Diphenhydramine(Benadryl) : เป็นยา antihistamine ที่มักใช้ในยาแก้ไอ และแก้หวัด ภูมิแพ้ และยาแก้เมารถ ถึงแม้ว่าระดับยาในน้ำนมแม่จะต่ำ และยานี้จะทำให้ทั้งแม่และลูกซึม จึงไม่ใช่ยาที่เหมาะสมที่สุดในแม่ที่ให้นมลูกอยู่มียา antihistamine อีกหลายตัวในท้องตลาดที่เป็นทางเลือกที่ดีกว่า ได้แก่ cetririzine
(Zyrtec), loratidine ( Claritine) และ fexofenadine (Allergra) มีหลักฐานที่กล่าวอ้างต่อๆกันมาโดยประสบการณ์ส่วนบุคคล (anecdotal evidence) ว่า diphenhydramine สามารถกดการสร้างน้ำนมได้ แต่ก็ไม่มีหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์สนับสนุนในmedical literature
Chlorpheniramine and Brompheniramine ทั้งสองตัวนี้คล้ายกับdiphenhydramine แต่มีการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยเป็นจำนวนการศึกษาที่น้อยกว่า ยาทั้งสองทำให้ซึมมากและไม่แนะนำให้ใช้ (not recommended) ทางเลือกที่ดีกว่าคือ non-sedating antihistamineเช่น Loratadine (Claritin), desloratadine (Clarinex), cetirizine (Zyrtec), fexofenadine (Allegra)
– See more at: http://www.infantrisk.com/content/over-counter-treatments-cough-and-cold#sthash.OEYEOzmx.dpuf
References:Hale TW. Medications and mothers’ milk 2014. Sixteenth ed. Amarillo, TX: Hale Pub., L.P.; 2014.
ผลของ Chlorpheniramineต่อน้ำนมแม่ และการให้นมแม่
จากรายงาน เรื่อง Histamine H1 receptor participati0kdg9hk on in the control of prolactin secretion in postpartum. J Endocrinol Invest. 1985;8:143-6. สรุปได้ว่า การใช้ Dexchlorpheniramineขนาดสูงโดยการฉีดยา มีผลลดระดับ prolactin ในเลือดของหญิงที่ไม่ได้กำลังให้นมแม่ และในหญิงหลังคลอดใหม่ๆ1,2 อย่างไรก็ตาม การหลั่งprolactinที่เป็นผลจากการดูดนมจากเต้า ไม่ได้รับผลกระทบจากการให้ dexchlorpheniramineในหญิงหลังคลอด การให้ยา chlorpheniramine กินในระดับที่ต่ำกว่า จะมีผลเช่นเดียวกันในการลด prolactin ในเลือดหรือไม่ ยังไม่มีการศึกษา และไม่มีรายงาน ผลของยาต่อ prolactionจะมีผลสืบเนื่องต่อความสำเร็จในการให้นมแม่หรือไม่ ก็ยังไม่มีการศึกษาเช่นกัน
1. Messinis IE, Souvatzoglou A, Fais N et al. Histamine H1 receptor participation in the control of prolactin secretion in postpartum. J Endocrinol Invest. 1985;8:143-6. PMID: 3928731
2. Pontiroli AE, De Castro e Silva E, Mazzoleni F et al. The effect of histamine and H1 and H2 receptors on prolactin and luteinizing hormone release in humans: sex differences and the role of stress. J ClinEndocrinolMetab. 1981;52:924-8. PMID:7228996