์ ในเวลาเพียง 2 ปี โดยคิดเป็นอัตราปีละ 1,061 เปอร์เซ็นซึ่งจากการสังเกตของนักวิจัยพบว่าใน 2 ปีวัวไม่ได้กินนมวัวเพียงอย่างเดียว แต่มีการกินหญ้าซึ่งเป็นสารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน แล้วเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเป็นโปรตีนและไขมันที่จำเป็นสำหรับลูกวัว คำกว่าที่ว่าการทานโปรตีนที่ได้จากวัวทำให้เราได้สารโปรตีนจึงเป็นคำกล่าวที่ถูกต้องเพียงส่วนเดียว ร่างกายของคนเราก็เหมือนวัวแต่หากการย่อยและการเปลี่ยนแปลงสารอาหารเป็นสารอาหารที่จำเป็นที่เราต้องการต่างจากวัว การกินโปรตีนที่ไม่จำเป็นเข้าไปก็ไม่ต่างอะไรกับการรับเชื้อโรคที่แปลกปลอมเข้าไปสู่ร่างกาย การที่ให้เด็กทานนมวัวจึงไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์จากโปรตีนกับเป็นโทษมากกว่าเสียอีก ดังนั้นจุดเด่นของการทานนมวัวจึงเป็นเรื่องของแคลเซียมเสียมากกว่า

           คนไทยในอดีตเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่ต่อมานมผงเข้ามามีบทบาทในการเลี้ยงดูทารก จากการสำรวจพบว่าเด็กไทยทานนมแม่ลดลงอย่างน่าใจหาย โดยเฉพาะคนที่อยู่ในฐานะปานกลางจนถึงฐานะดี เพราะความเชื่อที่ว่าเป็นสิ่งดีสำหรับเด็ก เนื่องจากนมผงมีสภาพที่ไม่เหมาะสมกับทารกจึงมีการปรุงแต่งให้มีความสภาพใกล้เคียงกับนมแม่โดยแบ่งตามช่วงอายุต่าง ๆ โดยกระบวนการผลิตที่แตกต่างกันทำให้ได้มาซึ่งนมบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ นมส่วนใหญ่จะทำการให้ความร้อนเพื่อฆ่าเชื้อโรคในระดับหนึ่งเท่านั้น ยกเว้นนมสเตอร์ริไรซ์ที่ฆ่าเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคและทำให้เกิดอาหารเสียเพียงอย่างเดียว นอกนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับนมดิบเอามาต้มจึงทำให้เด็กที่รับประทานนมดังกล่าวได้รับโปรตีนแปลกปลอม โดยเฉพาะนมสดที่อาจทำให้เด็กได้รับอิมมูโนกลอบบูลินส์จากวัวที่ปะปนมาในน้ำนมได้

           เป็นที่น่าแปลกใจว่าปัจจุบันมีเด็กที่เป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้น แม้แต่ครอบครัวที่ไม่เคยมีประวัติการเป็นภูมิแพ้มากก่อน หลายคนคิดว่าอาจจะเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีของสังคมเมืองส่วนหนึ่งอาจจะใช่ ความเสี่ยงของเด็กที่ทานนมวัวมาจากเซลล์เยื่อบุทางเดินอาหารยังไม่สมบูรณ์ ระบบภูคุ้มกันร่างกายยังต่ำ ความแตกต่างของโปรตีนที่ร่างกายต้องการกับโปรตีนที่ได้จากน้ำนมแม่ มีนักวิจัยพบว่าการให้นมกระตุ้นเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของมารดาเป็นตัวเร่งการเกิดภูมิแพ้ในเด็กด้วยเมื่อออกมาทานนมแม่โปรตีนของวัวที่แม่ทานจะสามารถหลุดออกมาในน้ำนมและกระตุ้นทำให้แสดงอาการอย่างต่อเนื่องถึงแม้ว่าโปรตีนจะออกมาในปริมาณที่น้อยก็ตาม

          ในทารกระบบทางเดินอาหารยังไม่ดีพอแต่ก็สามารถดูดโปรตีนที่มีโมเลกุลใหญ่ได้ การดื่มนมวัวที่มีโปรตีนซึ่งมีสิ่งแปลกปลอมผสมอยู่เป็นการเสี่ยงที่จะไปกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันกับโปรตีนแปลกปลอมนั้น ๆ เด็กบางคนอาจไม่แสดงอาการอะไรให้เห็นเลยถึงการแพ้ แต่บางคนอาจแสดงอาการอย่างรุนแรง เช่นอาการปวดท้อง อาเจียรเป็นเลือด อาจจะพบในรูปแบบของอาการโคลิก ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่า การแพ้โปรตีนจากนมวัว (Cow milk allergy ) จากการสังเกตจะเห็นได้ว่าปัจจุบันโรคภูมิแพ้มักจะเกิดกับเด็กที่มีฐานะทางการเงินที่ดี เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับการจัดหาซื้อนมผงมาให้เด็กทานของผู้ปกครอง

          ในอดีตประเทศไทยมีประวัติการทานนมวัวน้อยมาก ๆ ดังจะเห็นได้จากอาหารไทยไม่ค่อยมีส่วนประกอบของนมเลย เราเลี้ยงวัวไว้เพื่อการใช้แรงงาน และรับประทานเนื้อเท่านั้น หลังจากที่มีการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้น เราคิดว่าการทานนมวัวจะทำให้เราร่างกายสูงใหญ่เหมือนฝรั่ง คนที่มีฐานะดีจึงพยายามหานมวัวมาให้ลูกทาน เพราะติดว่าการเสริมนมจะทำให้ลูกมีสติปัญญาอันชาญฉลาด โดยลืมดูไปว่าฝรั่งเค้าเปลี่ยนแนวความคิดมาให้เด็กทานนมแม่มากกว่านมวัวมานานแล้ว แต่ฝรั่งมันส่งนมไปยังประเทศที่ด้อยพัฒนากว่าเพื่อหวังผลทางธุรกิจ โดยอ้างว่าประเทศเหล่านั้นมีเด็กขาดสารอาหารจำนวนมาก จากการบอกของผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมนมแม่ของโลกเมื่อปีที่แล้วยิ่งเป็นที่ตกใจ  ตอนนี้ธุรกิจนมวัวกำลังจะย้ายฐานการผลิตเข้ามาที่เมืองไทยด้วยเงินลงทุนเกือบ 2000 พันล้านบาท  เนื่องด้วยเหตุผลวัวที่อเมริกาและยุโรปเป็นโรคมากคนไม่นิยมบริโภค  แล้วถ้าข่าวนี่เป็นจริงคุณไม่คิดเหรอว่าเขาจะมาทำการตลาดในเมืองไทยเพิ่มขึ้นอีกมากเท่าไร

           ความแตกต่างทางสายพันธุ์และสิ่งแวดล้อมทำให้คนเอเซียกับคนตะวันตกมีความต้องการสารอาหารที่ไม่เหมือนกัน ชาวตะวันตกเป็นประเทศที่มีอากาศหนาวเย็นเป็นส่วนใหญ่ พืชผลทางการเกษตรไม่สามารถปลูกได้ผลผลิตมากนัก อาหารส่วนใหญ่ต้องเป็นอาหารพวกไขมันสูงเพื่อทนกับอากาศที่เย็นจัด การที่จะพบกับแสดงแดดน้อย การสร้างวิตามินดีก็น้อยลงไปด้วย ทำให้ร่างกายดูซึมแคลเซียได้ไม่ดี จึงต้องทานแคลเซียมและวิตามินในปริมาณที่มาก ผิดกับคนเอเซียที่อากาศที่อบอุ่นกว่า มีแสงแดดตลอดทั้งปี อาหารมีความหลากหลายกว่าจึงไม่จำเป็นต้องทานอาหารเหมือนกันคนในซีกโลกตะวันตก

           การเข้าในผิดเรื่องการเจริญเติบโตของเด็กที่ต้องการแคลเซียมสูงจะทำให้เด็กตัวสูงจึงเป็นความเข้าในที่คลาดเคลื่อนไป การเจริญเติบโตของเด็กในทางสูงต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเอนไซม์ การเคลื่อนไหวร่างกาย ฮอร์โมนที่ควบคุมกระดูก Growth factor ต่าง ๆ การได้รับโภชนาการที่เหมาะสม การได้รับปัจจัยต่าง ๆ ในเวลาที่เหมาะสมจะทำให้กระดูกที่เป็นกระดูกที่ออกมาทางสูงสามารถยืดตัวได้ดีขึ้น แคลเซียมที่เด็กความได้ในปริมาณมากไม่ใช่ช่วงวัยทารก หากแต่เป็นช่วงวัยรุ่น ( หญิง 14-15 ปี ชาย 16-18 ปี)

            ตามที่รู้ ๆ กัน แคลเซียมเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับการสร้างความแข็งแรงของกระดูก แคลเซียมจัดเป็นเกลือแร่ที่สำคัญอย่างหนึ่งของร่างกาย ร่างกายจะสะสมแคลเซียมในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

1. ในกระดูกและฟันซึ่งเป็นแหล่งสำรองแคลเซียมที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย เหมือนกับเป็นหน่วยกองพันที่สามารถส่งทหารไปสู้รบที่สมรภูมิได้ตลอดเวลา

2. อีกที่อยู่หนึ่งของแคลเซียมคือในกระแสเลือด เป็นส่วนที่แคลเซียมถูกเอาไปใช้งานแต่ประมาณส่วนใหญ่จะค่อนข้างคงที่ ไม่มาไม่น้อยเกินไปเป็นกองร้อยตรวจการลาดตะเวรที่สามารถปฏิบัติงานได้ในทันทีซึ่งอยู่ที่ประมาณ 8.8 – 10.8 mg% ในเด็ก และ 8.4-10.2 mg% ในผู้ใหญ่ การที่ค่าอ้างอิงในเด็กมีมากกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากการเจริญเติบโตในเด็กมีมากกว่าในผู้ใหญ่ ไม่ว่าร่างกายจะกินแคลเซียมไปเท่าไรก็จะปรับสมดุลให้อยู่ในระดับนี้เสมอ หากมีปริมาณที่ต่ำก็จะไปละลายแคลเซียมในกระดูกออกมาใช้ เหมือนกับการขอกำลังคนจากกองพันเข้ามาเสริมกองร้อย หรือเพิ่มการดูดซึมที่ลำไส้โดยอาศัยพาราไทรอยด์ฮอร์โมน และวิตามินดี เป็นตัวควบคุมการส่งกำลังพล ในกรณีที่ร่างกายได้รับแคลเซียมเข้าไปมากจะเก็บแคลเซียมเข้าไปสะสมที่กระดูกและฟันส่วนที่เกินพื้นที่ของกระดูกและฟันก็จะกำจัดทิ้งหรือลดการดูดซึมที่ทางลำไส้

3. แคลเซียมอยู่ตามเซลล์ ทำหน้าที่เหมือนยามเฝ้าบ้านมีไม่มากไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง

ยกตัวอย่างการรับประทานแคลเซียม 1 กรัมร่างกายจะดูซึมเพียง 0.2 กรัมเท่านั้น ส่วนที่เหลือจะขับทิ้ง

          การดูดซึมเข้าไปไม่ได้หมายความว่าจะเอาไปสะสมหมด แต่ร่างกายจะเก็บเท่าที่ต้องการและจะขับส่วนเกินทิ้งออกมา การกินแคลเซียมมากไม่ได้ทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียมมากตามไปด้วย แคลเซียมที่มากจนเกินไปจะถูกขับออกมาในไตและกำจัดเป็นปัสสาวะการที่แคลเซียมมากเกินและถูกขับออกมาทางปัสสวะนั้นอาจทำให้เกินนิ่วจากการตกตะกอนของแคลเซียมที่มากเกิดไปทำให้เป็นมีภาวะของโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้ นอกจากนี้แล้วร่างกายจะมีการขับแคลเซียมออกมาทางอุจจาระด้วยซึ่งอาจทำให้มีภาวะท้องผูกขึ้นมาได้

           มีคนจำนวนไม่น้อยไม่เข้าใจเรื่องวิตามินดีมีความสำคัญกับแคลเซียมมากเพียงใด อาจจะอธิบายได้บางส่วนว่าทำไมคนเอเซียกับคนตะวันตกมีความแตกต่างกันการความต้องการของน้ำนม โดยการที่เราดื่มน้ำนมโดยไม่เข้าใจถึงความแตกต่างของภูมิประเทศและชาติพันธ์ ทำให้เกิดปัญหาเรื่องความเข้าในผิดในการทางนมวัว  วิตามินดี เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ช่วยในการดูดซึมของแคลเซียมในร่างกายรวมทั้งฟอสฟอรัสด้วย โดยวิตามินดีนี้ ร่างกายจะรับมาได้สองทางคือ ผิวหนังกับอาหาร วิตามินที่ได้มาจากผิวหนังนั้นเป็นสิ่งที่แตกต่างกันตามภูมิภาคทางตะวันตกมีอากาศหนาวคนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยออกมาตากแดดเพื่อรับวิตามินเหมือนคนในเอเซียที่กิจกรรมส่วนใหญ่ที่ต้องสัมผัสกับแสดงแดดเกือบตลอดทั้งวัน ช่วงเวลาที่มีเจอแสงน้อยของชาวตะวันตกจึงทำให้คนตะวันตกต้องทานแคลเซียมสูง ประกอบกับรูปร่างทางกรรมพันธ์เป็นคนสูงจึงต้องการปริมาณแคลเซียมที่มากกว่าคนเอเซีย การที่บอกว่ากินนมแล้วต้องการแคลเซียมสูงโดยไม่สนใจวิตามินดีเลย อาจจะเป็นคำกล่าวที่ไม่สมบูรณ์กับเรื่องของการดูดซึมของแคลเซียมในร่างกาย การดูดซึมแคลเซียมในร่างกายจำเป็นต้องดูที่สมดุลระหว่างแคลเซียมกับฟอสฟอรัสด้วย เพราะว่าถ้าทานแคลเซียมสูงเพียงอย่างเดียวจะทำให้สมดุลย์ของร่างกายเปลี่ยนไปนั้นจะเป็นตัวนำปัญหาตะกอนนิ่วในทางเดินปัสสาวะ เราพบว่าคนอีสานในอดีตเป็นโรคนิ่วมากเพราะว่าร่างกายขาดโปรตีนซึ่งทำให้ขาดฟอสเฟตสมดุลย์เสียนำมาซึ่งปัญหาที่หลายคนไม่เคยพูดถึงในเรื่องการรณงค์การทานนมวัวในปริมาณมาก ๆ

           ปัจจุบันบริษัทนมผงสำหรับทารกพยายามจะปรับแต่งเรื่องพวกนี้ให้สมดุลตามวัยของเด็กแต่ก็ยังมีโดยเน้นเรื่องขบวนการทางความจำของเด็กที่เพิ่มพวก DHA ARA เป็นตัวช่วยในการส่งเสริมการขายแท้ที่จริงแล้วสารพวกนี้ในน้ำนมแม่ ได้สร้างมาให้ลูกแล้วและดีกว่าสารปรุงแต่งที่บริษัทต่าง ๆ นำมาผสมพยายามจะทำให้เทียบเท่านมแม่ซะอีก ร่างกายของแม่จะปรับสมดุลย์แคลเซียมและฟอรฟอรัสให้ลูก ให้ลูกทานอาหารที่จำเป็นและสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่มีต้องย่อยและส่วนเกินนั้นแทบจะน้อยมากเพราะนมแม่จะมีการปรับสูตรปรุงแต่งตามวัยของลูกอยู่แล้ว (หาอ่านได้จากหนังสือนมแม่ต่าง ๆ ) ดังที่ได้เขียนไว้แล้วว่าการผลิตจะใช้ความร้อนในการฆ่าเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคเท่านั้น แต่ก็ยังมีเชื้อบางชนิดที่หลุดรอดออกมาตามที่เคยเป็นข่าว เช่น เชื้อ Enterobacter sakazakii ที่พบในนมกระป๋องดังที่เป็นข่าวเมื่อไม่นานมานี้ การที่พบเชื้อดังกล่าวน่าจะเป็นการบ่งบอกที่ดีว่ายังไงเสียนมแม่ก็เป็นสิ่งที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับลูก หากแต่มีบางครอบครัวก็ยังปักใจเชื่อการโฆษณาชวนเชื่อถึงสารอาหารที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี มีความจำที่ดี การสนับสนุนให้คนไทยหันมาดื่มนมมากขึ้น โดยไม่ทราบถึงภัยทางอ้อมที่จะตามมากับการให้เด็กทานนมวัว ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน โรคภูมิแพ้การอุดกั้นทางเดินหายใจทำให้สมองลูกไม่ได้รับออกซิเจนที่เพียงพอ นำสู่เรื่องสมาธิสั้น ระดับสติปัญญาไอคิวที่ต่ำลงของเด็กไทย

          คนไทยโชคดีที่มีอาหารหลากหลายมากกว่าพวกตะวันตก โดยที่เราไม่ต้องไปง้อนมวัวแม้แต่หยดเดียว ยกตัวอย่างแคลเซียมที่อยู่ในอาหาร ถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์กินเต้าหูวันละ 1 แผ่น ผัดกับกุ้งสด1 – 2 ตัว ก็ได้พลังงานเท่ากับนมวัววันละ 2 แก้วแล้ว พวกธาตุเหล็กที่เสริม ๆ กันในนมวัว เราก็หาได้จากเนื้อสัตว์ ไข่ ผักบุ้ง ผักใบเขียว กรดโฟลิกที่จำเป็นก็มีในผักใบเขียว ซึ่งเราก็ได้พวกเกลือแร่ต่าง ๆ ด้วย

          นมนั้นมีประโยชน์สำหรับเด็กจริง ๆ เหรอ ? เราต้องหันกลับมาคิดด้วยวิจารณญาณ ความรู้เชิงบูรณาการ นมที่เรานำมาดื่มกันในปัจจุบันไม่ได้มาจากวัวธรรมชาติ แต่มาจากอุตสาหกรรมนมวัว ปกติส่วนประกอบของนมวัวนั้นก็ไม่เหมาะกับคนอยู่แล้วแต่ได้มีการปรุงแต่งให้คล้ายกับนมแม่ การไม่เข้าในถึงความจำเป็นในช่วงวัยโดยใช้การส่งเสริมทางการตลาดของรัฐบาลเป็นตัวส่งเสริมการขายโดยขาดการให้ความรู้และการศึกษาอย่างแท้จริงนั้นทำให้เด็กไทยตกเป็นผู้รับเคราะห์จากการรู้เท่าไม่ถึงการ หรือว่ารู้แล้วทำเป็นปกปิดเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มคนก็ไม่ทราบจนลืมผลลบของการดื่มนม ส่งผลให้คนไทยบางกลุ่มมีความเข้าใจผิดกับค่านิยมของการให้นมบุตรโดยคิดว่าการดื่มนมแม่นั้นไม่ได้ต่างอะไรกับการให้ลูกทานนมวัว บางท่านคิดว่าการให้นมวัวจะดีกว่านมแม่ด้วยซ้ำ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่หน่วยงานที่มีหน้าที่จะทำความเข้าใจในการรับประทานนมของเด็กกับสังคมไทย นมวัวไม่ได้เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับคนไทยเลย ถ้าหากการรณงค์เรื่องนมแม่ให้ลูกทานแม่ให้ได้ถึง 2 ขวบ หลังจากนั้นให้ลูกได้รับแคลเซียมจากอาหารและเพิ่มแคลเซียมจากอาหารในช่วยวัยที่มีการเจริญเติบโตของร่างกายแบบก้าวกระโดดในช่วงวัยรุ่น มีบทความหนึ่งกินใจมากของคัดสำเนามาลงตรงนี้ท่านลองคิดตามดู “การสังเกต ร่วมกับการยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง อาจจะทำให้สังคมไทยไม่หลงกับกลลวงทางการตลาดที่อาศัยความรักของพ่อแม่เป็นเครื่องมือในการทำการตลาด เด็กไทยจึงไม่ควรดื่มนมวัว”

ขอขอบคุณท่านผู้อ่านที่พยายามทนอ่านกับภาษาที่ไม่ค่อยแข็งแรงของดิฉัน ขอบคุณสามีที่ช่วยให้กำลังใจในเป็นแม่อาสาและช่วยเป็นแรงสนับสนุนการพยายามให้เราไม่อ่อนแอแม้ในบางครั้งอาจจะทำให้เรายอมแพ้แต่ก็สามารถลุกขึ้นมาสู้เพื่อให้สังคมได้เข้าใจถึงเรื่องนมที่ถูกต้อง โดยเฉพาะเรื่องของนมแม่ที่ควรจะต้องช่วยกันในการให้ความรู้ที่ถูกต้องเรื่องนมแม่แก่สังคม ขอบคุณทุกข้อมูลและบทความเกี่ยวกับนมแม่ที่ทำให้เราสามารถประมวลรวบรวมมาเป็นบทความนี้ และขอบคุณอาจารย์ที่พยายามยัดเยี่ยดความรู้ให้จนมันฝังลึกเราพึ่งรู้ว่ามันมีประโยชน์ก็ตอนที่เราเอาใช้กับการอ่านบทความต่าง ๆ นี่

Admin
มูลนิธิศูนย์นมแม่
บทความที่เกี่ยวข้อง
นมแม่กู้คืนไม่ง่าย..แต่สำเร็จได้ค่ะ
คลินิคนมแม่ ช่วยได้
ชวนลูกเล่น พัฒนาสมองวัยเตาะแตะ