ปัญหาลูกที่กินนมแม่

ลูกอายุ 1 เดือน ถ่ายจนก้นแดง

22 มิถุนายน 2017
แชร์ให้เพื่อน

ลูกอายุ 1 เดือน ถ่ายจนก้นแดง

[seed_social]
[seed_social]

พญ. ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล

ลูกอายุ 1 เดือนกว่า กินนนมแม่แล้วถ่ายบ่อยจนก้นแดง

อาการของลูกคือ ถ่ายเหลว ถ่ายบ่อยมากประมาณ12 ครั้งต่อ 1 วัน เป็นน้ำเป็นมีเศษกากออกมาด้วย ทุกครั้งที่ผ่ายลมก็มี อึ ออกมาด้วย จนก้นแดง เป็นแผล ท้องอืดประจำ แรกเกิดหนัก2950กรัม 1 เดือนครึ่งหนัก4915กรัม จะทำอย่างไรดี

การทีทารกที่กินนมแม่อย่างเดียวแล้วถ่ายบ่อยๆเป็นเรื่องปกตินะคะ เพราะนมแม่ย่อยง่าย

ส่วนใหญ่ในเดือนแรกจะกินนมไปถ่ายไปเลยทีเดียว แต่น้ำหนักจะยังขึ้นได้ดี

ในบางคนที่ถ่ายบ่อยจนก้นแดง มักจะพบในรายที่

 

1. แม่มีน้ำนมมาก กินแล้วได้น้ำนมส่วนหน้าไปมากจนเต็มท้องก่อนจะถึงน้ำนมส่วนหลัง

2. กินนมแม่จากเต้าแรกไม่นาน แล้วเปลี่ยนไปกินอีกข้างหนึ่ง เปลียนไปมาบ่อยๆในมื้อเดียวกันทั้งสองการณีนี้จะทำให้ทารกได้น้ำนมส่วนหน้าเข้าไปมาก น้ำนมส่วนนี้จะมีน้ำเป็นส่วนประกอบมากกว่าน้ำนมส่วนหลัง จึงทำให้ผ่านลงไปสู่ลำไส้เร็วกว่า และแลคโต๊สจำนวนมากที่ลงสู่ลำไส้ ลำไส้จะรับมือไม่ไหว ไม่สามารถดูดซึมได้หมด จึงเสมือนมีแลคโต๊สมาก และไปทำให้มีน้ำออกมาจากผนังลำไส้เพิ่มมากขึ้น เป็นเหตุให้ถ่ายมีน้ำและลมปู๊ดป๊าดมาก

แลคโต๊สในนมแม่น่ะทารกย่อยได้อยู่แล้วค่ะ เพียงแต่ปริมาณที่ลงสู่ลำไส้จะมากกว่าที่ควร เพราะ ผ่านลงไปเร็ว ลำไส้จึงจัดการไม่ทัน ไม่ใช่ย่อยไม่ได้ แต่ย่อยไม่ทัน

การแก้ไข ถ้าเป็นกรณี่ที่ 1 ให้แม่บีบน้ำนมส่วนหน้าที่มากๆเอาแช่แข็งไว้ก่อน กะไว้ว่าสักครึ่งเต้า แล้วค่อยเอาลูกมาดูด ทำอย่างนี้ทั้สองข้างสักพักจนลูกถ่ายดีขึ้น

กรณีที่ 2 ให้ลูกดูดนมแม่จนเกลี้ยงเป็นข้างๆไป เพื่อให้ได้น้ำนมส่วนท้ายทีมีไขมันมาก นมจะได้อยู่ท้อง และไม่ลงไปทำให้มีน้ำมากในลำไส้

ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นนมผงนะคะ ถ้าเข้าใจสาเหตุ และแก้ไขตามที่ได้อธิบายไว้ค่ะ

อุจจาระของทารกที่กินนมแม่

พญ. ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล

อุจจาระของทารกที่กินนมแม่จะมีสีและลักษณะแตกต่างกันขึ้นกับอายุของทารกและอาหารที่แม่รับประทาน อุจจาระของทารกทีกินนมแม่อย่างเดียวจะค่อนข้างเหลวบางครั้งถึงกับเป็นน้ำ แม่จึงมักจะกังวลว่า ลูกท้องเสียหรือไม่ และมักจะนำลูกมาปรึกษาแพทย์ หรือพยาบาล บุคลากรด้านการแพทย์จึงควรทำความคุ้นเคยกับอุจจาระปกติของทารกที่กินนมแม่อย่างเดียว เพื่อให้คำแนะนำได้อย่างถูกต้อง เพื่อทารกจะได้รับน้ำนมแม่ต่อได้นาน

อุจจาระของทารกแรกเกิดที่กินนมแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับดังนี้

ใน 1-2 วันแรกจะถ่ายไม่บ่อยเพียงวันละ 1-2 ครั้ง และอุจจาระจะเหนียวสีเขียวเข้มถึงดำคล้ายน้ำมันดิน เรียกว่า ขี้เทา (meconium) (รูปที่ 1)

ในวันที่ 2 อุจจาระจะเริ่มเป็นสีเขียวจางลง มีน้ำปนมากขึ้น บางคนจะมีสีน้ำตาลปนเม็ดๆในอุจจาระ ทารกที่ขับถ่ายขี้เทาได้ดีในวันแรกๆ เป็นตัวบ่งชี้ว่าทารกได้รับพลังงานจากน้ำนมแม่ได้พอเพียงและลดความเสี่ยงที่จะเกิดตัวเหลือง

ในวันที่ 3- 4 หลังคลอด เมื่อทารกได้ดูดนมแม่บ่อยขึ้น สีอุจจาระจะค่อยๆจางลงจากเขียวเข้มเป็นสีเขียวปนเหลือง ลักษณะจะเหนียวน้อยลงและมีน้ำปนมากขึ้น (transitional stool) (รูปที่ 2) อุจจาระมีปริมาณมากขึ้น ถ่ายเฉลี่ย 3-4 ครั้งต่อวัน

หลังจากวันที่ 4 ทารกที่กินนมแม่อย่างเดียวจะมีอุจจาระสีเหลืองทองนิ่มจนถึงเหลว คล้ายโจ๊กใส่ฟักทอง ส่วนใหญ่อุจจาระจะมีน้ำปนค่อนข้างมาก สังเกตดูในผ้าอ้อมจะเห็นเนื้ออุจจาระอยู่ตรงกลางและมีน้ำแผ่ออกโดยรอบ ถือว่าปกติไม่ใช่ท้องเสียแต่อย่างใด (รูปที่ 3)

ทารกที่อายุน้อยกว่า 6 สัปดาห์โดยเฉลี่ยจะถ่ายมีเนื้ออุจจาระมากพอควร 3-4 ครั้งขึ้นไปต่อวัน แต่บางคนอาจจะถ่ายกะปริบกะปรอยจำนวนน้อยๆหลังจากดูดนมแม่ทุกครั้งก็พบได้ ถ้าเป็นเช่นนี้ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีว่าทารกได้รับน้ำนมแม่เพียงพอ3,4 อุจจาระอาจเป็นสีเหลืองทองมีลักษณะคล้ายเม็ดมะเขือปนอยู่

เมื่อทารกอายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป จะมีการเปลี่ยนแปลงของการถ่ายอุจจาระ คือ อุจจาระจะมีเนื้อมากขึ้นจากลักษณะเละเป็นโจ๊กกลายเป็นเหมือนยาสีฟันเหนียวๆ สีอาจจะมีตั้งแต่ สีเหลืองทองจนถึงสีออกเขียวปนเหลืองขึ้นกับอาหารที่แม่รับประทาน จำนวนครั้งจะลดลงเหลือวันละ 1-2 ครั้ง ดังเช่นทารกอายุ 1 เดือนรายหนึ่งไม่ถ่ายอุจจาระมา 7 วัน ตรวจร่างกายทารกปกติดีไม่มีท้องอืด เมื่อกระตุ้นโดยการใช้นิ้วก้อยสอดเข้าในทวารหนัก ทารกถ่ายอุจจาระสีเหลืองทองจำนวนมากไม่พบลักษณะก้อนแข็ง เช่นนี้คืออุจจาระปกติของทารกที่กินนมแม่อย่างเดียวในช่วงเดือนที่สองเป็นต้นไป (รูปที่ 4)

บางครั้งอุจจาระของทารกที่กินนมแม่อย่างเดียว อาจจะออกมาเป็นน้ำสีเขียวๆปนเม็ดมะเขือ เป็นน้ำสีเหลือง หรือน้ำสีเขียวจำนวนไม่มากติดออกมากับผ้าอ้อม บางคนมีมูกเขียวๆปนออกมาด้วย ทั้งนี้กลิ่นของอุจจาระจะยังคงเป็นกลิ่นหอมอ่อนๆ ต่างจากกลิ่นเหม็นเน่าหรือเหม็นเปรี้ยวของอุจจาระทารกที่ท้องเสียจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส

อาหาร ผักบางชนิด น้ำผลไม้ หรือ วิตามินที่แม่รับประทานอาจจะทำให้สีอุจจาระของลูกเปลี่ยนแปลงไปได้ ยกตัวอย่างรูปที่ 14 อุจจาระปกติสีเหลืองทองของทารกอายุ 5 เดือน วันต่อมาแม่รับประทานผักบุ้งจำนวนมาก หลังจากนั้นลูกถ่ายอุจจาระออกมาเป็นสีเขียว (รูปที่ 5)

ไม่ควรพบเลือดสีแดงๆปนในอุจจาระทารกที่กินนมแม่อย่างเดียว ถ้าพบว่ามีเส้นสีแดงๆอยู่ในอุจจาระอาจเกิดจาก

 

ยังมีคำถามยอดฮิตที่น่าสนใจเกี่ยวกับการถ่ายของเด็กนมแม่อีก ที่

ลูกกินนมแม่ แล้วถ่ายบ่อย /94/”http://www.thaibreastfeeding.org/content/view/HYPERLINK “http://www.thaibreastfeeding.org/content/view/36/94/”36HYPERLINK “http://www.thaibreastfeeding.org/content/view/36/94/”/HYPERLINK “http://www.thaibreastfeeding.org/content/view/36/94/”94HYPERLINK “http://www.thaibreastfeeding.org/content/view/36/94/”/

ลูกท้องผูก /94/”http://www.thaibreastfeeding.org/content/view/HYPERLINK “http://www.thaibreastfeeding.org/content/view/35/94/”35HYPERLINK “http://www.thaibreastfeeding.org/content/view/35/94/”/HYPERLINK “http://www.thaibreastfeeding.org/content/view/35/94/”94HYPERLINK “http://www.thaibreastfeeding.org/content/view/35/94/”/

Reference

de Carvalho M , Robertson S, Klaus M . Fecal bilirubin excretion and serum bilirubin concentrations in breast-fed and bottle-fed infants. Journal of Pediatrics 1985; 107(5): 786-790

Yamauchi Y, Yamanouchi I . Breast-feeding frequency during the first 24 hours after birth in full term neonates. Pediatrics 1990; 86(2):171-75

Gartner L , Morton J , Lawrence R , et al , American Academy of Pediatrics(AAP) Section on Breastfeeding. Breastfeeding and the use of human milk. Pediatrics 2005;115(2) : 496-506

Neifert M , Early assessment of the breastfeeding infant. Contemporary Pediatrics 1996; 13(10):142-166

Admin
มูลนิธิศูนย์นมแม่
บทความที่เกี่ยวข้อง
อาหารตามวัย ควบคู่ไปกับนมแม่ ตอน 1
แม่หลังคลอดผมร่วงมาก จะหัวล้านไหม
แม่เป็นหวัด ให้นมลูกอยู่ ลูกจะติดหรือไม่