รู้ก่อนให้นมแม่

สายใยสายสัมพันธ์ (ตอนที่1)

21 มิถุนายน 2017
แชร์ให้เพื่อน

สายใยสายสัมพันธ์ (ตอนที่1)

[seed_social]
[seed_social]

สายใยสายสัมพันธ์ (ตอนที่1)

จ, 05/26/2008 – 13:25

โดย ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล

คุณแม่คนใหม่มักจะมีความสงสัยและคำถามมากมายอยู่ในใจ

“เราจะเป็นแม่คนได้ไหม?  เราจะเลี้ยงลูกแบบที่พ่อแม่เลี้ยงเรามาหรือเปล่า? ”

“แล้วถ้าลูกออกมาพิการล่ะ?” คงจะมีสักช่วงหนึ่งที่คุณแม่จะนึกไปถึงเด็กพิการที่เคยเห็นและเกิดความกลัว ความกังวลสารพัด แต่นี่คือขบวนการปกติ

ในช่วงนี้พ่อแม่จะมี “ลูกในความฝัน” อยู่ 3แบบ คือ  ลูกที่ยิ้มแย้มแจ่มใส ส่งเสียงคุยกับแม่

(เหมือนที่เห็นในภาพโฆษณา) ลูกที่มีความพิการ และลูกตัวจริงที่นอนดิ้นอยู่ในท้อง

 

ภาพในฝันของลูกคนที่สองของคุณแม่ท่านหนึ่ง คือภาพของลูกคนแรกตอนแบเบาะที่จะตื่นขึ้นมาดูดนมแม่แล้วหลับโดยไม่ร้องกวนเลย คุณแม่ก็จะฝันว่าลูกคนใหม่นี้จะต้องเลี้ยงง่ายเหมือนลูกคนแรก  แต่เมื่อคลอดออกมากลับเป็นตรงกันข้าม  ลูกคนนี้ร้องตลอด อ้าปากกว้างแผดเสียงแบบแปดหลอด ไม่ยอมหยุดง่ายๆ จนคุณตาตั้งข้อสังเกตว่า

 

“ร้องแบบนี้เหมือนน้าเล็กตอนเด็กๆ ไม่มีผิดเลย”

คุณแม่จึงหันมาพิจารณาหน้าลูกอีกที  “เอ้อ! เห็นจะจริง หน้าเหมือนน้องสาวเรา ก็ต้องร้องดังเหมือนเขาอย่างนี้แหละ”

 

ถ้าลูกตัวจริงไม่เหมือนลูกในภาพฝัน การคิดว่าลูกเหมือนใครในครอบครัวที่เรารู้จักดีอยู่แล้ว ไม่ใช่คนแปลกหน้า จะทำให้เราปรับตัวปรับใจเข้ากับลูกคนใหม่ได้ดีขึ้น และสานสายสัมพันธ์กับลูกได้ง่ายขึ้นด้วย

ในช่วงหลังคลอด การให้ลูกได้อยู่ใกล้ชิดแม่และดูดนมจากอกแม่ เป็นการเริ่มต้นความสัมพันธ์แม่ลูกได้ดีที่สุด  แม่ลูกได้สัมผัสกัน ส่งผ่านความรักสู่กัน  ถึงแม้ใน 2-3 วันแรกหลังคลอดนี้จะยังไม่มีน้ำนมออกมามาก แต่ก็เพียงพอสำหรับลูก

ผู้เขียนเคยเขียนไว้ในหนังสือ ” เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิถีแห่งธรรมชาติ” ดังนี้:

 

“คุณแม่ต้องมีความมั่นใจในตนเอง หรือหาความสนับสนุนจากผู้ที่เข้าใจเรื่องนมแม่ และมั่นใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ว่าเป็นวิธีธรรมชาติที่ดีที่สุดสำหรัีบลูก

ธรรมชาติมีเหตุผลเสมอ การที่ธรรมชาติให้นมแม่มาน้อยในช่วงแรก เพราะทารกไม่ต้องการนมมากมายในช่วงนั้น ทารกต้องการความรู้สึกอบอุ่นปลอดภัยเหมือนตอนที่อยู่ในท้องแม่ต่างหาก

ธรรมชาติจึงหาวิธีทำให้แม่อุ้มลูกขึ้นมาบ่อยๆในช่วงนี้ ด้วยการให้มีน้ำนมน้อยๆ แม่จึงต้องอุ้มลูกขึ้นมาดูดนมแม่บ่อยๆทุก 2 ชั่วโมง

เมื่อแม่ลูกได้สัมผัสโอบกอดกันบ่อยๆ ลูกก็มีความมั่นใจว่ามีอ้อมแขนแม่ที่จะให้ความคุ้มครอง  เมื่อลูกมั่นใจ มีความรู้สึกที่ดีต่อสภาพแวดล้อมใหม่ เขาก็จะมีความสุข ปรับตัวเข้ากับโลกได้ดีขึ้น”

Admin
มูลนิธิศูนย์นมแม่
บทความที่เกี่ยวข้อง
ลานนมกว้าง / แคบ ลูกจะดูดได้ไหม
การตั้งครรภ์ : ดื่มแอลกอฮอลล์ขณะตั้งครรภ์ ส่งผลต่อความผิดปกติของทารก
หัวนมสั้น บอด ใหญ่ ยาว จะให้นมลูกได้หรือไม่ ?