คุณค่าน้ำนมแม่

เอกสิทธิ์น้ำนมแม่ Lysozyme

08 ธันวาคม 2017
แชร์ให้เพื่อน

เอกสิทธิ์น้ำนมแม่ Lysozyme

[seed_social]
[seed_social]

เอกสิทธิ์น้ำนมแม่ Lysozyme

เราได้พูดถึง สารที่เป็น “เอกสิทธิ์เฉพาะน้ำนมแม่ ” เรียงลำดับมาแล้วนะคะ จากอักษร A – PAF- AH ( Platelet Activating Factor Acetylhydrolase) และ B – BSSL ( Bile Salt Stimulating Lipase)

วันนี้จะเป็น อักษร C CCK (Cholecystokinin) และ L Lysozyme ค่ะ อย่าเพิ่งเบื่อเสียก่อนนะคะ เราต้องช่วยกันจดจำ และบอกต่อถึงความพิเศษแตกต่าง ที่จะไม่มีใครพูดถึงนี้กันค่ะ

น้ำนมแม่นั้น ประกอบขึ้นด้วยสารมากมายที่ไม่อาจทำเทียมเลียนแบบได้ครบ ทั้งนี้เพราะ น้ำนมแม่ คือ น้ำนมที่มีชีวิตค่ะ นอกจากเซลล์ต่างๆแล้ว ยังมี กลุ่มสารประกอบชีวภาพ ที่ออกฤทธิ์ในร่างกาย เราเรียกว่า กลุ่ม Bioactive Components หมายความว่า สารเหล่านี้จะช่วยการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกแรกเกิด โดย วิถีทางพิเศษ ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังจาก ทารกกินนมแม่เข้าไปแล้ว

แน่นอน บริษัทนมผงยังไม่สามารถเติมสารเหล่านี้ในนมผงได้ เพราะ จะถูกทำลายโดยความร้อนในขบวนการผลิต และ สารเหล่านี้ในน้ำนมวัวก็แตกต่างจากของมนุษย์ด้วย

สารชีวภาพเหล่านี้ อาจจะมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพของเด็ก และทารกที่กินนมแม่จะได้รับอย่างเต็มที่ค่ะ

หนึ่งในสารชีวภาพนี้คือEnzyme เอนไซม์ ค่ะ

นมแม่มีเอนไซม์หลายตัวที่แตกต่างจากนมวัว เช่น Lysozyme ในน้ำนมแม่มีการทำงานมากกว่าในน้ำนมวัวหลายพันเท่า (มี lysozyme ในน้ำนนนมแม่ 400 ไมโครกรัมต่อ ml ) อยู่ในส่วน whey protein ของน้ำนมแม่ มีผลทั้งฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และมี ฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบด้วย (anti inflammatory effect) Lysozyme ทำงานร่วมกับ peroxide and ascorbate เพื่อทำลายเชื้อ E .Coli and Salmonella บางสายพันธุ์

กล่าวง่ายๆ ไลโซไซม์ เปรียบเหมือนน้ำยาฆ่าเชื้อโรค โดยมันจะเข้าไปเจาะผนังเซลล์ของเชื้อโรค ทำให้เชื้อตายค่ะ การทำลายเชื้อโรคนี้ ไลโซไซม์จะทำงานร่วมกับ อิมมูโนโกลบูลิน และ เซลล์อื่นๆที่จับกินเชื้อโรคด้วย เรียกว่า รุมกินโต๊ะเชื้อโรคกันเลยทีเดียว

Lysozyme activity เพิ่มมากขึ้นเมื่อทารกอายุมากขึ้น หลังจากทารกอายุ 6 เดือน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทารกริ่มกินอาหารอื่นๆนอกเหนือจากนมแม่ จึงเป็นการป้องกันที่เหมาะสมอย่างยิ่ง

อย่าเชื่อ ถ้าใครที่จะบอกว่า กินนมแม่ถึง 6 เดือน หรือ 1 ปี ก็พอแล้ว บอกเขาไปเลย ว่า

” หลัง 6 เดือน นมแม่ยังมี ไลโซไซม์ มากขึ้นค่ะ รู้จักไหมคะ ดูปากดิฉันนะคะ L y s o z y m e น่ะค่ะ ”

อย่าลืมว่า นมแม่ไม่ใช่เพียงแค่สารอาหารเพื่อการเติบโต แต่คือ “น้ำนมที่มีชีวิต”

ที่สำคัญคือ มีสารหลายตัวทีทำงานเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน เมื่ออยู่ด้วยกันเป็นทีม ไม่ใช่การทำงานที่โดดเด่นเพียงตัวใดตัวหนึ่ง แต่ต้องประสานและรวมพลังกันให้เกิดประโยชน์ต่อทารกมากที่สุด/ แอดมินหมอติ๋ม

( ยังไม่ได้พูดถึง CCK เลย เดี๋ยวมาต่อนะคะ รายละเอียดเยอะ โปรดติดตาม อย่าลืมไลค์ และแชร์ต่อด้วยค่ะ)

Reference Breastfeeding and Human Lactation Chapter 4 : The Biological Specificity of Breast Milk ( Bioactive Components) University of Kansas School of Nursing . Karen Wambach , Jan Riodan P 155

บทความที่เกี่ยวข้อง
การให้นมแม่ช่วยพัฒนาสมองได้อย่างไร
นมแม่มีเซลล์จับกินเชื้อโรค
ประโยชน์คุณค่าน้ำนมแม่