ประโยชน์ทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และ สังคม ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ผลจากศึกษาจาก นายแพทย์พอล แซมแบรน (Paul Zambran), MD., MSc Alive and Thriveในหัวข้อบรรยาย ประโยชน์ทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และ สังคม ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ภายในงาน Code Workshop วันที่ 31 มีนาคม 2560
“สมองของทารกที่ได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่องและยาวนาน จะได้รับการพัฒนาโดยเฉลี่ยอย่างน้อย 3 จุด ทางที่ดีคือ การให้ลูกกินนมแม่ให้เร็ว กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และกินนมแม่อย่างเดียวพร้อมอาหารตามวัยถึง 2 ปีหรือนานกว่านั้น ถ้าคุณแม่ได้รับการสนับสนุนด้านนมแม่อย่างดีจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จกว่า 2.5 เท่า ดังนั้น การปกป้องแม่ทุกคนให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จ จำเป็นต้องมี “พรบ. การควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก เป็นเครื่องมืออย่างดีในการปกป้องให้เด็กกินนมแม่ได้สำเร็จมากขึ้น” ผลจากศึกษาจาก นายแพทย์พอล แซมแบรน (Paul Zambran), MD., MSc Alive and Thriveในหัวข้อบรรยาย ประโยชน์ทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และ สังคม ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ภายในงาน สรุปประชุมเชิงปฎิบัติการ การตลาดอาการทารกและเด็กเล็กกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วันที่ 31 มีนาคม 2560 เวลา 9.00-15.00 น. ณ ห้องบอร์ดรูม ชั้น 4 โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น
Session 1: Health, Social, and Economic Benefits of Breastfeeding
• Stunting คือ การที่มีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์อายุ เกิดจากการขาดอาหารมาเป็นระยะเวลานาน และผลของ stunting มีผลต่อการพัฒนาสมอง เช่น การเชื่อมต่อของสารสื่อประสาท ซึ่งการป้องกัน stunting สามารถทำได้ตั้งแต่การตั้งครรภ์จนถึง 2 ปีแรก
• องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เหมาะสม คือ ต้องให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และนมแม่อย่างเดียว พร้อมอาหารตามวัยถึง 2 ปี
• อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวในประเทศไทยเพิ่มจาก 5% ในปี 2006 เป็น 23.1% ในปี 2016 แต่อย่างไรก็ตามอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวก็ยังต่ำที่สุดใน South East Asia
• ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่
o สุขภาพ:
§ สามารถช่วยชีวิตเด็กได้มากกว่า 820,000 คนต่อปี
§ ป้องกันการเกิดมะเร็งในมารดา
o เศรษฐกิจ แม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะประหยัดค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอย่างน้อย 75,000 บาท/ปี
• จากการศึกษา The cost of not breastfeeding in Thailand
o การเสียชีวิต
o ค่าใช้จ่ายทางสุขภาพ: สามารถลดค่าใช้จ่ายได้สุขภาพได้ 7.65 ล้านเหรียญสหรัฐ
o ค่าใช้จ่ายทางอ้อม เช่น ค่าเดินทาง
o ค่าใช้จ่ายสำหรับนมผง
o การสูญเสียทาง cognitive
• การพัฒนาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะต้อง ปกป้อง สนับสนุน และส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นโยบายและมาตรการที่ช่วยพัฒนาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เช่น
o การลาคลอด
o BMS Code เป็น Code ที่ทำให้แน่ใจว่าแม่จะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริง โดยขอบเขตของผลิตภัณฑ์รวมอาหารสูตรต่อเนื่องสำหรับเด็กเล็ก (follow-on formula) และเด็กโต (growing-up formula) ด้วย (WHA69.9)
• เหตุผลที่ต้องมีการควบคุมการตลาดนมผง เพราะ
o เพื่อให้แม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริง
o เพื่อป้องกันการทากรตลาดที่ไม่เหมาะสม
• The Code work
o จากการศึกษาจีนและอินเดีย พบว่าในอินเดีย EBF เพิ่มขึ้นทุกปี และมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวที่ต่างจากจีนอย่างชัดเจน เนื่องจากจีนยังไม่มี Code
o การศึกษาใน Indonesia พบว่า นมสูตรสำหรับเด็กโตมีอัตราการใช้เยอะกว่านมสำหรับทารกและเด็กเล็ก เนื่องจากนมสำหรับเด็กโตยังไม่มีการควบคุมทางการตลาด
สรุปโดย คุณนิศาชล เศรษฐไกรกุล IHPP