ผนึกเครือข่ายแม่อาสาจันทบุรี
ลุยงานเชิงรุก – ตั้งรับ
กว่า 27 ปีที่ พื้นที่จันทบุรี มีการรณรงค์ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จากโรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ตั้งแต่ ปี 2533 ทีมงานได้สกัด Key to Success การทำงานส่งเสริมให้เกิด แม่อาสาในชุมชน
ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยได้มีการถอดบทเรียนการสร้างพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ : จันทบุรี (14 กันยายน 2550) พบว่า มีการจัดตั้งโครงการพัฒนากลุ่มแม่อาสากลุ่มนมแม่ จ. จันทบุรี
ปี 2533 โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี ริเริ่มการรณรงค์ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ปี 2539 กลุ่มการพยาบาลร่วมกับกลุ่มงานสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลพระปกเกล้า มีนโยบายเยี่ยมติดตามแม่หลังคลอด ในเขตอ. เมือง และมนพื้นที่กองพันทหารราบที่ 2 ค่ายตากสิน จ. จันทบุรี รับผิดชอบโดย คุณวาสนา งามการ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพระปกเกล้า และมีสามี พ.จ.อ. วิทยา งามการ (ยศสมัยนั้น) ให้ความช่วยเหลือมาตลอด และจัดตั้งกลุ่มแม่อาสาจากแม่บ้านที่เป็นภรรยาข้าราชการที่หมวดขนส่ง ค่ายตากสิน และแม่หลังคลอดที่คลินิคนมแม่
ปี 2547 ก่อตั้งกลุ่มแม่อาสากลุ่มนมแม่จันทบุรี และเริ่มมีพ่ออาสาทำงานอาสาสมัครในกลุ่มฯ
การขยายผลการดำเนินงาน
- การรณรงค์การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่สถานีอนามัย 5 แห่ง ในเขตอำเภอเมือง ขยายผลแม่อาสากลุ่มนมแม่ฯ ที่ตำบลเกาะขวาง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
- กิจกรรมการออกติดตามเยี่ยมบ้านและให้กำลังแม่หลังคลอด โดยแม่อาสาในชุมชน
- กรณีแม่อาสาไม่สามารถแก้ไขปัญหาช่วยเหลือแม่หลังคลอด จะแนะนำส่งต่อไปยังคลินิกนมแม่
- การขยายเครือข่ายแม่อาสา มีจำนวนมากขึ้น เกิดจากการเยี่ยมบ้านและชักชวนแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้สำเร็จเข้ามาร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
- ออกรายการเคเบิ้ลท้องถิ่นของจังหวัดจันบุรี
- ขอรับบริจาคขวดเก็บนมมอบให้โรงพยาบาลเป็นคลังนมแม่สำหรับเด็กเจ็บป่วย
- การเกิดขึ้นของกลุ่มแม่อาสากลุ่มนมแม่ฯ ของกองพันทหารราบที่ 2ฯ ค่ายตากสิน จังหวัดจันทบุรี
เทศบาลเมืองจันทบุรี อ. เมือง จ. จันทบุรี
งานขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพและอนามัยแม่และเด็ก เป็นภารกิจหนึ่งของเทศบาลจังหวัดจันทบุรี นายกเทศมนตรีหญิง นางสุกานดา สุทธิพัฒนกุล สนับสนุนในเรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเต็มกำลัง เนื่องจากเข้าใจเหตุผลถึงประโยชน์ของการที่เด็กได้กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด จะได้รับโอกาสในการสร้าง “ต้นทุนที่ดี” ด้านสมอง พัฒนาการ ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม
เทศบาลจังหวัดจันทบุรี จึงได้มีนโยบายการขับเคลื่อนภาระกิจการดูแลสุขภาพคนในชุมชนในทุกด้าน ตั้งแต่แรกเกิด วัยรุ่น แต่งงาน วัยชรา จนกระทั่งเสียชีวิต อย่างครบวงจรและทั่วถึง
เคล็ดลับความความสำเร็จ กลไกที่ทำให้ภารกิจงานส่งเสริมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
นโยบาย – ผู้บริหารนายกเทศมนตรีให้การสนับสนุนและเดินหน้าการดูแลสุขภาพอนามัยของคนในชุมชนอย่างทั่วถึง
ทีมงาน – ผู้อำนวยการฝ่ายงานสาธารณสุข ได้ประสานความร่วมมือในการทำงานร่วมกับ อสม. จำนวนทั้งหมด 200 คน ในการจัดอบรมให้ความรู้พื้นฐานการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยมีวิทยากรจากโรงพยาบาลพระปกเกล้ามาให้การอบรม และให้คำปรึกษาแนะนำในการแก้ไขปัญหา ให้กับ อสม. กลุ่มแกนนำ จำนวน 60 คน
การเข้าถึงชุมชนเชิงลึกและเชิงรุก – ทัศนคติและความเชื่อของชาวจันทบุรีจะให้ความเชื่อถือกับแพทย์ พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขที่ใส่ชุดยูนิฟอร์มเท่านั้น ในช่วงแรกที่ อสม. ได้ไปเยี่ยมติดตามตามชุมชน ได้รับการปฏิเสธ ทางทีมงาน อสม. จึงได้ริเริ่มในการจัดทำเสื้อยูนิฟอร์ม อสม. เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในการเข้าไปเยี่มมติดตาม และได้รับการตอบรับที่ดี เนื่องจาก อสม. ทุกคนได้รับการอบรมในเรื่องนมแม่มาอย่างดีจากผู้เชี่ยวชาญ
ระบบบันทึกการเยี่ยมติดตาม – ทีม อสม. จันทบุรี ได้มี “สมุดบันทึกการเยี่ยมติดตาม” ที่มีตารางในการตรวจเช็คสุขภาพอนามัยและแม่และเด็กในด้านต่างๆ อย่างครบถ้วน ทำให้สามารถรายงานผลการเยี่ยมติดตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โครงสร้างระบบการทำงานการส่งเสริมด้านนมแม่ เป็นส่วนหนึ่งของงานสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก หน่วยงานคลินิกนมแม่ โรงพยาบาลพระปกเกล้า ได้ทำงานร่วมกับ เทศบาลจังหวัดจันทบุรี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เกาะขวาง และ อบต. อสม. จ. จันทบุรี มีการบูรณาการองค์ความรู้ได้อย่าง “ครบวงจร”
การดูแลครอบครัว โดยเฉพาะแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การสร้างความคุ้นเคยกับทุกครอบครัวในตำบล โดยเฉพาะคู่แต่งงานใหม่ซึ่งจะมีการดูแลตั้งแต่ การฝากครรภ์ จนไปถึงการเยี่ยมติดตามในช่วง 3 วันแรก 7 วันแรก 14 วันแรก และเดือนละ 1 ครั้ง จนถึง 6 เดือน