แนะนำมูลนิธิ
มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย คือ องค์กรพัฒนาเอกชนที่มาจากการรวมตัวของแพทย์ พยาบาล นักโภชนาการ นักกฎหมาย และนักสื่อสาร ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2547 ต่อมาได้จดทะเบียนนิติบุคคลเป็น “มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย” เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 และได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานจาก สำนักงานกองทุนสนันสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และองค์กร Alive and Tribes
งานสำคัญ
งานสำคัญที่ร่วมทำกับภาคีต่างๆ
1.ขับเคลื่อนให้มีมุมนมแม่ในสถานประกอบการ เพื่อสนับสนุนให้แม่ทำงานเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
2. มีชุมชนต้นแบบนมแม่ ในค่ายทหารตากสิน และเทศบาลตำบลเกาะขวาง จันทร์บุรี ตำบลป่าแดด เชียงใหม่ ตำบลเกิ้ง มหาสารคาม
3.ชุมชนแม่อาสาออนไลน์ กลุ่มแม่ช่วยแม่และ เป็นพลังขับเคลื่อนของสังคมนมแม่
4.เผยแพร่วิชาการให้แก่บุคลากรสาธารณสุข แม่และประชาชนทั่วไปในรูปแบบต่างๆ
5.รณรงค์เพื่อให้สังคมเห็นความ สำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องในสัปดาห์นมแม่โลก (1-7 ส.ค.) ของทุกปี
เว็บไซต์
เว็บไซต์ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย เริ่มเปิดตัวเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ด้วยการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีจุดมุ่งหมายหลัก เพื่อการส่งเสริมให้เด็กไทยได้รับนมแม่ได้มากที่สุด โดย
- เป็นช่องทางสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลความรู้เรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ถูกต้อง
- เป็นสื่อสำหรับแม่ยุคใหม่สามารถค้นหาความรู้และเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
- เป็นเวทีในการแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
- มีผู้เชี่ยวชาญด้านนมแม่ และกลุ่มแม่อาสา ให้ความรู้ คำแนะนำปรึกษาและเป็นกำลังใจ
- เฝ้าระวังการกระทำที่อาจมีผลกระทบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
- ร่วมกันเคลื่อนไหวสังคมเพื่อให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ขยายออกไปในวงกว้าง
เว็บไซต์นี้ของเรามีการพัฒนาและปรับปรุงหลายครั้ง ดังนี้
- 16 มิย. 2548 เปิดเว็บไซต์ครั้งแรกในชื่อ www. thaibrastfeeding.com
- 14 กพ.2551 เปลี่ยนรูปแบบ และเปลี่ยนชื่อเป็น www.thaibreastfeeding.org
- 23 มีค. 2552 ย้าย host มาอยู่ในสังกัดของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
- 1 สค.2553 ปรับปรุงรูปแบบและระบบมาเป็นแบบปัจจุบัน ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย วิสัยทัศน์ ศูนย์พัฒนาวิชาการเรื่องนมแม่ เพื่อผลักดันไปสู่สังคมไทยให้เห็นคุณค่าของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างยั่งยืน
- 1 มี.ค. 2557 ปรับปรุงรูปแบบเว็บไซต์เพื่อให้มีความทันสมัย ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งาน ดำเนินงานตามพันธกิจ และนโยบาย ส่งสริม สนับสนุนและปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (CODE), การพัฒนางานวิจัยและการจัดการความรู้ที่ตอบโจทย์ของสังคมและเผยแพร่ความรู้, สนับสนุนเครือข่ายและประชาสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชนสาธารณสุข สถานที่ทำงาน ฯลฯ เพื่อเป้าหมาย เด็กไทยได้กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และนมแม่ร่วมกับอาหารตามวัยนาน 2 ปี
- 1 ส.ค. 2560 ปรับปรุงรูปแบบเว็บไซต์เพื่อให้มีความทันสมัย ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานเน้นฟังก์ชั่น และ user friendly มีการจัดระเบียบของข้อมูลที่ชัดเจน แยกย่อยเนื้อหาออกเป็นส่วนต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันและให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน การใช้งานที่ง่าย ช่วยให้ผู้ใช้รู้สึกสบายใจต่อการอ่านและสามารถทำความเข้าใจกับเนื้อหาได้อย่างเต็มที่ โดยไม่เสียเวลาอยู่กับการทำความเข้าใจ การเชื่อมโยงที่ดี ลักษณะไฮเปอร์เท็กซ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงอยู่ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งมีเป้าหมายให้เป็นสื่อออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ รองรับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างดี ตลอดจนสามารถรองรับการปรับปรุงในอนาคต
พันธกิจ/วิสัยทัศน์
1. พัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี รูปแบบ ด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รวมทั้งการพัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน
2. สร้างเสริมระบบ กลไก ให้เอื้อต่อการพัฒนาการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสังคมไทย
ยุทธศาสตร์หลัก
1. การพัฒนาด้านวิชาการ และการจัดการความรู้
2. การสนับสนุนการมีส่วนร่วมและพัฒนาความเข้มแข็งเครือข่าย
3. การสื่อสารเพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจความสำคัญของการผลักดันนโยบายระดับชาติที่เอิ้อต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
กรอบแนวคิด
- นโยบายส่งเสริม สนับสนุนและปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
- งานวิจัยและการจัดการความรู้ที่ตอบโจทย์ของสังคมและการเผยแพร่ความรู้
- เด็กกินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และนมแม่ร่วมอาหารตามวัยนาน 2 ปี
- การสนับสนุนของเครือข่ายและประชาสังคม (ครอบครัวชุมชนสาธารณะสุข สถานที่ทำงานฯลฯ)
วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิชาการและงานวิจัยที่ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้านนโยบายและการปฏิบัติงาน
- เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมและพัฒนาความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในสถาบันผลิตแพทย์ องค์กรภาครัฐ ภาคธุรกิจ และกลุ่มครอบครัวในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
- เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และสร้างการมีส่วนร่วมของสังคมเพื่อขับเคลื่อน CODE ให้เป็นกฎหมาย