นมแม่กับการพัฒนาด้าน IQ
ยิ่งทารกดื่มนมแม่นานเท่าไหร่ ก็มีโอกาสพัฒนา IQ ได้มากขึ้นเท่านั้น
เซลล์ประสาทในสมองหรือเซลล์สมองถูกสร้างตั้งแต่เด็กอยู่ในครรภ์มารดาด้วยอัตราสูงสุดถึง 250,000 เซลล์ต่อนาที โดยทั่วไปการสร้างเซลล์ใหม่จะไม่เกิดขึ้นอีกหลังทารกคลอด
แม้สมองจะถูกสร้างขึ้น มีเซลล์ที่ทำงานได้ แต่ทั้งตัวเซลล์และการทำงานของมันก็ใช่ว่าจะสมบูรณ์ตั้งแต่เกิด เซลล์พัฒนาตัวมันเอง เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง เซลล์ส่วนที่ถูกใช้งานจะเชื่อมโยงประสานกัน พร้อมจะตอบสนองต่อสัญญาณ และการประมวลข้อมูลต่างๆ ส่วนเซลล์ที่สร้างไว้เกิดเมื่อไม่ถูกใช้ก็จะฝ่อตายไป
สมองเด็กทารกมีกลุ่มเซลล์ที่สมองสร้างขึ้นมาบ้างแล้วภายใน 6 ขวบ สมองสร้างวงจรแห่งการเรียนรู้ไว้มหาศาล ในที่สุดเมื่ออายุเฉลี่ย 14 ปี สมองจะปรับแต่งวงจรเหลือเฉพาะวงจรที่ไม่ได้ใช้บ่อยหรือไม่ได้ใช้เลยก็จะถูกตัดทิ้งไป เส้นสีดำในภาพเล็กแสดงถึงโยงใยของเซลล์ที่อยู่ในสมอง โยงใยที่หนาทึบมาก แสดงว่า เซลล์มีความงอกงาม มีการเชื่อมโยงกับเซลล์อื่นๆ จำนวนมาก
ในวัยทารกนั้น สิ่งที่สำคัญมากคือ การได้กินนมแม่ มีงานวิจัยที่บ่งชี้ว่า ทารกที่กินนมแม่มีไอคิว (IQ) สูงกว่าทารกที่ดื่มนมขวดโดยเฉล่ย 3-5 จุด ยิ่งทารกดื่มนมแม่เป็นเวลานานเท่าไหร่ ก็มีโอกาสจะพัฒนาไอคิวได้มากขึ้นเท่านั้น
หมายเหตุ : ต้นฉบับของผู้เขียนใช้คำว่า “ดื่มนมแม่” แต่ทางกองบรรณาธิการมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงเป็น”กินนมแม่”
ที่มา : หนังสือชุด Brain-based Learning “ความลับสมองลูก” เขียนโดยอ.พรพิไล เลิศวิชา