กิจกรรม

ไม่มีเนื้อหาที่จะแสดง
ขอเชิญร่วมงาน “พัฒนาการสมวัย สูงดี สมส่วน”
โดย soraya
09 พฤศจิกายน 2018
893
งาน “พัฒนาการสมวัย สูงดี สมส่วน” วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2561 ฝ่ายสื่อสารสาธารณะ ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย จะจัดงานพบปะ สร้างเครือข่ายแม่ช่วยแม่ ในงาน “พัฒนาการสมวัย สูงดี สมส่วน” ที่ โรงแรมแกรนด์ฮาวเวิร์ด ถนนเจริญราษฎร์ เวลา 9.00-16.00 น พบกับสูติแพทย์ และกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พูดคุยให้ความรู้ และตอบปัญหาเกี่ยวกับการเลี้ยงดูลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านพัฒนาการ และโภชนาการในเด็ก พูดคุยเพื่อสร้างความช่วยเหลือระหว่างแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แม่ที่มีจิตอาสา และครอบครัวนมแม่ต้นแบบ รับสมัครครอบครัวที่มีลูกเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ที่มีจิตอาสา ครอบครัวละ 2คน โดยส่งชื่อ นามสกุล จำนวนและอายุของลูก พร้อมเหตุผลสั้นๆ ว่า ทำไมจึงอยากมาร่วมงานนี้ มาทางเมลล์ tbcf2557@gmail.com  ภายในวันที่ 15 พ.ย. 61 ประกาศผลผู้ที่ได้เข้าร่วมงานทางเพจมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย วันที่ 19 พ.ย. 61 จำนวน 20 ครอบครัว  (โดยการคัดเลือกตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุดค่ะ) รีบสมัครกันเข้ามานะคะ..   **ดาวน์โหลดกำหนดการ ได้ที่นี่ Agenda 24 **ดาวน์โหลดแบบตอบรับ ร่วมงาน ได้ที่นี่ แบบตอบรับ ร่วมงาน  
แชร์ให้เพื่อน

ขอเชิญร่วมงาน “พัฒนาการสมวัย สูงดี สมส่วน”

[seed_social]
[seed_social]
ประกาศรายชื่อครอบครัวที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นครอบครัวนมแม่ต้นแบบ งานสื่อสาธารณะ
โดย soraya
18 กรกฎาคม 2018
748
  ประกาศรายชื่อครอบครัวที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น \"ครอบครัวนมแม่ต้นแบบ\"จำนวน 20 ครอบครัว เพื่อรับโล่ภายในงานสัปดาห์นมแม่โลก4สิงหาคม2561   [pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/07/ประกาศผลหนูน้อย.pdf\"] ขอแสดงความยินดีกับทุกครอบครัวที่ได้รับเลือกเป็น “ครอบครัวนมแม่ต้นแบบ” ในปีนี้ ซึ่งเป็นการจัดขึ้นเป็นปีแรก โดยความร่วมมือระหว่าง มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย IHPP สถาบันพัฒนาอนามัยเด็ก และ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ค่ะ จากใบสมัคร 290 คน อายุ ตั้งแต่ 1ปี จนถึง 5 ปี คัดเลือกเบื้องต้นตามเกณฑ์น้ำหนัก และส่วนสูง เข้ามาพร้อมได้รับการสัมภาษณ์ จำนวน 127 คน ในวันที่ 23 มิถุนายน 2561 ในวันสัมภาษณ์ ทุกครอบครัวเตรียมตัวมาพร้อม ด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส คุณแม่ทุกคนมีความภาคภูมิใจที่ได้ให้นมแม่ได้สำเร็จเป็นระยะเวลาเกิน 1 ปี ขึ้นไป เราสัมผัสได้ถึง ความสุข ความยินดี ความกระตือรือล้น ที่เปล่งออกมาจาก สีหน้า แววตา ของ คุณพ่อ คุณแม่ คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย ที่อุ้มลูกจูงหลานมาให้สัมภาษณ์ และ ประเมินพัฒนาการ ตามนัดหมาย เป็นวันที่ทุกคนมีความสุขมากค่ะ เด็กๆ หลายคน พอมาเจอเพื่อนๆ ได้มานั่งเล่นด้วยกัน ถึงกับไม่ยอมกลับบ้านก็มี กรรมการทุกๆท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ที่อยู่ในแวดวงการทำงานเกี่ยวกับ แม่และเด็กมาเป็นเวลานาน ถึงกับเอ่ยปากแสดงความหนักใจ เมื่อต้องตัดสินใจเลือกครอบครัวที่จะได้รับรางวัล เพราะ อยากจะให้รางวัลกับทุกๆ ครอบครัวค่ะ แต่ละคน แต่ละครอบครัว ก็มีแนวในการเลี้ยงดู ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง โดย มีการให้นมแม่เป็นรากฐาน ต่อยอด ด้วยการให้อาหารตามวัย และการส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อให้เด็กๆ เติบโตได้ตามศักยภาพของตนเอง ทุกครอบครัว คือ ครอบครัวนมแม่ต้นแบบสำหรับ สังคมที่แวดล้อมตัวเราได้ดูเป็นแบบอย่างค่ะ ทั้งในหมู่บ้าน ที่ทำงาน หรือโรงเรียน ให้ผู้คนที่อยู่รอบตัวเราได้รับรู้ว่า การให้นมแม่ มีผลดีต่อลูกอย่างไรบ้าง เป็นแรงบันดาลใจ ให้เกิดครอบครัวนมแม่เพิ่มมากขึ้นอีกเป็นทวีคูณ ทั้ง 20 ครอบครัวนมแม่ต้นแบบ ที่ได้รับรางวัลในปีนี้ คือ ตัวแทนของ \"ครอบครัวนมแม่ต้นแบบทุกๆครอบครัว\" ที่ได้ร่วมกิจกรรมในปีนี้นะคะ เราคือครอบครัวเดียวกัน และจะมาพบกันอีกในงานสัปดาห์นมแม่โลก ช่วงบ่ายวันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม 2561 ที่ ห้องอเนกประสงค์ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ค่ะ ขอเชิญทุกๆครอบครัวค่ะ เขียน โดย แพทย์หญิง ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล  
แชร์ให้เพื่อน

ประกาศรายชื่อครอบครัวที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นครอบครัวนมแม่ต้นแบบ

[seed_social]
[seed_social]
รายชื่อผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ครอบครัวนมแม่ต้นแบบ งานสื่อสาธารณะ
โดย soraya
20 มิถุนายน 2018
692
รายชื่อผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ครอบครัวนมแม่ต้นแบบ วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน 2561 เวลา 08.30 – 17.30 น. ณ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ค่ะ [pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/06/รายชื่อผู้มาสัมภาษณ์วันที่-23มิ.ย.61-รุ่น-A.pdf\" title=\"รายชื่อผู้มาสัมภาษณ์วันที่ 23มิ.ย.61 รุ่น A\"] [pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/06/รายชื่อผู้มาสัมภาษณ์วันที่-23มิ.ย.61-รุ่น-B.pdf\" title=\"รายชื่อผู้มาสัมภาษณ์วันที่ 23มิ.ย.61 รุ่น B\"] [pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/06/ระบบการสัมภาษณ์-_revise.pdf\" title=\"ระบบการสัมภาษณ์ _revise\"]   [pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/06/ประกาศ.pdf\"]   วิธีการเข้ารับการสัมภาษณ์ 1.ตรวจสอบตารางเวลาการเข้ารับการสัมภาษณ์ (ใบ A1 ตารางนัดสัมภาษณ์) และลงทะเบียนตามเวลาที่แจ้งกรุณาเดินทางมาถึงจุดลงทะเบียนก่อนเวลานัด 15 นาที 2.กรุณาพาหนูน้อยนมแม่ที่สมัคร ชั่งน้ำหนัก – วัดส่วนสูง ณ จุดลงทะเบียน และประเมินพัฒนาการ พร้อมเข้ารับการสัมภาษณ์พร้อมกับคุณแม่ ในกรณีที่คุณพ่อ หรือ ญาติผู้ดูแล ไม่สามารถติดตามมาได้ คุณแม่สามารถเดินทางมาพร้อมกับบุตรได้ 3.กรณีที่ผู้ปกครองไม่สามารถเดินทางมาสัมภาษณ์ตามที่นัดหมาย กรุณาโทรแจ้งทีมเลขาฯ มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์เข้ารับการสัมภาษณ์ สิ่งที่ต้องการเตรียมมาในวันสัมภาษณ์ 1.รายงานสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก 2.ปากกา 3.อาหารสำหรับเด็กกรุณาจัดเตรียมมาเอง อาหารสำหรับผู้ปกครอง มีจำหน่ายที่ห้องอาหาร ชั้น 1 สสส. ผังการเข้ารับการสัมภาษณ์  1.ห้อง 319 ลงทะเบียน l รับบัตรคิว l รายงานสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก l วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก l ถ่ายรูปครอบครัว 2.ห้อง 320 ห้องกรอกแบบทดสอบ 3. ห้อง 321 ห้องอำนวยการ 4.ห้อง 413 ชั้น 4 ห้องประเมินพัฒนาการ รุ่น A 5. ห้องอาศรม ชั้น 3 ห้องประเมินพัฒนาการ รุ่น B 6.ห้อง 501 ชั้น 5 ห้องสัมภาษณ์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 081-831-2264, 081-831-2202
แชร์ให้เพื่อน

รายชื่อผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ครอบครัวนมแม่ต้นแบบ

[seed_social]
[seed_social]
“มุมนมแม่” ในสถานประกอบการ เครือข่ายสถานประกอบการ
โดย Admin
26 สิงหาคม 2017
2668
เชื่อมสายใยรักแห่งครอบครัว ด้วย “มุมนมแม่” ในสถานประกอบการ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ เสด็จทอดพระเนตรการดำเนินงาน  \"มุมนมแม่\" ของ บริษัท สยาม เด็นโซ่ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ที่จัดทำขึ้นเพื่อสนองพระปณิธาน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร ที่ทรงมุ่งหวังให้สถาบันครอบครัวในสังคมไทยเกิดความรักและความอบอุ่น โดยให้มีการดูแลสตรีมีคุณภาพตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ คลอดบุตร และการเลี้ยงดูเด็กอย่างถูกต้อง โดยเริ่มต้นจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  และสนับสนุนให้สถานที่ทำงานจัดปัจจัยที่เอื้อให้พนักงานเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างต่อเนื่อง โดยการจัดมุมนมแม่ และทรงดำริให้ มุมนมแม่ คือหนึ่งในกิจกรรมสายใยรักแห่งครอบครัว                ตลอดระยะเวลา 7 ปี ของการดำเนินงาน “มุมนมแม่สานสายใยรักแห่งครอบครัว” บริษัท สยาม เด็นโซ่ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ได้ส่งเสริมสนับสนุน กิจกรรมต่างๆ  อาทิ การเตรียมความพร้อมเป็นคุณแม่ การอบรมให้ความรู้เรื่องนมแม่แก่พนักงานตั้งครรภ์  ตรวจเต้านมและตรวจครรภ์โดยพยาบาลประจำบริษัท   กิจกรรมพี่สอนน้อง กิจกรรมโภชนาการสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ จัดเมนูบำรุงน้ำนม ในโรงอาหาร  กิจกรรมเยี่ยมแม่หลังคลอด กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน เป็นการสนับสนุนช่วยเหลือกันภายในกลุ่ม  เช่น การแบ่งปันนม แบ่งปันสมุนไพร การช่วยเมื่อเกิดอุทกภัย เพื่อสร้างขวัญกำลังใจ และความสัมพันธ์อันดีภายในกลุ่มคุณแม่                โครงการมุมนมแม่ จัดขึ้นตั้งแต่ปี2550 โดยจัดสรรพื้นห้องพยาบาลให้มีความพร้อม ในด้านอุปกรณ์ในการบีบน้ำนม เช่น ถุงเก็บน้ำนมแม่ เครื่องบีบนม และตู้แช่น้ำนมไว้ให้พนักงาน นอกจากนี้ยังมีพยาบาลให้คำแนะนำคุณแม่ที่มารับบริการตลอดเวลา                กิจกรรมที่โดดเด่นมุ่งเน้นการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของบริษัทฯ คือ “กิจกรรมส่งนมกลับต่างจังหวัด” โดยรถยนต์ของบริษัทฯ ซึ่งแนวทางการสนับสนุนและส่งเสริมนี้จะช่วยให้บุตรของพนักงานที่ต้องกลับมาทำงานเมื่อครบกำหนดการลาคลอด สามารถได้รับน้ำนมแม่อย่างต่อเนื่องจนครบ 6เดือน หรือมากกว่านั้น ที่สอดคล้องกับพระดำริของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ที่ทรงสนับสนุนให้แม่ทำงานมีโอกาสเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ต่อเนื่อง                สำหรับผลการดำเนินงาน  “มุมนมแม่สานสายใยรักแห่งครอบครัว” ปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกใช้บริการมุมนมแม่  127 คน พนักงานทุกคนเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นานกว่า 6 เดือน คิดเป็น 100 % ของจำนวนพนักงานที่มาใช้บริการ และในจำนวนดังกล่าวฯ มีพนักงานที่ให้นมแม่มากกว่า  1 ปี  ถึง 18 คน  โดยบริษัทมีพนักงานตั้งครรภ์ คิดเป็นร้อยละ 8.35  ของพนักงานวัยเจริญพันธุ์ทั้งหมด  1,809 คน และได้กำหนดเป้าหมายในปี 2558 บริษัทจะส่งเสริมให้พนักงานเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และให้นมแม่พร้อมอาหารตามวัย ถึง 2 ขวบ หรือมากกว่านั้น ทุกๆคน                  ผลจากการดำเนินงานดังกล่าวฯ ทำให้ บริษัท สยาม เด็นโซ่ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ได้รับประทานโล่ “มุมนมแม่ต้นแบบในสถานประกอบกิจการ” จาก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และยังคงดำเนินการโครงการดังกล่าวต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน นายยูคิฮิโระ คาโต้  ประธานบริษัท สยามเด็นโซ่ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด กล่าวถึง เป้าหมายการจัดโครงการมุมนมแม่สานสายใยรักแห่งครอบครัวว่า เพื่อเป็นการคลายความทุกข์ ความกังวลใจของพนักงานที่เป็นแม่ทุกคนที่ต้องมาทำงานทุกวัน ทำให้ไม่สามารถอยู่ดูแลให้นมลูกน้อยได้ตลอดเวลา “บริษัทฯ จึงได้จัดสร้างมุมนมแม่ขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้พนักงานได้ทำหน้าที่แม่ที่ดีได้ คือสามารถมาปั้มนมบีบเก็บ นำกลับไปให้ลูกได้  และยังมุ่งหวังให้เด็กๆ เจริญเติบโตแข็งแรง จากการได้ดื่มนมแม่ มีอนาคตที่สดใจ และบริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะรักษามุมนมแม่สานสายใยรักแห่งครอบครัวไว้ เพื่อให้พนักงานที่อยู่ในช่วงให้นมบุตรทุกคนได้ใช้ตลอดไป”  นายยูคิฮิโระกล่าว                 เมื่อวันอังคารที่ 28มกราคม ที่ผ่านมา พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จทอดพระเนตรการดำเนินงาน “มุมนมแม่สานสายใยรักแห่งครอบครัว” ของ บริษัท สยาม เด็นโซ่ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ผู้ผลิตหัวฉีดจ่ายน้ำมัน เชื้อเพลิง แห่งแรกของประเทศไทย ณ อาคารสำนักงาน บริษัท สยาม เด็นโซ่ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่พนักงานหญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และที่กำลังวางแผนจะมีบุตรในอนาคต ให้สามารถเลี้ยงลูกได้อย่างต่อเนื่อง อันจะนำไปสู่ความมั่นคงเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวไทย                               ตามนโยบายด้านอาชีวะอนามัย  และความตระหนักถึงความสำคัญของ “นมแม่” พร้อมเล็งเห็นถึงความไม่สะดวกในการบีบเก็บน้ำนมของกลุ่มพนักงานหญิงหลังคลอดบุตร ซึ่ง “มุมนมแม่” ของ บริษัทฯ ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรม Happy Family ภายใต้ โครงการ Happy work place ที่บูรณาการกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และยึดถือเป็นสวัสดิการแก่พนักงานทุกคนในบริษัท โดยได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย และ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน                ด้านตัวแทนพนักงานเข้าร่วมโครงการ นางสาวมนัสชนก ใสกุล ได้กล่าวถึงความรู้สึกต่อ การเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมของตนเองว่า มีภาคภูมิใจที่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นานถึง 3 ปี  นางสาวมะลิ คำชาวนา ที่สามารถกระตุ้นน้ำนมได้มากขึ้นโดยใช้สมุนไพร และนำมาบอกต่อกับเพื่อนๆ นางสาวรจนา ศรีสม ที่กล่าวว่าน้ำนมแม่ช่วยสร้างภูมิต้านทานให้ลูกได้มีสุขภาพแข็งแรง นางสาววรรณวิสา วราวุฒิ ที่ถึงแม้ว่าจะมีปัญหาด้านเต้านม แต่เมื่อมีความตั้งใจ ทุกคนก็สามารถที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จ                ทางด้าน แพทย์หญิงยุพยง แห่งเชาวนิช เลขาธิการมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่า มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย  และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ร่วมกันส่งเสริมให้มีการจัดตั้งมุมนมแม่ในสถานประกอบกิจการแล้วจำนวน 1025 แห่งทั่วประเทศ และมีเป้าหมายขยายเพิ่มอีก 106 แห่ง ภายในปี 2557 จึงขอเชิญชวนสถานประกอบกิจการที่มีลักษณะ “เป็นสำนักงาน” หรือ “โรงงาน” เข้าร่วม โครงการจัดตั้งมุมนมแม่ ในปัจจุบันมีพนักงาน มีความสนใจที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น แต่ยังขาดการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม ทางมูลนิธิศูนย์นมแม่ฯ มีความยินดีให้คำแนะนำและสนับสนุนชุดสื่อความรู้การจัดตั้งมุมนมแม่ในที่ทำงาน  
แชร์ให้เพื่อน

“มุมนมแม่” ในสถานประกอบการ

[seed_social]
[seed_social]
ที่มา Milk Code พรบ.ควบคุม
โดย soraya
04 ธันวาคม 2017
2528
1.ทำไม ร่างพ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กครอบคลุมผลิตภัณฑ์ถึงอายุ 3 ปี   WHO แนะนำให้เด็กทุกคนกินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และให้นมแม่ต่อเนื่องควบคู่กับอาหารตามวัยถึง 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามหลักการขององค์การอนามัยโลกที่แนะนำให้เด็กได้กินนมแม่อย่างเดียวถึงอายุ 6 เดือนและกินนมแม่ต่อเนื่องควบคู่กับอาหารตามวัยจนถึงอายุ 2 ปีหรือนานกว่านั้น เนื่องมาจากผลการศึกษาวิจัยจำนวนมากทั่วโลกที่พบว่าการให้เด็กกินนมแม่ต่อเนื่องยิ่งนานยิ่งมีประโยชน์ต่อตัวแม่และเด็กทั้งในด้านสุขภาพ ความสำเร็จทางการศึกษา เศรษฐกิจและสังคม (ผลการวิจัยตีพิมพ์ใน Lancet series) ตามความเป็นจริงคือ เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไปจำเป็นต้องได้กินนมและได้รับอาหารตามวัยที่เหมาะสมซึ่งอาหารตามวัยหมายถึงอาหารมื้อหลักเช่นข้าวบดตับบดไข่บดเป็นต้นนมผสมไม่ได้เป็นอาหารตามวัยแต่นมผสมคือนมที่นำมาใช้ทดแทนนมแม่หากแม่ยังสามารถให้นมลูกต่อเนื่องได้ แม่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้นมผสมจนถึงอายุอย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป ดังนั้น การให้ความเห็นว่านมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดของทารกตั้งแต่แรกเกิดถึงหนึ่งปีเท่านั้น จึงเป็นการบิดเบือนคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกให้เกิดความสับสนว่าเด็กควรกินนมแม่ถึงแค่อายุ 1 ปี หลักเกณฑ์สากลว่าด้วยการตลาดอาหารทดแทนนมแม่ ครอบคลุมผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กอายุถึง 3 ปี สมัชชาอนามัยโลก (World Health Assembly) และประเทศสมาชิก ได้มีมติรับรองหลักเกณฑ์สากลว่าด้วยการตลาดอาหารทดแทนนมแม่ (International Code of Marketing of Breast Milk Substitutes หรือ Code) ตั้งแต่พ.ศ.2524 และมีมติเพิ่มเติมในปีต่อๆ มาเป็นลำดับ ที่ผ่านมา บริษัทผู้ผลิตมักโต้แย้งว่า อาหารทดแทนนมแม่ (Breastmilk Substitutes - BMS) หมายถึง นมที่ใช้สำหรับเด็กแรกเกิดถึง 6 เดือนเท่านั้น และใช้โอกาสนี้ในการทำการส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์นมของเด็กอายุ1 ปีขึ้นไป แต่ล่าสุด ในที่ประชุมสมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 69 (WHA 69th, 2016) องค์การอนามัยโลกได้จัดทำ Guidance on ending inappropriate promotion of food for infants and young children (เอกสารแนบ 1) เพื่อเป็นแนวทางให้ประเทศสมาชิกมีความเข้าใจตรงกันในเรื่องของ การส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กที่ไม่เหมาะสม ซึ่งใน guidance ดังกล่าว ในข้อแนะนำที่ 2 อธิบายไว้ชัดเจนว่า BMS ให้หมายถึงอาหารหรือนมใดๆที่ทำการส่งเสริมการตลาดสำหรับเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 3 ปี และเมื่อประเทศต่างๆออกกฎหมายเพื่อบังคับใช้หลักเกณฑ์สากลว่าด้วยการตลาดอาหารทดแทนนมแม่ ก็ให้หมายความครอบคลุมผลิตภัณฑ์ถึง 3 ปี ดังนั้น การตีความหลักเกณฑ์ของ WHO ว่าใช้ควบคุมการตลาดเฉพาะกับอาหารและผลิตภัณฑ์ของทารก 1 ปีเท่านั้น จึงเป็นการตีความที่ไม่ถูกต้องตามความเข้าใจสากลที่ได้รับการยอมรับจากประเทศต่างๆ และจากองค์การระหว่างประเทศ ทารกและเด็กเล็กเป็นกลุ่มเปราะบางต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองสิทธิ สินค้าทุกชนิดจำเป็นต้องมีมาตรฐานควบคุมการโฆษณาและส่งเสริมการตลาดเพื่อป้องกันการโฆษณาชวนเชื่อและหลอกลวงประชาชนถึงคุณสมบัติสรรพคุณที่เกินจริงทารกและเด็กเล็กซึ่งเป็นประชากรกลุ่มวัยที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นช่วงที่สร้างพื้นฐานของชีวิตในระยะยาวทั้งร่างกายและสมองแต่กลับเป็นกลุ่มที่เปราะบางช่วยเหลือและตัดสินใจเลือกอาหารเองไม่ได้ นมผสมซึ่งเป็นสินค้าที่ถูกนำมาใช้เป็นอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กโดยพ่อแม่และครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวที่ลูกไม่ได้กินนมแม่ จำเป็นต้องถูกควบคุมเรื่องการโฆษณาและส่งเสริมการตลาดอย่างรัดกุมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอวดอ้างสรรพคุณทางโภชนาการและสุขภาพเพื่อจูงใจให้พ่อแม่และครอบครัวเกิดการใช้โดยไม่จำเป็นหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนั้นการควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารก (แรกเกิด- 12 เดือน)เท่านั้น อาจไม่เพียงพอในการปกป้องเด็กเล็กซึ่งเป็นประชากรในวัยเปราะบางเช่นกัน การส่งเสริมการตลาดแบบข้ามชนิด การอนุญาตให้ทำการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับเด็กเล็ก จะส่งผลให้เกิดการส่งเสริมการตลาดแบบข้ามชนิด (cross promotion) หมายถึง เมื่อมารดาและครอบครัวได้เห็นการโฆษณาและส่งเสริมการใช้อาหารสำหรับเด็กเล็กจะทำให้เกิดการเชื่อมโยงไปสู่อาหารสำหรับทารก เนื่องจาก ชื่อ ตราและสัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กทั้งสองกลุ่มมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ดังนั้นการควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกเท่านั้นเป็นวิธีการที่ขาดประสิทธิภาพและเปิดช่องโหว่ให้มีการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กได้   ร่างพ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง   ร่างพ.ร.บ.ฯ ฉบับนี้ ครอบคลุมผลิตภัณฑ์เหล่านี้ นมดัดแปลงสำหรับทารก นมดัดแปลงสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก อาหารสำหรับทารก อาหารสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก อาหารเสริมสำหรับทารกและเด็กเล็ก อาหารที่มีจุดมุ่งหมายในการเลี้ยงทารกและเด็กเล็กอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด   ทำไมห้ามโฆษณาทุกช่องทาง การโฆษณาเป็นการส่งเสริมการตลาดที่พบเห็นได้มากที่สุด และมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของแม่ในการเลี้ยงลูกนมผสมเช่นเดียวกัน (นงนุช, 2558) ใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ขอบเขตของการโฆษณา คือ การใช้สื่อสาธารณะที่ประชาชนทั่วไปทั้งที่ต้องการหรือไม่ต้องการได้เห็น หรือทราบข้อความได้เห็น ได้รับทราบ โดยมุ่งประโยชน์ทางการค้า สื่อสาธารณะ ประกอบด้วยโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์อื่นใด สื่ออิเลกทรอนิกส์ หรือสื่อสาธารณะอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ ทั้งนี้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ไม่รวมกรณีที่หญิงตั้งครรภ์ หรือแม่ที่มีลูกอายุต่ำกว่า3 ปี ได้โทรติดต่อไปหาบริษัทด้วยตนเอง หรือค้นหาความรู้การให้นมจากหน้าเว็ปของบริษัท รับทราบผลิตภัณฑ์ซึ่งโฆษณาได้ตามฉลากและไม่รวมกรณีที่แม่คนหนึ่งได้แนะนำให้แม่อีกคนหนึ่งใช้ผลิตภัณฑ์โดยไม่มีประโยชน์ทางการค้า   พ.ร.บ. ปิดกั้นการให้ข้อมูลประชาชนจริงหรือไม่ หลักเกณฑ์สากลฯ และร่างพ.ร.บ.ฯ ไม่ได้ห้ามบริษัทให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ กับบุคลากรทางการแพทย์และแม่ ครอบครัวและประชาชนทั่วไป เพียงแต่การให้ข้อมูลของบริษัทฯ จะต้องเป็นข้อความเดียวกับข้อความที่ปรากฎในฉลากที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับคณะกรรมการอาหารและยาเท่านั้น รวมถึงไม่สามารถกล่าวอ้างสรรพคุณทางโภชนาการและสุขภาพ นอกจากนี้การหากบริษัทฯ จะให้ข้อมูลกับบุคลากรทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องกล่าวอ้างสรรพคุณของผลิตภัณฑ์จะต้องมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ   พ.ร.บ.มีผลกระทบทางเศรษฐกิจหรือไม่ พ.ร.บ. ฉบับนี้ไม่กระทบต่อการพัฒนาองค์ความรู้ของประเทศ ไม่มีเนื้อหาใดจำกัดสิทธิการทำวิจัยและการศึกษาของบุคลากรทางการแพทย์ ที่สำคัญไม่ขัดกับหลักเศรษฐกิจและการค้าเสรี เนื่องจากประเทศไทยไม่ใช่ประเทศแรกที่นำหลักการของ WHO มาออกเป็นกฎหมาย มีมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลกที่ได้ผลักดัน CODE เป็นกฎหมายสำเร็จ และไม่มีประเทศใดถูกฟ้องร้องว่ากฎหมายฉบับนี้ละเมิดหลักการค้าเสรี นอกจากนี้ จากบทนำ องค์การการค้าโลก (World Trade Organization) กล่าวว่า การค้าควรมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน และการค้าเสรีไม่ควรเป็นเป้าหมายในตัวของมันเอง หลักปฏิบัติสำคัญขององค์การการค้าโลก ได้แก่ Most favored nation - จะต้องปฏิบัติต่อสินค้านำเข้าจากทุกประเทศสมาชิกอย่างเท่าเทียมกัน National treatment - จะต้องปฏิบัติต่อสินค้าที่นำเข้าและสินค้าจากประเทศของตนอย่างเท่าเทียมกัน Health exception– ประเทศสมาชิกมีสิทธิอันชอบทำในการกำหนดข้อบังคับเพื่อคุ้มครองสุขภาพของประชาชน รัฐสามารถกำหนดระดับความเหมาะสมของข้อบังคับโดยมีพื้นฐานจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ มาตรฐานสากล แนวทางปฏิบัติ และคำแนะนำต่างๆเพื่อบรรลุเป้าหมายทางสุขภาพ เมื่อพิจารณาถึงหลักปฏิบัติที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่าการควบคุมการส่งเสริมการตลาดของอาหารทารกและเด็กเล็ก สามารถทำได้โดยไม่ขัดต่อหลักการค้าเสรีของ WTO เพราะมาตรการต่างๆในหลักเกณฑ์สากลฯ มีผลต่อผลิตภัณฑ์จากทุกประเทศทุกบริษัทอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีการปฏิบัติต่อสินค้านำเข้าและสินค้าในประเทศอย่างแตกต่างกัน   พ.ร.บ.มีผลกระทบต่อการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขหรือไม่ ร่างพระราชบัญญัตินี้ไม่ได้ส่งผลกระทบแง่ลบแก่บุคลากรสาธารณสุขแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกลับช่วยป้องกันบุคลากรสาธารณสุขให้ปราศจากการมีผลประโยชน์ทับซ้อนและการเป็นสื่อบุคคลให้กับภาคธุรกิจด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนี้ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขสามารถได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่ายอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กได้ โดยต้องเป็นข้อมูลที่เป็นจริงและมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ เพื่อสร้างความมั่นใจว่า บุคลากรจะมีข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อประกอบการตัดสินใจและให้คำแนะนำแม่และครอบครัวเพื่อเลือกใช้อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กในกรณีที่จำเป็น ร่างพระราชบัญญัติห้ามผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่ายให้ของขวัญ หรือสิ่งจูงใจแก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อป้องกันการสร้างสายสัมพันธ์และการสร้างอำนาจต่อรองแก่บุคลากร เพื่อให้ตอบแทนโดยการเป็นสื่อบุคคลให้กับผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก ทั้งนี้เพราะบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเป็นบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจและความเชื่อถือจากแม่และครอบครัว ดังนั้นจึงควรวางตัวให้เหมาะสมและให้คำแนะนำแม่และครอบครัวบนพื้นฐานของข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริงปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อน ร่างพระราชบัญญัติอนุญาตให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้าและผู้จำหน่าย ที่ประสงค์จะมอบอุปกรณ์และสิ่งของให้แก่หน่วยบริการสาธารณสุขสามารถกระทำได้โดยต้องอุปกรณ์และสิ่งของนั้นต้องไม่มีชื่อ ตรา และสัญลักษณ์ที่เชื่อมโยงถึงผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการส่งเสริมการตลาดแฝงและการจดจำชื่อ ตราสัญลักษณ์ของแม่และครอบครัวเมื่อมารับบริการ ซึ่งผู้ผลิต ผู้นำเข้าและผู้จำหน่ายที่มีความประสงค์จะทำประโยชน์เพื่อสังคมโดยไม่หวังผลทางการค้าจะไม่ถูกขัดขวางโดยร่างพระราชบัญญัตินี้   การมี พ.ร.บ.จะช่วยให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้นหรือไม่ กลยุทธ์ที่จะช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ ส่งเสริม สนับสนุน และปกป้อง ปัจจุบันประเทศไทยมีการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ผ่านการรณรงค์ การให้ความรู้กับแม่และครอบครัว  สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ สนับสนุนการลาคลอด สนับสนุนมุมนมแม่ในสถานประกอบการ  แต่ประเทศไทยยังขาดกลยุทธ์ในการปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งการมีพ.ร.บ.เป็นกลยุทธ์การปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ดีที่สุด ดังนั้นเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการช่วยให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทั้ง 3 กลยุทธ์นี้จะต้องขับเคลื่อนไปพร้อมๆกัน จากรูปด้านล่างเป็นการเปรียบเทียบอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และ GDP per Capita และ Code status โดยจะสรุปได้ว่า เศรษฐสถานะกับอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน มีความผกผันกันกล่าวคือประเทศที่ยิ่งมีเศรษฐสถานะไม่ดี ยิ่งมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนสูง แต่การมีกฎหมายหรือมาตรการควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กที่เข้มข้น (full provision and many provision law) จะช่วยทำให้ผลของเศรษฐสถานะต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง (slope ของลดลง) ดังนั้น การมีกฎหมายหรือมาตรการจะช่วยทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้นในประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลาง พ.ร.บ.นี้มีความซ้ำซ้อนกับกฎหมายหรือประกาศของคณะกรรมการอาหารและยาหรือไม่ พ.ร.บ.นี้ไม่มีความซ้ำซ้อนหรือขัดแย้งกับกฎหมาย หรือประกาศของคณะกรรมการอาหารและยา เนื่องจากว่า พ.ร.บ.นี้จะควบคุมในเรื่องของ “การส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์” ไม่ใช่ “คุณลักษณะ คุณภาพของผลิตภัณฑ์” นอกจากนี้ พ.ร.บ.นี้ไม่ได้ควบคุมฉลากของผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะเป็นไปตามข้อกำหนดตามประกาศของคณะกรรมการอาหารและยา                           
แชร์ให้เพื่อน

ที่มา Milk Code

[seed_social]
[seed_social]
ทำไมต้องควบคุมการโฆษณานมผงทารกตั้งแต่ แรกเกิดถึง 3 ปี ? พรบ.ควบคุม
โดย soraya
12 ธันวาคม 2017
2495
ทำไมต้องควบคุมการโฆษณานมผงทารกตั้งแต่ แรกเกิดถึง 3 ปี ? พรบ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก ไม่ได้ห้ามการขายนมผง ไม่ได้บังคับว่าต้องกินนมแม่นานเท่านั้นเท่านี้ เพียงแต่ห้ามการโฆษณา และส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารก(อายุ แรกเกิดถึง 1 ปี )และเด็กเล็ก(อายุ 1-3 ปี) ซึ่งเป็นช่วงอายุที่อาหารมีความสำคัญมากสำหรับการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกาย สมองและสติปัญญา นมแม่เป็นอาหารหลักสำหรับทารกแรกเกิดถึง 6 เดือน หลังจากนั้น เมื่อทารกเริ่มกินอาหารเสริม ก็จะกินนมแม่ควบคู่ไปด้วยจนถึงอายุ 2 ปี หรือมากกว่านั้น ขึ้นกับครอบครัวตัดสินใจตามบริบทของแต่ละครอบครัว เด็กอายุ 1 ปีขึ้นไปที่กินอาหารหลัก 3 มื้อ ก็ยังคงกินนมแม่ร่วมด้วยได้ ดังนั้นนมที่จะให้หลังอายุ 1 ปี ก็ยังถือว่าเป็นนมทดแทนนมแม่อยู่ดี ถึงแม้ไม่ใช่อาหารหลักค่ะ การโฆษณานมที่ใช้ทดแทนนมแม่ไม่ว่าที่อายุใดๆ จึงมีผลกระทบต่อการตัดสินใจเริ่มหรือ เลิกนมแม่ จึงควรมีการควบคุม การห้ามโฆษณา อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก ในปัจจุบันนี้ ก็ห้ามโฆษณานมผงสำหรับเด็กอายุ ต่ำกว่า 1 ปี และให้โฆษณานมผงเด็กโตเกิน 1 ปีได้ และสิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร 1. โฆษณานมสำหรับเด็กอายุ เกิน1 ปี แต่คนดูไม่รู้ว่านี่สำหรับเด็กโตเกิน 1 ปี ดูแล้วเหมารวมว่า เด็กเล็กก็กินนมชนิดนี้ได้ ทั้งนี้ เพราะ ทั้งรูปแบบกล่อง กระป๋อง ภาพข้างกล่อง ข้างกระป๋อง แทบจะเหมือนกับนมเด็กแรกเกิด ถึง 1 ปี ทุกประการ การโฆษณา นมเด็กเกิน 1 ปี จึงเท่ากับโฆษณานมทารกแรกเกิดไปด้วย อย่างนี้ภาษาโฆษณา เขาเรียก ว่า Cross Promotion คือสินค้าคนละแบบกัน แบบหนึ่งโฆษณาได้ อีกแบบห้าม ก็ใช้โลโก้ให้เหมือนกันไปเสียเลย ไม่ผิดกฎหมาย( ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือเหล้าเบียร์ที่ห้ามโฆษณา แต่น้ำดื่มโฆษณาได้ ก็เอายีห้อเบียร์ มาเป็นยีห้อน้ำ ) เรื่องนมผงก็เช่นกันค่ะ ถ้าเราบอกว่าห้ามโฆษณานมเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี แต่เกิน 1 ปี โฆษณา ได้ คราวนี้ก็สบายค่ะ ใช้โลโก้เหมือนกันทั้งนมเด็กทารก และเด็กโต เลี่ยงกฎหมาย เราจึงต้องการให้ควบคุมการโฆษณา และส่งเสริมการตลาดถึงนมอายุ 3 ปีไปเลย ตัดปัญหาเรื่อง cross promotion นี้ 2. พ่อแม่ปู่ย่าตายาย ดูโฆษณานมผงเด็กโตเกิน 1 ปี ก็เข้าใจว่า เกิน 1 ปี ควรไปกินนมผงได้แล้ว จะได้แข็งแรง ฉลาดเหมือนเด็กในโฆษณา ก็จะไปกดดันให้แม่ที่ให้ลูกกินนมแม่ถึง 1 ปี ว่าเลิกได้แล้ว มากินนมผงเถอะ เด็กไทยแทนที่จะกินนมแม่กันได้นานๆ ก็จะได้นมแม่ลดน้อยลงไปอีก 3. พ่อแม่และครอบครัว พอเห็นลูกอายุเกิน 1ปี ไม่กินข้าว ก็จะไปซื้อนมผงเด็กโตที่โฆษณามาให้กิน ด้วยเข้าใจผิดว่าเป็นนมผงทดแทนมื้ออาหารได้ ( บางคนถึงกับบอกว่าลูกไม่กินอาหาร ก็ไปซื้อนมผงชนิดนั้นๆมากินสิ เขาทำสำหรับเด็กไม่เจริญอาหาร ) ในความเห็นของดิฉัน “การปกป้องนมแม่ ควรจะปกป้องเด็กทุกอายุที่ยังกินนมแม่อยู่ และปัจจุบันนี้มีเด็กนมแม่มากมายที่กินนมแม่กันนานถึง 3ปี เราจึงควรจะปกป้องพวกเขา ให้ได้น้ำนมแม่อันทรงคุณค่าได้นานที่สุดเท่าที่แม่ลูกแต่ละคู่ต้องการ โดยปราศจากการโฆษณา และส่งเสริมการตลาด ของอาหารทารกและเด็กเล็กค่ะ ” พญ. ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล
แชร์ให้เพื่อน

ทำไมต้องควบคุมการโฆษณานมผงทารกตั้งแต่ แรกเกิดถึง 3 ปี ?

[seed_social]
[seed_social]
รายการจุดชนวนความคิด ร่างพรบ.ควบคุมอาหารทารกและเด็กเล็ก คลิปข่าว TV
โดย Admin
26 สิงหาคม 2017
695
https://www.youtube.com/watch?v=lpgYKB78I08
แชร์ให้เพื่อน

รายการจุดชนวนความคิด ร่างพรบ.ควบคุมอาหารทารกและเด็กเล็ก

[seed_social]
[seed_social]
รายการนมแม่ ข้อท้าทายของสังคมไทย ตอน 4 คลิปข่าว TV
โดย Admin
26 สิงหาคม 2017
617
https://www.youtube.com/watch?v=aYnz-RwIH-0
แชร์ให้เพื่อน

รายการนมแม่ ข้อท้าทายของสังคมไทย ตอน 4

[seed_social]
[seed_social]
รายการนมแม่ ข้อท้าทายของสังคมไทย ตอน 3 คลิปข่าว TV
โดย Admin
26 สิงหาคม 2017
670
https://www.youtube.com/watch?v=miA6oGY9IYU
แชร์ให้เพื่อน

รายการนมแม่ ข้อท้าทายของสังคมไทย ตอน 3

[seed_social]
[seed_social]
ประกาศรายชื่อครอบครัวที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นครอบครัวนมแม่ต้นแบบ งานสื่อสาธารณะ
โดย soraya
18 กรกฎาคม 2018
748
  ประกาศรายชื่อครอบครัวที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น \"ครอบครัวนมแม่ต้นแบบ\"จำนวน 20 ครอบครัว เพื่อรับโล่ภายในงานสัปดาห์นมแม่โลก4สิงหาคม2561   [pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/07/ประกาศผลหนูน้อย.pdf\"] ขอแสดงความยินดีกับทุกครอบครัวที่ได้รับเลือกเป็น “ครอบครัวนมแม่ต้นแบบ” ในปีนี้ ซึ่งเป็นการจัดขึ้นเป็นปีแรก โดยความร่วมมือระหว่าง มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย IHPP สถาบันพัฒนาอนามัยเด็ก และ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ค่ะ จากใบสมัคร 290 คน อายุ ตั้งแต่ 1ปี จนถึง 5 ปี คัดเลือกเบื้องต้นตามเกณฑ์น้ำหนัก และส่วนสูง เข้ามาพร้อมได้รับการสัมภาษณ์ จำนวน 127 คน ในวันที่ 23 มิถุนายน 2561 ในวันสัมภาษณ์ ทุกครอบครัวเตรียมตัวมาพร้อม ด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส คุณแม่ทุกคนมีความภาคภูมิใจที่ได้ให้นมแม่ได้สำเร็จเป็นระยะเวลาเกิน 1 ปี ขึ้นไป เราสัมผัสได้ถึง ความสุข ความยินดี ความกระตือรือล้น ที่เปล่งออกมาจาก สีหน้า แววตา ของ คุณพ่อ คุณแม่ คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย ที่อุ้มลูกจูงหลานมาให้สัมภาษณ์ และ ประเมินพัฒนาการ ตามนัดหมาย เป็นวันที่ทุกคนมีความสุขมากค่ะ เด็กๆ หลายคน พอมาเจอเพื่อนๆ ได้มานั่งเล่นด้วยกัน ถึงกับไม่ยอมกลับบ้านก็มี กรรมการทุกๆท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ที่อยู่ในแวดวงการทำงานเกี่ยวกับ แม่และเด็กมาเป็นเวลานาน ถึงกับเอ่ยปากแสดงความหนักใจ เมื่อต้องตัดสินใจเลือกครอบครัวที่จะได้รับรางวัล เพราะ อยากจะให้รางวัลกับทุกๆ ครอบครัวค่ะ แต่ละคน แต่ละครอบครัว ก็มีแนวในการเลี้ยงดู ที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง โดย มีการให้นมแม่เป็นรากฐาน ต่อยอด ด้วยการให้อาหารตามวัย และการส่งเสริมพัฒนาการ เพื่อให้เด็กๆ เติบโตได้ตามศักยภาพของตนเอง ทุกครอบครัว คือ ครอบครัวนมแม่ต้นแบบสำหรับ สังคมที่แวดล้อมตัวเราได้ดูเป็นแบบอย่างค่ะ ทั้งในหมู่บ้าน ที่ทำงาน หรือโรงเรียน ให้ผู้คนที่อยู่รอบตัวเราได้รับรู้ว่า การให้นมแม่ มีผลดีต่อลูกอย่างไรบ้าง เป็นแรงบันดาลใจ ให้เกิดครอบครัวนมแม่เพิ่มมากขึ้นอีกเป็นทวีคูณ ทั้ง 20 ครอบครัวนมแม่ต้นแบบ ที่ได้รับรางวัลในปีนี้ คือ ตัวแทนของ \"ครอบครัวนมแม่ต้นแบบทุกๆครอบครัว\" ที่ได้ร่วมกิจกรรมในปีนี้นะคะ เราคือครอบครัวเดียวกัน และจะมาพบกันอีกในงานสัปดาห์นมแม่โลก ช่วงบ่ายวันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม 2561 ที่ ห้องอเนกประสงค์ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ค่ะ ขอเชิญทุกๆครอบครัวค่ะ เขียน โดย แพทย์หญิง ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล  
แชร์ให้เพื่อน

ประกาศรายชื่อครอบครัวที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นครอบครัวนมแม่ต้นแบบ

[seed_social]
[seed_social]
รายชื่อผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ครอบครัวนมแม่ต้นแบบ งานสื่อสาธารณะ
โดย soraya
20 มิถุนายน 2018
692
รายชื่อผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ครอบครัวนมแม่ต้นแบบ วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน 2561 เวลา 08.30 – 17.30 น. ณ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ค่ะ [pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/06/รายชื่อผู้มาสัมภาษณ์วันที่-23มิ.ย.61-รุ่น-A.pdf\" title=\"รายชื่อผู้มาสัมภาษณ์วันที่ 23มิ.ย.61 รุ่น A\"] [pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/06/รายชื่อผู้มาสัมภาษณ์วันที่-23มิ.ย.61-รุ่น-B.pdf\" title=\"รายชื่อผู้มาสัมภาษณ์วันที่ 23มิ.ย.61 รุ่น B\"] [pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/06/ระบบการสัมภาษณ์-_revise.pdf\" title=\"ระบบการสัมภาษณ์ _revise\"]   [pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/06/ประกาศ.pdf\"]   วิธีการเข้ารับการสัมภาษณ์ 1.ตรวจสอบตารางเวลาการเข้ารับการสัมภาษณ์ (ใบ A1 ตารางนัดสัมภาษณ์) และลงทะเบียนตามเวลาที่แจ้งกรุณาเดินทางมาถึงจุดลงทะเบียนก่อนเวลานัด 15 นาที 2.กรุณาพาหนูน้อยนมแม่ที่สมัคร ชั่งน้ำหนัก – วัดส่วนสูง ณ จุดลงทะเบียน และประเมินพัฒนาการ พร้อมเข้ารับการสัมภาษณ์พร้อมกับคุณแม่ ในกรณีที่คุณพ่อ หรือ ญาติผู้ดูแล ไม่สามารถติดตามมาได้ คุณแม่สามารถเดินทางมาพร้อมกับบุตรได้ 3.กรณีที่ผู้ปกครองไม่สามารถเดินทางมาสัมภาษณ์ตามที่นัดหมาย กรุณาโทรแจ้งทีมเลขาฯ มิฉะนั้นจะถือว่าสละสิทธิ์เข้ารับการสัมภาษณ์ สิ่งที่ต้องการเตรียมมาในวันสัมภาษณ์ 1.รายงานสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก 2.ปากกา 3.อาหารสำหรับเด็กกรุณาจัดเตรียมมาเอง อาหารสำหรับผู้ปกครอง มีจำหน่ายที่ห้องอาหาร ชั้น 1 สสส. ผังการเข้ารับการสัมภาษณ์  1.ห้อง 319 ลงทะเบียน l รับบัตรคิว l รายงานสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก l วัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก l ถ่ายรูปครอบครัว 2.ห้อง 320 ห้องกรอกแบบทดสอบ 3. ห้อง 321 ห้องอำนวยการ 4.ห้อง 413 ชั้น 4 ห้องประเมินพัฒนาการ รุ่น A 5. ห้องอาศรม ชั้น 3 ห้องประเมินพัฒนาการ รุ่น B 6.ห้อง 501 ชั้น 5 ห้องสัมภาษณ์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 081-831-2264, 081-831-2202
แชร์ให้เพื่อน

รายชื่อผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ครอบครัวนมแม่ต้นแบบ

[seed_social]
[seed_social]
ประกาศรายชื่อ ผู้ผ่านเกณฑ์รอบที่ 1 การสรรหาครอบครัวนมแม่ต้นแบบ งานสื่อสาธารณะ
โดย soraya
13 มิถุนายน 2018
688
ประกาศรายชื่อ ผู้ผ่านเกณฑ์รอบที่ 1 การสรรหาครอบครัวนมแม่ต้นแบบ [pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/06/รายชื่อผ่านเกณฑ์.pdf\"] ขอความกรุณา ส่งไฟล์ แบบตอบรับ มาที่ tbcf2557@gmail.com ภายในวันที่ 17 มิ.ย. 61 มิฉะนั้นถือว่าสละสิทธิ์การเข้ารับการสัมภาษณ์ รอบที่ 1 ประเมินน้ำหนัก/ส่วนสูง จากกราฟการเจริญเติบโต (ข้อมูลอ้างอิง สำนักโภชนาการ กรมอนามัย) ดาวน์โหลดแบบตอบรับการสัมภาษณ์ได้ด้านล่างนี้ (ไฟล์ PDF / word) แบบตอบรับการสัมภาษณ์   [pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/06/แบบตอบรับการสัมภาษณ์.pdf\"]   สิ่งที่ต้องการเตรียมมาในวันสัมภาษณ์ 1.รายงานสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก 2.อาหารสำหรับเด็กกรุณาจัดเตรียมมาเอง อาหารสำหรับผู้ปกครอง มีจำหน่ายที่ห้องอาหาร ชั้น 1 สสส. สัมภาษณ์หนูน้อยนมแม่และครอบครัวนมแม่ต้นแบบ เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ ห้องประชุม 319, 320, 321, 413, 501 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) หมายเหตุ : - ฝ่ายเลขานุการ จะแจ้งเวลา/ลำดับคิว ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ ในวันที่ 18 มิ.ย. 61 ผ่านอีเมล์ของท่านและทาง www.facebook.com/Thaibfและ กรุณาลงทะเบียนตามเวลาที่กำหนด - ขั้นตอนการลงทะเบียน การสัมภาษณ์ การประเมินพัฒนาการใช้เวลา ประมาณ 2 ชม./ครอบครัว เมื่อสัมภาษณ์เสร็จสิ้นสามารถกลับได้เลย
แชร์ให้เพื่อน

ประกาศรายชื่อ ผู้ผ่านเกณฑ์รอบที่ 1 การสรรหาครอบครัวนมแม่ต้นแบบ

[seed_social]
[seed_social]
ทำไมต้องควบคุมการโฆษณานมผงทารกตั้งแต่ แรกเกิดถึง 3 ปี ? พรบ.ควบคุม
โดย soraya
12 ธันวาคม 2017
2495
ทำไมต้องควบคุมการโฆษณานมผงทารกตั้งแต่ แรกเกิดถึง 3 ปี ? พรบ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก ไม่ได้ห้ามการขายนมผง ไม่ได้บังคับว่าต้องกินนมแม่นานเท่านั้นเท่านี้ เพียงแต่ห้ามการโฆษณา และส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารก(อายุ แรกเกิดถึง 1 ปี )และเด็กเล็ก(อายุ 1-3 ปี) ซึ่งเป็นช่วงอายุที่อาหารมีความสำคัญมากสำหรับการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกาย สมองและสติปัญญา นมแม่เป็นอาหารหลักสำหรับทารกแรกเกิดถึง 6 เดือน หลังจากนั้น เมื่อทารกเริ่มกินอาหารเสริม ก็จะกินนมแม่ควบคู่ไปด้วยจนถึงอายุ 2 ปี หรือมากกว่านั้น ขึ้นกับครอบครัวตัดสินใจตามบริบทของแต่ละครอบครัว เด็กอายุ 1 ปีขึ้นไปที่กินอาหารหลัก 3 มื้อ ก็ยังคงกินนมแม่ร่วมด้วยได้ ดังนั้นนมที่จะให้หลังอายุ 1 ปี ก็ยังถือว่าเป็นนมทดแทนนมแม่อยู่ดี ถึงแม้ไม่ใช่อาหารหลักค่ะ การโฆษณานมที่ใช้ทดแทนนมแม่ไม่ว่าที่อายุใดๆ จึงมีผลกระทบต่อการตัดสินใจเริ่มหรือ เลิกนมแม่ จึงควรมีการควบคุม การห้ามโฆษณา อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก ในปัจจุบันนี้ ก็ห้ามโฆษณานมผงสำหรับเด็กอายุ ต่ำกว่า 1 ปี และให้โฆษณานมผงเด็กโตเกิน 1 ปีได้ และสิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร 1. โฆษณานมสำหรับเด็กอายุ เกิน1 ปี แต่คนดูไม่รู้ว่านี่สำหรับเด็กโตเกิน 1 ปี ดูแล้วเหมารวมว่า เด็กเล็กก็กินนมชนิดนี้ได้ ทั้งนี้ เพราะ ทั้งรูปแบบกล่อง กระป๋อง ภาพข้างกล่อง ข้างกระป๋อง แทบจะเหมือนกับนมเด็กแรกเกิด ถึง 1 ปี ทุกประการ การโฆษณา นมเด็กเกิน 1 ปี จึงเท่ากับโฆษณานมทารกแรกเกิดไปด้วย อย่างนี้ภาษาโฆษณา เขาเรียก ว่า Cross Promotion คือสินค้าคนละแบบกัน แบบหนึ่งโฆษณาได้ อีกแบบห้าม ก็ใช้โลโก้ให้เหมือนกันไปเสียเลย ไม่ผิดกฎหมาย( ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือเหล้าเบียร์ที่ห้ามโฆษณา แต่น้ำดื่มโฆษณาได้ ก็เอายีห้อเบียร์ มาเป็นยีห้อน้ำ ) เรื่องนมผงก็เช่นกันค่ะ ถ้าเราบอกว่าห้ามโฆษณานมเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี แต่เกิน 1 ปี โฆษณา ได้ คราวนี้ก็สบายค่ะ ใช้โลโก้เหมือนกันทั้งนมเด็กทารก และเด็กโต เลี่ยงกฎหมาย เราจึงต้องการให้ควบคุมการโฆษณา และส่งเสริมการตลาดถึงนมอายุ 3 ปีไปเลย ตัดปัญหาเรื่อง cross promotion นี้ 2. พ่อแม่ปู่ย่าตายาย ดูโฆษณานมผงเด็กโตเกิน 1 ปี ก็เข้าใจว่า เกิน 1 ปี ควรไปกินนมผงได้แล้ว จะได้แข็งแรง ฉลาดเหมือนเด็กในโฆษณา ก็จะไปกดดันให้แม่ที่ให้ลูกกินนมแม่ถึง 1 ปี ว่าเลิกได้แล้ว มากินนมผงเถอะ เด็กไทยแทนที่จะกินนมแม่กันได้นานๆ ก็จะได้นมแม่ลดน้อยลงไปอีก 3. พ่อแม่และครอบครัว พอเห็นลูกอายุเกิน 1ปี ไม่กินข้าว ก็จะไปซื้อนมผงเด็กโตที่โฆษณามาให้กิน ด้วยเข้าใจผิดว่าเป็นนมผงทดแทนมื้ออาหารได้ ( บางคนถึงกับบอกว่าลูกไม่กินอาหาร ก็ไปซื้อนมผงชนิดนั้นๆมากินสิ เขาทำสำหรับเด็กไม่เจริญอาหาร ) ในความเห็นของดิฉัน “การปกป้องนมแม่ ควรจะปกป้องเด็กทุกอายุที่ยังกินนมแม่อยู่ และปัจจุบันนี้มีเด็กนมแม่มากมายที่กินนมแม่กันนานถึง 3ปี เราจึงควรจะปกป้องพวกเขา ให้ได้น้ำนมแม่อันทรงคุณค่าได้นานที่สุดเท่าที่แม่ลูกแต่ละคู่ต้องการ โดยปราศจากการโฆษณา และส่งเสริมการตลาด ของอาหารทารกและเด็กเล็กค่ะ ” พญ. ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล
แชร์ให้เพื่อน

ทำไมต้องควบคุมการโฆษณานมผงทารกตั้งแต่ แรกเกิดถึง 3 ปี ?

[seed_social]
[seed_social]
ยื่นเรื่องสนับสนุนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พรบ.ควบคุม
โดย soraya
12 ธันวาคม 2017
647
ยื่นเรื่องสนับสนุนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วันนี้(12ม.ค.60) เครือข่ายครอบครัวนมแม่ นำโดย พญ.ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล ตัวแทนคุณแม่ดารา คุณลอร่า คุณโน้ตคุณลิซ่า คุณแม่และเด็กเล็กกว่า 10 คน มายื่นเรื่องสนับสนุนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในการออกกฎหมายควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก ที่อาคารรัฐสภา เกิดเหตุระทึก เมื่อป้ายนิทรรศการขนาดใหญ่ล้มทับเครือข่ายครอบครัวนมแม่ ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 1 ราย ผู้บาดเจ็บท่านนั้นคือคุณรสา ที่เอามือไปรับบอร์ดเพื่อป้องกันไม่ให้ล้มทับเด็กที่อยู่โดยรอบบริเวณดังกล่าว แต่ด้วยน้ำหนักของบอร์ดที่มีขนาดใหญ่ทำให้รับน้ำหนักไม่ไหวบอร์ดจึงล้มลงมาทับ คุณแม่รสาเล่าว่า \'แว่บแรกที่คิดคือ ตรงนั้นเด็กๆอยู่ ทำไงให้โดนน้อยที่สุด เราเจ็บคงไม่เป็นไรมากแต่เด็กเล็กโดนล่ะ นึกไม่ออกว่าจะเจ็บมากแค่ไหนค่ะ คือ จิตวิญญาณความเป็นแม่มันสั่งการให้ทำค่ะ ลูกเคยป่วยอยู่ใน icu เกือบเสียชีวิต มันเจ็บปวดที่สุดแล้ว ที่เห็นลูกเจ็บ เลยตั้งแต่นั้นมา เซนซิเทฟตลอดเรื่องเด็กน้อย\' คุณรสา เป็นทั้งแม่ที่ช่วยปกป้องสิทธิลูกในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และปกป้องเด็กๆไม่ให้ได้รับภยันตราย คุณรสาข้อมือเจ็บจากรับแรงกระแทก แต่ขยับนิ้วได้หมด x-ray แล้ว ไม่แตก ไม่ร้าว ไม่หักค่ะ หมอให้ประคบเย็น ให้ยาทา และไทลินอล มาใช้เมื่อมีอาการปวดค่ะ ตอนนี้คุณรสาอาการดีขึ้นแล้ว ให้นมลูกได้ ส่งกำลังใจให้คุณรสากันนะคะ ขอบคุณเรื่องและภาพจากพี่นก คลินิกนมแม่นครปฐม,หนังสือพิมพ์คมชัดลึก,คุณหมอศิริพัฒนา  
แชร์ให้เพื่อน

ยื่นเรื่องสนับสนุนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

[seed_social]
[seed_social]
แถลงการณ์ร่วม #องค์การยูนิเซฟ และ #องค์การอนามัยโลก ยืนยันสนับสนุนร่างพรบ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กในประเทศไทย พรบ.ควบคุม
โดย soraya
12 ธันวาคม 2017
880
แถลงการณ์ร่วม #องค์การยูนิเซฟ และ #องค์การอนามัยโลก ยืนยันสนับสนุนร่างพรบ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กในประเทศไทย จากที่มีการรายงานข่าวเกี่ยวกับร่างพรบ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก ซึ่งกำลังได้รับการพิจารณาในสภานิติบัญญัติแห่งชาติอยู่ในขณะนี้ องค์การยูนิเซฟ และองค์การอนามัยโลกขอกล่าวย้ำดังนี้ การควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก อายุ 0-3 ปี เป็นมาตรฐานที่สากลยอมรับ และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์สากลว่าด้วยอาหารทดแทนนมแม่ โดยเมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา สมัชชาอนามัยโลกซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิกอยู่ด้วยนั้น ได้มีมติรับรอง แนวทางเพื่อหยุดการส่งเสริมอาหารทารกและเด็กเล็กอย่างไม่เหมาะสม ซึ่งได้ระบุชัดเจนว่า ไม่ควรมีการส่งเสริมการตลาดของอาหารทดแทนนมแม่ สำหรับทารกและเด็กเล็กอายุถึง 36 เดือน 2. หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ทั่วโลกที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นชัดเจนมาก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นหนึ่งในวิธีสำคัญที่พ่อแม่จะป้องกันภาวะเตี้ยแคระแกร็นในเด็กได้ ตลอดจนเป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาและด้านร่างกายของเด็ก นอกจากนี้ วารสารทางการแพทย์ The Lancet (2559) ยังแสดงให้เห็นว่า นมแม่มีความสัมพันธ์กับสติปัญญา (ไอคิว) ที่สูงขึ้นในเด็กและวัยรุ่น และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ของแม่อีกด้วย ปัจจุบันอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนในประเทศไทยอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก และต่ำที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่การส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์อาหารทดแทนนมแม่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายและดุเดือด ดังนั้น การออกกฎหมายควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งและเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สุด ในขณะที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติกำลังพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้อยู่นั้น องค์การยูนิเซฟและองค์การอนามัยโลก จึงขอยืนยันจุดยืนในการสนับสนุนร่างพรบ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กในประเทศไทย Joint Statement #UNICEF and #WHO fully support proposed legislation on the control of Marketing of Breastmilk Substitutes in Thailand In response to recent media reports on the proposed legislation on the control of Marketing of Breastmilk Substitutes (BMS) in Thailand, currently under consideration by the National Legislative Assembly, UNICEF and WHO would like to reiterate the following: Regulation of marketing of#breastmilksubstitutes for children aged 0-3 years is the internationally accepted standard and is fully in line with the International Code of Marketing of Breastmilk Substitutes. The Guidance on Ending the Inappropriate Promotion of Foods for Infants and Young Children, adopted by the World Health Assembly (WHA) – of which Thailand is a member – in May 2016, clearly states that marketing should not take place for breastmilk substitutes for children up to the age of three years. 2. The global scientific evidence to support #breastfeeding is clear and decisive. Breastfeeding is one of the most important and effective things that parents can do to prevent stunting, and promote the physical and cognitive development of their children. According to the recent findings of the Lancet (2016), breastfeeding is also consistently associated with higher levels of performance in intelligence tests among children and adolescents. Additionally, breastfeeding lowers the risk of breast cancer and ovarian cancer among mothers. The rate of exclusive breastfeeding in Thailand is below the global average and the lowest in the South-East Asia Region, while aggressive marketing of breastmilk substitutes to mothers and families is widespread. The introduction of the BMS code into law is becoming ever more urgent. UNICEF and WHO reiterate their strong support the introduction of the draft “Control of Marketing of Food for Infant and Young Children Act” currently under consideration by the National Legislative Assembly. CR:Unicef thailand  
แชร์ให้เพื่อน

แถลงการณ์ร่วม #องค์การยูนิเซฟ และ #องค์การอนามัยโลก ยืนยันสนับสนุนร่างพรบ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กในประเทศไทย

[seed_social]
[seed_social]
การประชุมเครือข่ายสถาบันผลิตแพทย์ ภาคเหนือ สถาบันผลิตแพทย์
โดย soraya
05 มกราคม 2018
828
  การประชุมเชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถาบันผลิตแพทย์ วันพฤหัสบดีที่  30 พฤศจิกายน 2560   - วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม 2560 ณ ห้องประชุม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่                       คณะกรรมการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในสถาบันผลิตแพทย์  มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถาบันผลิตแพทย์ วันพฤหัสบดีที่  30 พฤศจิกายน 2560   -  วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม 2560 ณ ห้องประชุม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเชื่อมโยงการบริการกับการจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นำเสนอตัวอย่างของการจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่   และระดมสมองในการบูรณาการการบริการและการจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสถาบัน ซึ่งมีการบรรยายความรู้ทางวิชาการ  เช่น   แนวคิดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับนักศึกษาแพทย์   นำเสนอประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนนมแม่ใน 4 สถาบัน   การใช้ยากระตุ้นน้ำนม: Domperidone จำเป็นหรือไม่ และกรณีศึกษาจากโรงพยาบาลนครพิงค์  โภชนาการมารดาตั้งครรภ์และให้นมบุตร     และการแบ่งกลุ่มศึกษาสถานการณ์และการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในโรงพยาบาล 4 กลุ่ม คือ  1. คลินิกฝากครรภ์และห้องคลอด   2. หลังคลอด   3. คลินิกนมแม่   4. คลินิกเด็กสุขภาพดี จำนวนผู้เข้าประชุมทั้งหมด 116 คน ประกอบด้วย โรงพยาบาล 10 แห่ง ศูนย์อนามัยเขต1 รวม 73 คน ประกอบด้วย สูติแพทย์ 12 คนกุมารแพทย์ 11 คน พยาบาล 50 คน จากโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์   โรงพยาบาลนครพิงค์  โรงพยาบาลฝาง โรงพยาบาลพะเยา  โรงพยาบาลพุทธชินราช โรงพยาบาลแพร่  โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลลำปาง  โรงพยาบาลลำพูน   โรงพยาบาลอุตรดิตถ์   ศูนย์อนามัยเขตที่ 1 วิทยากร 20 /เจ้าหน้าที่ 3 คน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 20 คน  [pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/01/BF-Med-school-.pdf\" title=\"BF Med school\"]   [pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/01/Breastfeeding-Teaching-PMK-2017.ppt-วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎ.pdf\" title=\"Breastfeeding Teaching PMK 2017.ppt (วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎ)\"]   [pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/01/Nutrition-in-lactating-mother_2017.pptx.2.pptx-ชม-1-ธ.ค.60.pdf\" title=\"Nutrition in lactating mother_2017.pptx.2.pptx ชม 1 ธ.ค.60\"]   [pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/01/แนวคิดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่_.pdf\"]   [pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/01/การเรียนการสอนนมแม่-คณะแพทยศาสตร์-ม.เชียงใหม่.pdf\" title=\"การเรียนการสอนนมแม่ คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่\"]   [pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/01/การจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูก-รพ.-ชลบุรี.pdf\" title=\"การจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูก รพ. ชลบุรี\"]   [pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/01/ท้าทายการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่18112560.pdf\"]   [pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/01/พ.ร.บ.นมผง.pdf\"]  
แชร์ให้เพื่อน

การประชุมเครือข่ายสถาบันผลิตแพทย์ ภาคเหนือ

[seed_social]
[seed_social]
การประชุมเครือข่ายสถาบันผลิตแพทย์ ภาคใต้ สถาบันผลิตแพทย์
โดย soraya
05 มกราคม 2018
622
    คณะกรรมการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในสถาบันผลิตแพทย์  มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถาบันผลิตแพทย์ ครั้งที่ 2  ในวันพฤหัสบดีที่  31 สิงหาคม –  วันศุกร์ที่ 1 กันยายน 2560 ณ ห้องประชุมราชาวดีชั้น 2 โรงแรมบุรีศรีภู บูติกโฮเต็ล จังหวัดสงขลา เพื่อติดตามผลการจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถาบันผลิตแพทย์ ในเครือข่ายโรงพยาบาลสมบทภาคใต้   ภายหลังจากที่มีการประชุมวางแผนการจัดการเรียนการสอนไปแล้วเมื่อวันที่ 19-20 พฤศจิกายน 2558   ซึ่งในครั้งนี้มีการบรรยายความรู้ทางวิชาการเพื่อเพิ่มเติมความรู้  เช่น  แนวทางการจัดการเรียนการสอนของสถาบันผลิตแพทย์ 4 แห่ง     การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โภชนาการมารดาระหว่างให้นมบุตร     อุปสรรคของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (Braking the Barrier)  และแบ่งกลุ่มนำเสนอปัญหาอุปสรรคในการจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่   4 กลุ่ม คือ 1.ผู้สอนและผู้เรียน    2.สื่อการเรียนการสอน 3. วิธีการจัดการเรียน.การสอน 4. การประเมินผล  5. งานวิจัย มีจำนวนผู้เข้าประชุมทั้งหมด 78 คน      ประกอบด้วย โรงพยาบาล 9 แห่ง 47 คน ประกอบด้วย สูติแพทย์ 2 คน กุมารแพทย์ 7 คน พยาบาล 37 คน ประกอบด้วย โรงพยาบาลชุมพร  โรงพยาบาลปัตตานี  โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์  โรงพยาบาลตรัง  โรงพยาบาลสงขลา  โรงพยาบาลสงขลานครินทร์  โรงพยาบาลหาดใหญ่ โรงพยาบาลนครศรีธรรมราช   โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี วิทยากร 14 คน เจ้าหน้าที่ศูนย์นมแม่ 3 คน คณะกรรมการส่งเสริมการให้นมบุตรและพัฒนาการเด็ก โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ 14 คน   [pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/01/Nutrition-in-lactating-mother_2017.pdf\" title=\"Nutrition in lactating mother_2017\"]   [pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/01/การเรียนการสอนBFสงขลนครินทร์.pdf\"]   [pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/01/ความเป็นมาของการจัดการเรียนการสอนฯ-ppt.pdf\" title=\"ความเป็นมาของการจัดการเรียนการสอนฯ ppt\"]   [pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/01/นมแม่ในกระแสสังคมปัจจุบัน.pdf\"]    
แชร์ให้เพื่อน

การประชุมเครือข่ายสถาบันผลิตแพทย์ ภาคใต้

[seed_social]
[seed_social]
การจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถาบันผลิตแพทย์ สถาบันผลิตแพทย์
โดย Admin
26 สิงหาคม 2017
708
แผนงานส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ร่วมกับคณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “การจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถาบันผลิตแพทย์  โรงเรียนแพทย์  2-3 กันยายน 2557 จัดที่คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น การอบรมครั้งมีโรงพยาบาลร่วมสอน ร่วม 12 แห่งในภาคอีสาน ได้แก่ โรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ศรีษะเกษ กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ เลย มหาสาคาม ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด หนองคายและอุดรธานี มีสูติ-นรีแพทย์ 6 คน  กุมารแพทย์ 8 คน   พยาบาลวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  66 คน คณะวิทยากร และคณะกรรมการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 21 ท่าน รวมผู้เข้าร่วม 101 คน   ในการอบรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้กับอาจารย์สูติ-นรีแพทย์และอาจารย์กุมารแพทย์ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนมแม่ในสถาบันผลิตแพทย์หรือโรงพยาบาลร่วมสอน 2) เพื่อส่งเสริมให้มีการจัดการเรียนการสอนด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถาบันผลิตแพทย์ที่เข้าร่วม ในการอบรมได้จัดให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามหัวข้อต่อไปนี้  เรื่องการจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทางคลินิก  เรื่อง Evidence based of Breastfeeding Practices โดยวิทยากรจากคณะแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น  สูติ-นรีแพทย์จากโรงพยาลรามาธิบดี  แพทย์จากศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่  กุมารแพทย์จากโรงพยาบาลเด็ก  กุมารแพทย์จากโรงพยาบาลรามาธิบดี คณะพยาบาล ศิริราชราชวิทยาลัยสูตินารีแพทย์แห่งประเทศไทย มาให้ความรู้ในครั้งนี้ จากนั้นได้แบ่งกลุ่มย่อยฝึกทักษะการช่วยเหลือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในหัวข้อดังต่อไปนี้  หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก (CODE)  หัวข้อการฝึกการใช้สื่อสอนแม่ในห้องฝากครรภ์   หัวข้อท่าอุ้มให้นมบุตร   หัวข้อการแก้ไขปัญหาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  หัวข้อการแก้ไขปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่   จากนั้นได้แลกเปลี่ยนความคิดการจัดการเรียนการสอนในสถาบันผลิตแพทย์และได้แผน/แนวทางการสอนในคลินิกนมแม่ และการให้ความรู้ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในโรงพยาบาลที่เข้าอบรมต่อไป   รวมถึงได้ประชาสัมพันธ์และสื่อสารทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลักดันและขับเคลื่อน พรบ. CODE ในสถานบันผลิตแพทย์และโรงพยาบาลรัฐที่ร่วมสอน เพื่อให้เกิดการรับรู้ข้อมูล ความเข้าใจและให้ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนงานผลักดัน พรบ. CODE ในอนาคต
แชร์ให้เพื่อน

การจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถาบันผลิตแพทย์

[seed_social]
[seed_social]
การประชุมปฏิบัติการ เพื่อจัดทำชุดความรู้การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่การลงทุนคุ้มค่า เครือข่ายสถานประกอบการ
โดย soraya
05 มกราคม 2018
846
  เมื่อวันอังคารที่ 18 กรกฏาคม 2560 ห้องประชุมพาเลช 2 ชั้น 14 ตึก A โรงแรมปริ้น พาเลช มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ร่วมกับหน่วยงานขับเคลื่อนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบกิจการ  คือ  คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล    กองสวัสดิการแรงงาน   สำนักส่งเสริมสุขภาพ   สำนักงานพัฒนานโยบายสาธารณสุขระหว่างประเทศ  ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็คทรอนิสก์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ   สมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้า ได้จัดประชุมเพื่อการจัดทำชุดความรู้ “การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่การลงทุนคุ้มค่า” ร่วมกับสถานประกอบกิจการ อาทิ     บ.ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ธุรกิจอาหารสำเร็จรูป  บ.นิเด็ค ค็อมโปเน็นท์ เทคโนโลยี (ไทยแลนด์) จำกัด    บ. เฟดเดอรัล อีเลคตริค จำกัด     บ. มิลล์คอน สตีล จำกัด (มหาชน)  บ. มิลล์คอน สตีล จำกัด (มหาชน)   บ. แมรีกอท จิวเวลรี่ (ประเทศไทย) จำกัด บางปู  บ. เวสเทิร์นดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด    และ บ.สยามเด็นโซ่ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด  เพื่อสถานประกอบกิจการใหม่ที่สนใจจัดตั้งมุมนมแม่  สามารถใช้ความรู้นี้ในการจัดตั้งมุมนมได้
แชร์ให้เพื่อน

การประชุมปฏิบัติการ เพื่อจัดทำชุดความรู้การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่การลงทุนคุ้มค่า

[seed_social]
[seed_social]
บริษัท แมรีกอท จิวเวลรี่ (ประเทศไทย) จำกัด นิคมอุตสาหกรรมบางปู เครือข่ายสถานประกอบการ
โดย soraya
12 ธันวาคม 2017
1949
นางสาวกรรณิกา  เซ็นมุกดา  รองผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ บริษัท แมรีกอท จิวเวลรี่ (ประเทศไทย) จำกัด นิคมอุตสาหกรรมบางปู \"มุมนมแม่ เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับครอบครัว พนักงานหลังคลอดได้เลี้ยงลูกด้วยนมตนเอง ส่งผลให้พนักงานในองค์กร มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้บริหาร เพราะได้สวัสดิการที่ดี”   เริ่มทำโครงการมุมนมแม่ในปี พ.ศ. 2550  เนื่องจากผู้บริหารเห็นความสำคัญของการเลี้ยงลูก       ด้วยนมแม่ และเพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกิดสายใยรัก แม่กับลูกได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น จึงจัดทำโครงการนี้ ให้กับพนักงาน การดำเนินกิจกรรมในช่วงแรกๆ ใช้วิธีการลองทำและแก้ปัญหาไป โดยใช้วงจรพัฒนางานแบบง่าย คือ Plan-Do-Check-Act ได้เกิดรูปแบบการดำเนินงานในการแก้ปัญหาหลายอย่าง ได้แก่ การจัดทำโมเดล   เต้านมต่างๆ สำหรับการฝึกอบรม การให้โรงอาหารมีเมนูอาหารสำหรับพนักงานตั้งครรภ์และให้นมบุตร รวมถึงการไปเยี่ยมบ้านเพื่อดูแลพนักงานหลังคลอดและลูก จากการดำเนินงานมาเป็นระยะเวลายาวนาน ทางบริษัทฯ ได้มีแผนการพัฒนางานนมแม่ดังนี้ มีนโยบายสนับสนุนการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยแม่ อนุญาตให้พนักงานมาบีบเก็บน้ำนมได้โดยไม่จำกัดเวลา รวมถึงนโยบายดูแลสุขภาพพนักงาน เช่น การส่งเสริมการดูแลเรื่องอาหารสะอาด กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ และสุขอนามัยที่ดี มีมุมนมแม่ที่ได้รับมาตรฐาน ประสานฝ่ายบุคคลหาข้อมูลพนักงานตั้งครรภ์ แยกพนักงานที่ตั้งครรภ์แรกและครรภ์หลังออก อบรมให้ความรู้ และมีสื่อการสอนเรื่องเต้านม มีกระเป๋าเยี่ยมหลังคลอดสำหรับพนักงาน แจกถุงนมเดือนละ 2 กลุ่ม คือ พนักงานตั้งครรภ์และแม่ให้นม โดยมีพยาบาลประจำมีการรวมกลุ่ม เพื่อแชร์ประสบการณ์นมแม่ แก้ไขปัญหาหัวนม ทุกวันเสาร์ (สอนบีบนมด้วยมือ) กิจกรรมพี่สอนน้อง กิจกรรมเยี่ยมบ้านหลังคลอด จัดประกวดคำขวัญวันแม่ในเดือนสิงหาคม มีโมเดลอาหารสมุนไพรพืชผักสำหรับสอนพนักงาน ทำ work shop ลงพื้นที่คุณแม่ที่กำลังบีบนม หาคุณแม่จิตอาสาหลังคลอดร่วมทีมงาน Moral คุณแม่ดีเด่น โดยสรุป โครงการมุมนมแม่ เป็นแหล่งเรียนรู้และดูงานของรัฐและเอกชน  และขยายเรื่องนมแม่ไปสู่การลงพื้นที่เยี่ยมบ้านและชุมชน จากผลการประเมินพนักงานมีความพึงพอใจร้อยละ 87.50 ปัจจุบัน มีพนักงานใช้บริการ 26 คน รวมตั้งแต่ตั้งโครงการมีพนักงาน 172 คน ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ส่งผลให้พนักงานลากิจ ลาป่วยในกลุ่มที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลงถึง 4.21 % มีแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เฉลี่ย 8-14 เดือน (N = 172 ) พนักงานประหยัดค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 5,000 บาท                        
แชร์ให้เพื่อน

บริษัท แมรีกอท จิวเวลรี่ (ประเทศไทย) จำกัด นิคมอุตสาหกรรมบางปู

[seed_social]
[seed_social]
บริษัท สยามเด็นโซ่ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด และ บริษัท สยามเคียวซันเด็นโซ่ จำกัด เครือข่ายสถานประกอบการ
โดย soraya
12 ธันวาคม 2017
1350
นายสิทธิพร  ชลายน  ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป บริษัท สยามเด็นโซ่ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด และ บริษัท สยามเคียวซันเด็นโซ่ จำกัด บริษัทมุ่งมั่นพัฒนามุมนมแม่ และการดูแลบุตรของพนักงานให้มีสุขภาพแข็งแรง เพื่อให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุข ได้จัดตั้งโครงการ “มุมนมแม่สานสายใยรักแห่งครอบครัว” ตั้งแต่ปี 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงานในองค์กรได้มีโอกาสเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และเพื่อให้ทราบถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้กลุ่มคุณแม่ที่ทำงานบีบน้ำนมใน “มุมนมแม่สานสายใยรักแห่งครอบครัว” โดยจัดพื้นที่ข้างห้องพยาบาล  “มุมนมแม่” ของบริษัทฯ คือ หนึ่งในกิจกรรม Happy Family ภายใต้โครงการ Happy work place ที่บูรณาการกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องร่วมกับโครงการอื่นๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพื่อเป็นสวัสดิการแก่พนักงานทุกคนในบริษัท  โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิศูนย์นมแม่ฯ และ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี และเนื่องจากบริษัทฯ เป็นบริษัทญี่ปุ่น ที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารทุก  2-4 ปี  ดังนั้ นเราจะต้องมีการปรับกลยุทธ์ ในการนำเสนอผู้บริหารเพื่อให้เกิดความเข้าใจและยอมรับ รวมถึงให้การสนับสนุนมุมนมแม่ของเราอย่างต่อเนื่อง เพราะมุมนมแม่ของเรามีพนักงานมาใช้มากขึ้นเรื่อยๆ  ดังนั้น จึงจำเป็นต้องของบประมาณเพิ่มเติมในการขยายหรือปรับปรุงมุมนมแม่อย่างต่อเนื่อง ถ้าผู้บริหารยอมรับความคิดเห็นหรือให้การสนับสนุนการของบประมาณนั้นเป็นเรื่องที่ง่าย ดังนั้น ทีมงานต้องมีการปรับกลยุทธ์เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ทั้งปัจจัยภายในองค์กรและภายนอกองค์กร เพื่อให้การดำเนินงานราบรื่นและมุมนมแม่ของเรายังคงอยู่ต่อไป แผนพัฒนามุมนมแม่ Vision  เป็นผู้นำในการพัฒนาระบบบริหารกิจกรรมมุมนมแม่สานสายใยรักแห่งครอบครัวในจังหวัดชลบุรี Mission พัฒนาระบบบริการเรื่องกิจกรรมมุมนมแม่ให้พนักงานเกิดความพึงพอใจ ให้ความรู้ด้านวิชาการในกิจกรรมมุมนมแม่และการดูแลบุตรให้มีสุขภาพแข็งแรง เพื่อให้พนักงานทำงานภายในบริษัทฯ อย่างมีความสุข สนับสนุนการเรียนรู้การเลี้ยงด้วยนมแม่สู่ชุมชน และพัฒนาไปพร้อมกับบริษัทฯ Strategy 1  พัฒนาระบบบริการและสร้างมาตรฐานห้องมุมนมแม่และส่งเสริมให้พนักงานเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 100% Strategy 2 พัฒนาเรื่องสุขภาพของทารก และสุขภาพของมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ Strategy 3 พัฒนาทำกิจกรรมและสร้างมาตรฐานมุมนมแม่สู่ครอบครัวพนักงาน Strategy 4 พัฒนาอย่างต่อเนื่องกิจกรรมมุมนมแม่โดยให้เข้าถึงพนักงานครอบครัว และสู่ชุมชน        
แชร์ให้เพื่อน

บริษัท สยามเด็นโซ่ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด และ บริษัท สยามเคียวซันเด็นโซ่ จำกัด

[seed_social]
[seed_social]