คุณค่าน้ำนมแม่

เอกสิทธิ์น้ำนมแม่ PAF AH

08 ธันวาคม 2017
แชร์ให้เพื่อน

เอกสิทธิ์น้ำนมแม่ PAF AH

[seed_social]
[seed_social]

เอกสิทธิ์น้ำนมแม่ PAF AH

 

เราได้มองนมแม่ผ่านเลนส์กันแล้ว เห็นไหมคะว่ามีอะไรในน้ำนมแม่อีกมากมายที่ เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ใครอยากดูของจริงขอให้ติดตามเราไปเรื่อยๆนะคะ ว่าจะมีกิจกรรมดีๆเมื่อไรและมีอะไรบ้าง

ของดีๆในน้ำนมแม่ เรารู้ว่ามีอยู่ และมีมานานแล้ว ธรรมชาติสร้างสรรค์ให้เหมาะเจาะกับมนุษย์ตัวเล็กๆของคุณแม่แต่ละคน เรียกว่า เป็นเสื้อสั่งตัดที่พอเหมาะพอดีตัวกันเลยทีเดียวค่ะ ฝรั่งเขาเรียกว่า “Tailor-Made “ ออกแบบและตัดเย็บโดยช่างผู้ชำนาญการ ไม่ใช่เสื้อผ้าโหลที่ขนาดเท่าๆกัน เหมือนกันหมดทุกตัวนะคะ นั่นเขาเรียกว่า เสื้อโหล ของเรา เป็นเสื้อจากห้องเสื้อดีไซเนอร์ค่ะ!

ของดีๆ ก็ต้องมีใครอยากจะเลียนแบบบ้างล่ะ ใช่ไหมคะ? แต่คิดหรือคะว่า จะเลียนแบบกันได้ง่ายๆ แค่สารประกอบที่มีในน้ำนมแม่ ก็ 200 กว่าชนิด ให้รู้กันไปบ้างว่า น้ำนมแม่มี สารอะไรที่ชื่อยาวๆ ดูขลังอลังการ มลังเมลือง วิลิศมาหรา มากมายจดจำกันไม่หวัดไม่ไหว ขอให้ตามมาก๊อปปี้ให้ทันก็แล้วกัน

คราวนี้เราจะเลือกมาเฉพาะที่ เป็น “ เอกสิทธิ์เฉพาะน้ำนมแม่ “ มาฝากให้ทุกๆคนช่วยกันแชร์ออกไปให้มากที่สุดนะคะ ใครเก็บสะสมการแชร์ได้มากที่สุดจะพิจารณามีรางวัลมาแจกกันค่ะ

วันแรกนี้ขอเสนออักษร A – “PAF –AH “ Platelet Activating Factor- Acetyl Hydrolase ค่ะ

แน่นนอน PAF – AH เป็นเอนไซม์ที่พบได้ในน้ำนมแม่ แต่ไม่พบในนมวัว

หลั่งออกมาจากเซลล์ชนิด macrophage ในน้ำนมแม่ และไม่ถูกทำลายโดยกรดในกระเพาะอาหาร จึงผ่านไปออกฤทธิ์ในลำไส้เล็กได้
หน้าที่ของ PAF – AH คือย่อย PAF ค่ะ

แล้ว PAF คืออะไรกันล่ะ?

อ๋อ! PAF คือตัวการที่ทำให้เกิดโรคลำไส้เน่าในทารกแรกเกิด โดยเฉพาะ ทารกที่คลอดก่อนกำหนดตัวเล็กๆ จะเกิดโรคนี้ได้ง่าย ทีนี้พอเราให้ทารกแรกเกิดได้ดื่มน้ำนมแม่ เขาก็จะได้เอนไซม์ PAF- AH นี้เข้าไปย่อย PAF ค่ะ ทำให้ PAF หมดไป จึงไม่เกิดลำไส้เน่าค่ะ

นี่คือเหตุผลหนึ่งที่ เราพบว่า ทารกที่กินนมแม่พบโรคลำไส้เน่าน้อยกว่าทารกที่กินนมผสมค่ะ
(โรคลำไส้เน่า NEC –Necrotizing Enterocolitis )/ แอดมินหมอติ๋ม

REF : 1. J Lipid Res. 1993 Sep;34(9):1603-9.
Presence of platelet-activating factor-acetylhydrolase in milk.
Furukawa M1, Narahara H, Yasuda K, Johnston JM.
Department of Biochemistry, University of Texas Southwestern Medical Center at Dallas 75235-9051.
2. Dual Roles of Endogenous Platelet-activating Factor Acetylhydrolase in a Murine Model of Necrotizing Enterocolitis
Jing Lu, Marissa Pierce, Andrew Franklin, Tamas Jilling, Diana M. Stafforini, and Michael Caplan Pediatr Res

บทความที่เกี่ยวข้อง
นมแม่ กับ เด็กตัวเตี้ย (Breastfeeding and Stunting)
สารปนเปื้อน arsenic, lead และ BPA ในอาหารทารก ซึ่ง 80% เป็นนมผสม
การให้นมแม่ช่วยพัฒนาสมองได้อย่างไร