พรบ.ควบคุม

ที่มา Milk Code
เขียนโดย soraya
04 ธันวาคม 2017
1.ทำไม ร่างพ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กครอบคลุมผลิตภัณฑ์ถึงอายุ 3 ปี   WHO แนะนำให้เด็กทุกคนกินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และให้นมแม่ต่อเนื่องควบคู่กับอาหารตามวัยถึง 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามหลักการขององค์การอนามัยโลกที่แนะนำให้เด็กได้กินนมแม่อย่างเดียวถึงอายุ 6 เดือนและกินนมแม่ต่อเนื่องควบคู่กับอาหารตามวัยจนถึงอายุ 2 ปีหรือนานกว่านั้น เนื่องมาจากผลการศึกษาวิจัยจำนวนมากทั่วโลกที่พบว่าการให้เด็กกินนมแม่ต่อเนื่องยิ่งนานยิ่งมีประโยชน์ต่อตัวแม่และเด็กทั้งในด้านสุขภาพ ความสำเร็จทางการศึกษา เศรษฐกิจและสังคม (ผลการวิจัยตีพิมพ์ใน Lancet series) ตามความเป็นจริงคือ เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไปจำเป็นต้องได้กินนมและได้รับอาหารตามวัยที่เหมาะสมซึ่งอาหารตามวัยหมายถึงอาหารมื้อหลักเช่นข้าวบดตับบดไข่บดเป็นต้นนมผสมไม่ได้เป็นอาหารตามวัยแต่นมผสมคือนมที่นำมาใช้ทดแทนนมแม่หากแม่ยังสามารถให้นมลูกต่อเนื่องได้ แม่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้นมผสมจนถึงอายุอย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป ดังนั้น การให้ความเห็นว่านมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดของทารกตั้งแต่แรกเกิดถึงหนึ่งปีเท่านั้น จึงเป็นการบิดเบือนคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกให้เกิดความสับสนว่าเด็กควรกินนมแม่ถึงแค่อายุ 1 ปี หลักเกณฑ์สากลว่าด้วยการตลาดอาหารทดแทนนมแม่ ครอบคลุมผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กอายุถึง 3 ปี สมัชชาอนามัยโลก (World Health Assembly) และประเทศสมาชิก ได้มีมติรับรองหลักเกณฑ์สากลว่าด้วยการตลาดอาหารทดแทนนมแม่ (International Code of Marketing of Breast Milk Substitutes หรือ Code) ตั้งแต่พ.ศ.2524 และมีมติเพิ่มเติมในปีต่อๆ มาเป็นลำดับ ที่ผ่านมา บริษัทผู้ผลิตมักโต้แย้งว่า อาหารทดแทนนมแม่ (Breastmilk Substitutes - BMS) หมายถึง นมที่ใช้สำหรับเด็กแรกเกิดถึง 6 เดือนเท่านั้น และใช้โอกาสนี้ในการทำการส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์นมของเด็กอายุ1 ปีขึ้นไป แต่ล่าสุด ในที่ประชุมสมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 69 (WHA 69th, 2016) องค์การอนามัยโลกได้จัดทำ Guidance on ending inappropriate promotion of food for infants and young children (เอกสารแนบ 1) เพื่อเป็นแนวทางให้ประเทศสมาชิกมีความเข้าใจตรงกันในเรื่องของ การส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กที่ไม่เหมาะสม ซึ่งใน guidance ดังกล่าว ในข้อแนะนำที่ 2 อธิบายไว้ชัดเจนว่า BMS ให้หมายถึงอาหารหรือนมใดๆที่ทำการส่งเสริมการตลาดสำหรับเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 3 ปี และเมื่อประเทศต่างๆออกกฎหมายเพื่อบังคับใช้หลักเกณฑ์สากลว่าด้วยการตลาดอาหารทดแทนนมแม่ ก็ให้หมายความครอบคลุมผลิตภัณฑ์ถึง 3 ปี ดังนั้น การตีความหลักเกณฑ์ของ WHO ว่าใช้ควบคุมการตลาดเฉพาะกับอาหารและผลิตภัณฑ์ของทารก 1 ปีเท่านั้น จึงเป็นการตีความที่ไม่ถูกต้องตามความเข้าใจสากลที่ได้รับการยอมรับจากประเทศต่างๆ และจากองค์การระหว่างประเทศ ทารกและเด็กเล็กเป็นกลุ่มเปราะบางต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองสิทธิ สินค้าทุกชนิดจำเป็นต้องมีมาตรฐานควบคุมการโฆษณาและส่งเสริมการตลาดเพื่อป้องกันการโฆษณาชวนเชื่อและหลอกลวงประชาชนถึงคุณสมบัติสรรพคุณที่เกินจริงทารกและเด็กเล็กซึ่งเป็นประชากรกลุ่มวัยที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นช่วงที่สร้างพื้นฐานของชีวิตในระยะยาวทั้งร่างกายและสมองแต่กลับเป็นกลุ่มที่เปราะบางช่วยเหลือและตัดสินใจเลือกอาหารเองไม่ได้ นมผสมซึ่งเป็นสินค้าที่ถูกนำมาใช้เป็นอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กโดยพ่อแม่และครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวที่ลูกไม่ได้กินนมแม่ จำเป็นต้องถูกควบคุมเรื่องการโฆษณาและส่งเสริมการตลาดอย่างรัดกุมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอวดอ้างสรรพคุณทางโภชนาการและสุขภาพเพื่อจูงใจให้พ่อแม่และครอบครัวเกิดการใช้โดยไม่จำเป็นหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนั้นการควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารก (แรกเกิด- 12 เดือน)เท่านั้น อาจไม่เพียงพอในการปกป้องเด็กเล็กซึ่งเป็นประชากรในวัยเปราะบางเช่นกัน การส่งเสริมการตลาดแบบข้ามชนิด การอนุญาตให้ทำการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับเด็กเล็ก จะส่งผลให้เกิดการส่งเสริมการตลาดแบบข้ามชนิด (cross promotion) หมายถึง เมื่อมารดาและครอบครัวได้เห็นการโฆษณาและส่งเสริมการใช้อาหารสำหรับเด็กเล็กจะทำให้เกิดการเชื่อมโยงไปสู่อาหารสำหรับทารก เนื่องจาก ชื่อ ตราและสัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กทั้งสองกลุ่มมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ดังนั้นการควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกเท่านั้นเป็นวิธีการที่ขาดประสิทธิภาพและเปิดช่องโหว่ให้มีการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กได้   ร่างพ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง   ร่างพ.ร.บ.ฯ ฉบับนี้ ครอบคลุมผลิตภัณฑ์เหล่านี้ นมดัดแปลงสำหรับทารก นมดัดแปลงสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก อาหารสำหรับทารก อาหารสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก อาหารเสริมสำหรับทารกและเด็กเล็ก อาหารที่มีจุดมุ่งหมายในการเลี้ยงทารกและเด็กเล็กอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด   ทำไมห้ามโฆษณาทุกช่องทาง การโฆษณาเป็นการส่งเสริมการตลาดที่พบเห็นได้มากที่สุด และมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของแม่ในการเลี้ยงลูกนมผสมเช่นเดียวกัน (นงนุช, 2558) ใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ขอบเขตของการโฆษณา คือ การใช้สื่อสาธารณะที่ประชาชนทั่วไปทั้งที่ต้องการหรือไม่ต้องการได้เห็น หรือทราบข้อความได้เห็น ได้รับทราบ โดยมุ่งประโยชน์ทางการค้า สื่อสาธารณะ ประกอบด้วยโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์อื่นใด สื่ออิเลกทรอนิกส์ หรือสื่อสาธารณะอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ ทั้งนี้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ไม่รวมกรณีที่หญิงตั้งครรภ์ หรือแม่ที่มีลูกอายุต่ำกว่า3 ปี ได้โทรติดต่อไปหาบริษัทด้วยตนเอง หรือค้นหาความรู้การให้นมจากหน้าเว็ปของบริษัท รับทราบผลิตภัณฑ์ซึ่งโฆษณาได้ตามฉลากและไม่รวมกรณีที่แม่คนหนึ่งได้แนะนำให้แม่อีกคนหนึ่งใช้ผลิตภัณฑ์โดยไม่มีประโยชน์ทางการค้า   พ.ร.บ. ปิดกั้นการให้ข้อมูลประชาชนจริงหรือไม่ หลักเกณฑ์สากลฯ และร่างพ.ร.บ.ฯ ไม่ได้ห้ามบริษัทให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ กับบุคลากรทางการแพทย์และแม่ ครอบครัวและประชาชนทั่วไป เพียงแต่การให้ข้อมูลของบริษัทฯ จะต้องเป็นข้อความเดียวกับข้อความที่ปรากฎในฉลากที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับคณะกรรมการอาหารและยาเท่านั้น รวมถึงไม่สามารถกล่าวอ้างสรรพคุณทางโภชนาการและสุขภาพ นอกจากนี้การหากบริษัทฯ จะให้ข้อมูลกับบุคลากรทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องกล่าวอ้างสรรพคุณของผลิตภัณฑ์จะต้องมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ   พ.ร.บ.มีผลกระทบทางเศรษฐกิจหรือไม่ พ.ร.บ. ฉบับนี้ไม่กระทบต่อการพัฒนาองค์ความรู้ของประเทศ ไม่มีเนื้อหาใดจำกัดสิทธิการทำวิจัยและการศึกษาของบุคลากรทางการแพทย์ ที่สำคัญไม่ขัดกับหลักเศรษฐกิจและการค้าเสรี เนื่องจากประเทศไทยไม่ใช่ประเทศแรกที่นำหลักการของ WHO มาออกเป็นกฎหมาย มีมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลกที่ได้ผลักดัน CODE เป็นกฎหมายสำเร็จ และไม่มีประเทศใดถูกฟ้องร้องว่ากฎหมายฉบับนี้ละเมิดหลักการค้าเสรี นอกจากนี้ จากบทนำ องค์การการค้าโลก (World Trade Organization) กล่าวว่า การค้าควรมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน และการค้าเสรีไม่ควรเป็นเป้าหมายในตัวของมันเอง หลักปฏิบัติสำคัญขององค์การการค้าโลก ได้แก่ Most favored nation - จะต้องปฏิบัติต่อสินค้านำเข้าจากทุกประเทศสมาชิกอย่างเท่าเทียมกัน National treatment - จะต้องปฏิบัติต่อสินค้าที่นำเข้าและสินค้าจากประเทศของตนอย่างเท่าเทียมกัน Health exception– ประเทศสมาชิกมีสิทธิอันชอบทำในการกำหนดข้อบังคับเพื่อคุ้มครองสุขภาพของประชาชน รัฐสามารถกำหนดระดับความเหมาะสมของข้อบังคับโดยมีพื้นฐานจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ มาตรฐานสากล แนวทางปฏิบัติ และคำแนะนำต่างๆเพื่อบรรลุเป้าหมายทางสุขภาพ เมื่อพิจารณาถึงหลักปฏิบัติที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่าการควบคุมการส่งเสริมการตลาดของอาหารทารกและเด็กเล็ก สามารถทำได้โดยไม่ขัดต่อหลักการค้าเสรีของ WTO เพราะมาตรการต่างๆในหลักเกณฑ์สากลฯ มีผลต่อผลิตภัณฑ์จากทุกประเทศทุกบริษัทอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีการปฏิบัติต่อสินค้านำเข้าและสินค้าในประเทศอย่างแตกต่างกัน   พ.ร.บ.มีผลกระทบต่อการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขหรือไม่ ร่างพระราชบัญญัตินี้ไม่ได้ส่งผลกระทบแง่ลบแก่บุคลากรสาธารณสุขแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกลับช่วยป้องกันบุคลากรสาธารณสุขให้ปราศจากการมีผลประโยชน์ทับซ้อนและการเป็นสื่อบุคคลให้กับภาคธุรกิจด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนี้ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขสามารถได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่ายอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กได้ โดยต้องเป็นข้อมูลที่เป็นจริงและมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ เพื่อสร้างความมั่นใจว่า บุคลากรจะมีข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อประกอบการตัดสินใจและให้คำแนะนำแม่และครอบครัวเพื่อเลือกใช้อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กในกรณีที่จำเป็น ร่างพระราชบัญญัติห้ามผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่ายให้ของขวัญ หรือสิ่งจูงใจแก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อป้องกันการสร้างสายสัมพันธ์และการสร้างอำนาจต่อรองแก่บุคลากร เพื่อให้ตอบแทนโดยการเป็นสื่อบุคคลให้กับผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก ทั้งนี้เพราะบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเป็นบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจและความเชื่อถือจากแม่และครอบครัว ดังนั้นจึงควรวางตัวให้เหมาะสมและให้คำแนะนำแม่และครอบครัวบนพื้นฐานของข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริงปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อน ร่างพระราชบัญญัติอนุญาตให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้าและผู้จำหน่าย ที่ประสงค์จะมอบอุปกรณ์และสิ่งของให้แก่หน่วยบริการสาธารณสุขสามารถกระทำได้โดยต้องอุปกรณ์และสิ่งของนั้นต้องไม่มีชื่อ ตรา และสัญลักษณ์ที่เชื่อมโยงถึงผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการส่งเสริมการตลาดแฝงและการจดจำชื่อ ตราสัญลักษณ์ของแม่และครอบครัวเมื่อมารับบริการ ซึ่งผู้ผลิต ผู้นำเข้าและผู้จำหน่ายที่มีความประสงค์จะทำประโยชน์เพื่อสังคมโดยไม่หวังผลทางการค้าจะไม่ถูกขัดขวางโดยร่างพระราชบัญญัตินี้   การมี พ.ร.บ.จะช่วยให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้นหรือไม่ กลยุทธ์ที่จะช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ ส่งเสริม สนับสนุน และปกป้อง ปัจจุบันประเทศไทยมีการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ผ่านการรณรงค์ การให้ความรู้กับแม่และครอบครัว  สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ สนับสนุนการลาคลอด สนับสนุนมุมนมแม่ในสถานประกอบการ  แต่ประเทศไทยยังขาดกลยุทธ์ในการปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งการมีพ.ร.บ.เป็นกลยุทธ์การปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ดีที่สุด ดังนั้นเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการช่วยให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทั้ง 3 กลยุทธ์นี้จะต้องขับเคลื่อนไปพร้อมๆกัน จากรูปด้านล่างเป็นการเปรียบเทียบอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และ GDP per Capita และ Code status โดยจะสรุปได้ว่า เศรษฐสถานะกับอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน มีความผกผันกันกล่าวคือประเทศที่ยิ่งมีเศรษฐสถานะไม่ดี ยิ่งมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนสูง แต่การมีกฎหมายหรือมาตรการควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กที่เข้มข้น (full provision and many provision law) จะช่วยทำให้ผลของเศรษฐสถานะต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง (slope ของลดลง) ดังนั้น การมีกฎหมายหรือมาตรการจะช่วยทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้นในประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลาง พ.ร.บ.นี้มีความซ้ำซ้อนกับกฎหมายหรือประกาศของคณะกรรมการอาหารและยาหรือไม่ พ.ร.บ.นี้ไม่มีความซ้ำซ้อนหรือขัดแย้งกับกฎหมาย หรือประกาศของคณะกรรมการอาหารและยา เนื่องจากว่า พ.ร.บ.นี้จะควบคุมในเรื่องของ “การส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์” ไม่ใช่ “คุณลักษณะ คุณภาพของผลิตภัณฑ์” นอกจากนี้ พ.ร.บ.นี้ไม่ได้ควบคุมฉลากของผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะเป็นไปตามข้อกำหนดตามประกาศของคณะกรรมการอาหารและยา                           
แชร์ให้เพื่อน

ที่มา Milk Code

[seed_social]
[seed_social]
ทำไมต้องควบคุมการโฆษณานมผงทารกตั้งแต่ แรกเกิดถึง 3 ปี ?
เขียนโดย soraya
12 ธันวาคม 2017
ทำไมต้องควบคุมการโฆษณานมผงทารกตั้งแต่ แรกเกิดถึง 3 ปี ? พรบ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก ไม่ได้ห้ามการขายนมผง ไม่ได้บังคับว่าต้องกินนมแม่นานเท่านั้นเท่านี้ เพียงแต่ห้ามการโฆษณา และส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารก(อายุ แรกเกิดถึง 1 ปี )และเด็กเล็ก(อายุ 1-3 ปี) ซึ่งเป็นช่วงอายุที่อาหารมีความสำคัญมากสำหรับการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกาย สมองและสติปัญญา นมแม่เป็นอาหารหลักสำหรับทารกแรกเกิดถึง 6 เดือน หลังจากนั้น เมื่อทารกเริ่มกินอาหารเสริม ก็จะกินนมแม่ควบคู่ไปด้วยจนถึงอายุ 2 ปี หรือมากกว่านั้น ขึ้นกับครอบครัวตัดสินใจตามบริบทของแต่ละครอบครัว เด็กอายุ 1 ปีขึ้นไปที่กินอาหารหลัก 3 มื้อ ก็ยังคงกินนมแม่ร่วมด้วยได้ ดังนั้นนมที่จะให้หลังอายุ 1 ปี ก็ยังถือว่าเป็นนมทดแทนนมแม่อยู่ดี ถึงแม้ไม่ใช่อาหารหลักค่ะ การโฆษณานมที่ใช้ทดแทนนมแม่ไม่ว่าที่อายุใดๆ จึงมีผลกระทบต่อการตัดสินใจเริ่มหรือ เลิกนมแม่ จึงควรมีการควบคุม การห้ามโฆษณา อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก ในปัจจุบันนี้ ก็ห้ามโฆษณานมผงสำหรับเด็กอายุ ต่ำกว่า 1 ปี และให้โฆษณานมผงเด็กโตเกิน 1 ปีได้ และสิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร 1. โฆษณานมสำหรับเด็กอายุ เกิน1 ปี แต่คนดูไม่รู้ว่านี่สำหรับเด็กโตเกิน 1 ปี ดูแล้วเหมารวมว่า เด็กเล็กก็กินนมชนิดนี้ได้ ทั้งนี้ เพราะ ทั้งรูปแบบกล่อง กระป๋อง ภาพข้างกล่อง ข้างกระป๋อง แทบจะเหมือนกับนมเด็กแรกเกิด ถึง 1 ปี ทุกประการ การโฆษณา นมเด็กเกิน 1 ปี จึงเท่ากับโฆษณานมทารกแรกเกิดไปด้วย อย่างนี้ภาษาโฆษณา เขาเรียก ว่า Cross Promotion คือสินค้าคนละแบบกัน แบบหนึ่งโฆษณาได้ อีกแบบห้าม ก็ใช้โลโก้ให้เหมือนกันไปเสียเลย ไม่ผิดกฎหมาย( ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือเหล้าเบียร์ที่ห้ามโฆษณา แต่น้ำดื่มโฆษณาได้ ก็เอายีห้อเบียร์ มาเป็นยีห้อน้ำ ) เรื่องนมผงก็เช่นกันค่ะ ถ้าเราบอกว่าห้ามโฆษณานมเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี แต่เกิน 1 ปี โฆษณา ได้ คราวนี้ก็สบายค่ะ ใช้โลโก้เหมือนกันทั้งนมเด็กทารก และเด็กโต เลี่ยงกฎหมาย เราจึงต้องการให้ควบคุมการโฆษณา และส่งเสริมการตลาดถึงนมอายุ 3 ปีไปเลย ตัดปัญหาเรื่อง cross promotion นี้ 2. พ่อแม่ปู่ย่าตายาย ดูโฆษณานมผงเด็กโตเกิน 1 ปี ก็เข้าใจว่า เกิน 1 ปี ควรไปกินนมผงได้แล้ว จะได้แข็งแรง ฉลาดเหมือนเด็กในโฆษณา ก็จะไปกดดันให้แม่ที่ให้ลูกกินนมแม่ถึง 1 ปี ว่าเลิกได้แล้ว มากินนมผงเถอะ เด็กไทยแทนที่จะกินนมแม่กันได้นานๆ ก็จะได้นมแม่ลดน้อยลงไปอีก 3. พ่อแม่และครอบครัว พอเห็นลูกอายุเกิน 1ปี ไม่กินข้าว ก็จะไปซื้อนมผงเด็กโตที่โฆษณามาให้กิน ด้วยเข้าใจผิดว่าเป็นนมผงทดแทนมื้ออาหารได้ ( บางคนถึงกับบอกว่าลูกไม่กินอาหาร ก็ไปซื้อนมผงชนิดนั้นๆมากินสิ เขาทำสำหรับเด็กไม่เจริญอาหาร ) ในความเห็นของดิฉัน “การปกป้องนมแม่ ควรจะปกป้องเด็กทุกอายุที่ยังกินนมแม่อยู่ และปัจจุบันนี้มีเด็กนมแม่มากมายที่กินนมแม่กันนานถึง 3ปี เราจึงควรจะปกป้องพวกเขา ให้ได้น้ำนมแม่อันทรงคุณค่าได้นานที่สุดเท่าที่แม่ลูกแต่ละคู่ต้องการ โดยปราศจากการโฆษณา และส่งเสริมการตลาด ของอาหารทารกและเด็กเล็กค่ะ ” พญ. ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล
แชร์ให้เพื่อน

ทำไมต้องควบคุมการโฆษณานมผงทารกตั้งแต่ แรกเกิดถึง 3 ปี ?

[seed_social]
[seed_social]
ทำไมต้องควบคุมการโฆษณานมผงทารกตั้งแต่ แรกเกิดถึง 3 ปี ? พรบ.ควบคุม
โดย soraya
12 ธันวาคม 2017
2495
ทำไมต้องควบคุมการโฆษณานมผงทารกตั้งแต่ แรกเกิดถึง 3 ปี ? พรบ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก ไม่ได้ห้ามการขายนมผง ไม่ได้บังคับว่าต้องกินนมแม่นานเท่านั้นเท่านี้ เพียงแต่ห้ามการโฆษณา และส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารก(อายุ แรกเกิดถึง 1 ปี )และเด็กเล็ก(อายุ 1-3 ปี) ซึ่งเป็นช่วงอายุที่อาหารมีความสำคัญมากสำหรับการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกาย สมองและสติปัญญา นมแม่เป็นอาหารหลักสำหรับทารกแรกเกิดถึง 6 เดือน หลังจากนั้น เมื่อทารกเริ่มกินอาหารเสริม ก็จะกินนมแม่ควบคู่ไปด้วยจนถึงอายุ 2 ปี หรือมากกว่านั้น ขึ้นกับครอบครัวตัดสินใจตามบริบทของแต่ละครอบครัว เด็กอายุ 1 ปีขึ้นไปที่กินอาหารหลัก 3 มื้อ ก็ยังคงกินนมแม่ร่วมด้วยได้ ดังนั้นนมที่จะให้หลังอายุ 1 ปี ก็ยังถือว่าเป็นนมทดแทนนมแม่อยู่ดี ถึงแม้ไม่ใช่อาหารหลักค่ะ การโฆษณานมที่ใช้ทดแทนนมแม่ไม่ว่าที่อายุใดๆ จึงมีผลกระทบต่อการตัดสินใจเริ่มหรือ เลิกนมแม่ จึงควรมีการควบคุม การห้ามโฆษณา อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก ในปัจจุบันนี้ ก็ห้ามโฆษณานมผงสำหรับเด็กอายุ ต่ำกว่า 1 ปี และให้โฆษณานมผงเด็กโตเกิน 1 ปีได้ และสิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร 1. โฆษณานมสำหรับเด็กอายุ เกิน1 ปี แต่คนดูไม่รู้ว่านี่สำหรับเด็กโตเกิน 1 ปี ดูแล้วเหมารวมว่า เด็กเล็กก็กินนมชนิดนี้ได้ ทั้งนี้ เพราะ ทั้งรูปแบบกล่อง กระป๋อง ภาพข้างกล่อง ข้างกระป๋อง แทบจะเหมือนกับนมเด็กแรกเกิด ถึง 1 ปี ทุกประการ การโฆษณา นมเด็กเกิน 1 ปี จึงเท่ากับโฆษณานมทารกแรกเกิดไปด้วย อย่างนี้ภาษาโฆษณา เขาเรียก ว่า Cross Promotion คือสินค้าคนละแบบกัน แบบหนึ่งโฆษณาได้ อีกแบบห้าม ก็ใช้โลโก้ให้เหมือนกันไปเสียเลย ไม่ผิดกฎหมาย( ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือเหล้าเบียร์ที่ห้ามโฆษณา แต่น้ำดื่มโฆษณาได้ ก็เอายีห้อเบียร์ มาเป็นยีห้อน้ำ ) เรื่องนมผงก็เช่นกันค่ะ ถ้าเราบอกว่าห้ามโฆษณานมเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี แต่เกิน 1 ปี โฆษณา ได้ คราวนี้ก็สบายค่ะ ใช้โลโก้เหมือนกันทั้งนมเด็กทารก และเด็กโต เลี่ยงกฎหมาย เราจึงต้องการให้ควบคุมการโฆษณา และส่งเสริมการตลาดถึงนมอายุ 3 ปีไปเลย ตัดปัญหาเรื่อง cross promotion นี้ 2. พ่อแม่ปู่ย่าตายาย ดูโฆษณานมผงเด็กโตเกิน 1 ปี ก็เข้าใจว่า เกิน 1 ปี ควรไปกินนมผงได้แล้ว จะได้แข็งแรง ฉลาดเหมือนเด็กในโฆษณา ก็จะไปกดดันให้แม่ที่ให้ลูกกินนมแม่ถึง 1 ปี ว่าเลิกได้แล้ว มากินนมผงเถอะ เด็กไทยแทนที่จะกินนมแม่กันได้นานๆ ก็จะได้นมแม่ลดน้อยลงไปอีก 3. พ่อแม่และครอบครัว พอเห็นลูกอายุเกิน 1ปี ไม่กินข้าว ก็จะไปซื้อนมผงเด็กโตที่โฆษณามาให้กิน ด้วยเข้าใจผิดว่าเป็นนมผงทดแทนมื้ออาหารได้ ( บางคนถึงกับบอกว่าลูกไม่กินอาหาร ก็ไปซื้อนมผงชนิดนั้นๆมากินสิ เขาทำสำหรับเด็กไม่เจริญอาหาร ) ในความเห็นของดิฉัน “การปกป้องนมแม่ ควรจะปกป้องเด็กทุกอายุที่ยังกินนมแม่อยู่ และปัจจุบันนี้มีเด็กนมแม่มากมายที่กินนมแม่กันนานถึง 3ปี เราจึงควรจะปกป้องพวกเขา ให้ได้น้ำนมแม่อันทรงคุณค่าได้นานที่สุดเท่าที่แม่ลูกแต่ละคู่ต้องการ โดยปราศจากการโฆษณา และส่งเสริมการตลาด ของอาหารทารกและเด็กเล็กค่ะ ” พญ. ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล
แชร์ให้เพื่อน

ทำไมต้องควบคุมการโฆษณานมผงทารกตั้งแต่ แรกเกิดถึง 3 ปี ?

[seed_social]
[seed_social]
ยื่นเรื่องสนับสนุนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พรบ.ควบคุม
โดย soraya
12 ธันวาคม 2017
647
ยื่นเรื่องสนับสนุนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วันนี้(12ม.ค.60) เครือข่ายครอบครัวนมแม่ นำโดย พญ.ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล ตัวแทนคุณแม่ดารา คุณลอร่า คุณโน้ตคุณลิซ่า คุณแม่และเด็กเล็กกว่า 10 คน มายื่นเรื่องสนับสนุนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในการออกกฎหมายควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก ที่อาคารรัฐสภา เกิดเหตุระทึก เมื่อป้ายนิทรรศการขนาดใหญ่ล้มทับเครือข่ายครอบครัวนมแม่ ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 1 ราย ผู้บาดเจ็บท่านนั้นคือคุณรสา ที่เอามือไปรับบอร์ดเพื่อป้องกันไม่ให้ล้มทับเด็กที่อยู่โดยรอบบริเวณดังกล่าว แต่ด้วยน้ำหนักของบอร์ดที่มีขนาดใหญ่ทำให้รับน้ำหนักไม่ไหวบอร์ดจึงล้มลงมาทับ คุณแม่รสาเล่าว่า \'แว่บแรกที่คิดคือ ตรงนั้นเด็กๆอยู่ ทำไงให้โดนน้อยที่สุด เราเจ็บคงไม่เป็นไรมากแต่เด็กเล็กโดนล่ะ นึกไม่ออกว่าจะเจ็บมากแค่ไหนค่ะ คือ จิตวิญญาณความเป็นแม่มันสั่งการให้ทำค่ะ ลูกเคยป่วยอยู่ใน icu เกือบเสียชีวิต มันเจ็บปวดที่สุดแล้ว ที่เห็นลูกเจ็บ เลยตั้งแต่นั้นมา เซนซิเทฟตลอดเรื่องเด็กน้อย\' คุณรสา เป็นทั้งแม่ที่ช่วยปกป้องสิทธิลูกในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และปกป้องเด็กๆไม่ให้ได้รับภยันตราย คุณรสาข้อมือเจ็บจากรับแรงกระแทก แต่ขยับนิ้วได้หมด x-ray แล้ว ไม่แตก ไม่ร้าว ไม่หักค่ะ หมอให้ประคบเย็น ให้ยาทา และไทลินอล มาใช้เมื่อมีอาการปวดค่ะ ตอนนี้คุณรสาอาการดีขึ้นแล้ว ให้นมลูกได้ ส่งกำลังใจให้คุณรสากันนะคะ ขอบคุณเรื่องและภาพจากพี่นก คลินิกนมแม่นครปฐม,หนังสือพิมพ์คมชัดลึก,คุณหมอศิริพัฒนา  
แชร์ให้เพื่อน

ยื่นเรื่องสนับสนุนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

[seed_social]
[seed_social]
แถลงการณ์ร่วม #องค์การยูนิเซฟ และ #องค์การอนามัยโลก ยืนยันสนับสนุนร่างพรบ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กในประเทศไทย พรบ.ควบคุม
โดย soraya
12 ธันวาคม 2017
880
แถลงการณ์ร่วม #องค์การยูนิเซฟ และ #องค์การอนามัยโลก ยืนยันสนับสนุนร่างพรบ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กในประเทศไทย จากที่มีการรายงานข่าวเกี่ยวกับร่างพรบ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก ซึ่งกำลังได้รับการพิจารณาในสภานิติบัญญัติแห่งชาติอยู่ในขณะนี้ องค์การยูนิเซฟ และองค์การอนามัยโลกขอกล่าวย้ำดังนี้ การควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก อายุ 0-3 ปี เป็นมาตรฐานที่สากลยอมรับ และสอดคล้องกับหลักเกณฑ์สากลว่าด้วยอาหารทดแทนนมแม่ โดยเมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา สมัชชาอนามัยโลกซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิกอยู่ด้วยนั้น ได้มีมติรับรอง แนวทางเพื่อหยุดการส่งเสริมอาหารทารกและเด็กเล็กอย่างไม่เหมาะสม ซึ่งได้ระบุชัดเจนว่า ไม่ควรมีการส่งเสริมการตลาดของอาหารทดแทนนมแม่ สำหรับทารกและเด็กเล็กอายุถึง 36 เดือน 2. หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ทั่วโลกที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นชัดเจนมาก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นหนึ่งในวิธีสำคัญที่พ่อแม่จะป้องกันภาวะเตี้ยแคระแกร็นในเด็กได้ ตลอดจนเป็นการส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาและด้านร่างกายของเด็ก นอกจากนี้ วารสารทางการแพทย์ The Lancet (2559) ยังแสดงให้เห็นว่า นมแม่มีความสัมพันธ์กับสติปัญญา (ไอคิว) ที่สูงขึ้นในเด็กและวัยรุ่น และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ของแม่อีกด้วย ปัจจุบันอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนในประเทศไทยอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก และต่ำที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่การส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์อาหารทดแทนนมแม่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายและดุเดือด ดังนั้น การออกกฎหมายควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งและเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สุด ในขณะที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติกำลังพิจารณาร่างกฎหมายฉบับนี้อยู่นั้น องค์การยูนิเซฟและองค์การอนามัยโลก จึงขอยืนยันจุดยืนในการสนับสนุนร่างพรบ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กในประเทศไทย Joint Statement #UNICEF and #WHO fully support proposed legislation on the control of Marketing of Breastmilk Substitutes in Thailand In response to recent media reports on the proposed legislation on the control of Marketing of Breastmilk Substitutes (BMS) in Thailand, currently under consideration by the National Legislative Assembly, UNICEF and WHO would like to reiterate the following: Regulation of marketing of#breastmilksubstitutes for children aged 0-3 years is the internationally accepted standard and is fully in line with the International Code of Marketing of Breastmilk Substitutes. The Guidance on Ending the Inappropriate Promotion of Foods for Infants and Young Children, adopted by the World Health Assembly (WHA) – of which Thailand is a member – in May 2016, clearly states that marketing should not take place for breastmilk substitutes for children up to the age of three years. 2. The global scientific evidence to support #breastfeeding is clear and decisive. Breastfeeding is one of the most important and effective things that parents can do to prevent stunting, and promote the physical and cognitive development of their children. According to the recent findings of the Lancet (2016), breastfeeding is also consistently associated with higher levels of performance in intelligence tests among children and adolescents. Additionally, breastfeeding lowers the risk of breast cancer and ovarian cancer among mothers. The rate of exclusive breastfeeding in Thailand is below the global average and the lowest in the South-East Asia Region, while aggressive marketing of breastmilk substitutes to mothers and families is widespread. The introduction of the BMS code into law is becoming ever more urgent. UNICEF and WHO reiterate their strong support the introduction of the draft “Control of Marketing of Food for Infant and Young Children Act” currently under consideration by the National Legislative Assembly. CR:Unicef thailand  
แชร์ให้เพื่อน

แถลงการณ์ร่วม #องค์การยูนิเซฟ และ #องค์การอนามัยโลก ยืนยันสนับสนุนร่างพรบ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กในประเทศไทย

[seed_social]
[seed_social]
ที่มา Milk Code พรบ.ควบคุม
โดย soraya
04 ธันวาคม 2017
2528
1.ทำไม ร่างพ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กครอบคลุมผลิตภัณฑ์ถึงอายุ 3 ปี   WHO แนะนำให้เด็กทุกคนกินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และให้นมแม่ต่อเนื่องควบคู่กับอาหารตามวัยถึง 2 ปี หรือนานกว่านั้น ตามหลักการขององค์การอนามัยโลกที่แนะนำให้เด็กได้กินนมแม่อย่างเดียวถึงอายุ 6 เดือนและกินนมแม่ต่อเนื่องควบคู่กับอาหารตามวัยจนถึงอายุ 2 ปีหรือนานกว่านั้น เนื่องมาจากผลการศึกษาวิจัยจำนวนมากทั่วโลกที่พบว่าการให้เด็กกินนมแม่ต่อเนื่องยิ่งนานยิ่งมีประโยชน์ต่อตัวแม่และเด็กทั้งในด้านสุขภาพ ความสำเร็จทางการศึกษา เศรษฐกิจและสังคม (ผลการวิจัยตีพิมพ์ใน Lancet series) ตามความเป็นจริงคือ เด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไปจำเป็นต้องได้กินนมและได้รับอาหารตามวัยที่เหมาะสมซึ่งอาหารตามวัยหมายถึงอาหารมื้อหลักเช่นข้าวบดตับบดไข่บดเป็นต้นนมผสมไม่ได้เป็นอาหารตามวัยแต่นมผสมคือนมที่นำมาใช้ทดแทนนมแม่หากแม่ยังสามารถให้นมลูกต่อเนื่องได้ แม่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้นมผสมจนถึงอายุอย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป ดังนั้น การให้ความเห็นว่านมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดของทารกตั้งแต่แรกเกิดถึงหนึ่งปีเท่านั้น จึงเป็นการบิดเบือนคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกให้เกิดความสับสนว่าเด็กควรกินนมแม่ถึงแค่อายุ 1 ปี หลักเกณฑ์สากลว่าด้วยการตลาดอาหารทดแทนนมแม่ ครอบคลุมผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กอายุถึง 3 ปี สมัชชาอนามัยโลก (World Health Assembly) และประเทศสมาชิก ได้มีมติรับรองหลักเกณฑ์สากลว่าด้วยการตลาดอาหารทดแทนนมแม่ (International Code of Marketing of Breast Milk Substitutes หรือ Code) ตั้งแต่พ.ศ.2524 และมีมติเพิ่มเติมในปีต่อๆ มาเป็นลำดับ ที่ผ่านมา บริษัทผู้ผลิตมักโต้แย้งว่า อาหารทดแทนนมแม่ (Breastmilk Substitutes - BMS) หมายถึง นมที่ใช้สำหรับเด็กแรกเกิดถึง 6 เดือนเท่านั้น และใช้โอกาสนี้ในการทำการส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์นมของเด็กอายุ1 ปีขึ้นไป แต่ล่าสุด ในที่ประชุมสมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 69 (WHA 69th, 2016) องค์การอนามัยโลกได้จัดทำ Guidance on ending inappropriate promotion of food for infants and young children (เอกสารแนบ 1) เพื่อเป็นแนวทางให้ประเทศสมาชิกมีความเข้าใจตรงกันในเรื่องของ การส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กที่ไม่เหมาะสม ซึ่งใน guidance ดังกล่าว ในข้อแนะนำที่ 2 อธิบายไว้ชัดเจนว่า BMS ให้หมายถึงอาหารหรือนมใดๆที่ทำการส่งเสริมการตลาดสำหรับเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 3 ปี และเมื่อประเทศต่างๆออกกฎหมายเพื่อบังคับใช้หลักเกณฑ์สากลว่าด้วยการตลาดอาหารทดแทนนมแม่ ก็ให้หมายความครอบคลุมผลิตภัณฑ์ถึง 3 ปี ดังนั้น การตีความหลักเกณฑ์ของ WHO ว่าใช้ควบคุมการตลาดเฉพาะกับอาหารและผลิตภัณฑ์ของทารก 1 ปีเท่านั้น จึงเป็นการตีความที่ไม่ถูกต้องตามความเข้าใจสากลที่ได้รับการยอมรับจากประเทศต่างๆ และจากองค์การระหว่างประเทศ ทารกและเด็กเล็กเป็นกลุ่มเปราะบางต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองสิทธิ สินค้าทุกชนิดจำเป็นต้องมีมาตรฐานควบคุมการโฆษณาและส่งเสริมการตลาดเพื่อป้องกันการโฆษณาชวนเชื่อและหลอกลวงประชาชนถึงคุณสมบัติสรรพคุณที่เกินจริงทารกและเด็กเล็กซึ่งเป็นประชากรกลุ่มวัยที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นช่วงที่สร้างพื้นฐานของชีวิตในระยะยาวทั้งร่างกายและสมองแต่กลับเป็นกลุ่มที่เปราะบางช่วยเหลือและตัดสินใจเลือกอาหารเองไม่ได้ นมผสมซึ่งเป็นสินค้าที่ถูกนำมาใช้เป็นอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กโดยพ่อแม่และครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวที่ลูกไม่ได้กินนมแม่ จำเป็นต้องถูกควบคุมเรื่องการโฆษณาและส่งเสริมการตลาดอย่างรัดกุมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอวดอ้างสรรพคุณทางโภชนาการและสุขภาพเพื่อจูงใจให้พ่อแม่และครอบครัวเกิดการใช้โดยไม่จำเป็นหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนั้นการควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารก (แรกเกิด- 12 เดือน)เท่านั้น อาจไม่เพียงพอในการปกป้องเด็กเล็กซึ่งเป็นประชากรในวัยเปราะบางเช่นกัน การส่งเสริมการตลาดแบบข้ามชนิด การอนุญาตให้ทำการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับเด็กเล็ก จะส่งผลให้เกิดการส่งเสริมการตลาดแบบข้ามชนิด (cross promotion) หมายถึง เมื่อมารดาและครอบครัวได้เห็นการโฆษณาและส่งเสริมการใช้อาหารสำหรับเด็กเล็กจะทำให้เกิดการเชื่อมโยงไปสู่อาหารสำหรับทารก เนื่องจาก ชื่อ ตราและสัญลักษณ์ของผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กทั้งสองกลุ่มมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ดังนั้นการควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกเท่านั้นเป็นวิธีการที่ขาดประสิทธิภาพและเปิดช่องโหว่ให้มีการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กได้   ร่างพ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง   ร่างพ.ร.บ.ฯ ฉบับนี้ ครอบคลุมผลิตภัณฑ์เหล่านี้ นมดัดแปลงสำหรับทารก นมดัดแปลงสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก อาหารสำหรับทารก อาหารสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก อาหารเสริมสำหรับทารกและเด็กเล็ก อาหารที่มีจุดมุ่งหมายในการเลี้ยงทารกและเด็กเล็กอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด   ทำไมห้ามโฆษณาทุกช่องทาง การโฆษณาเป็นการส่งเสริมการตลาดที่พบเห็นได้มากที่สุด และมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของแม่ในการเลี้ยงลูกนมผสมเช่นเดียวกัน (นงนุช, 2558) ใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ขอบเขตของการโฆษณา คือ การใช้สื่อสาธารณะที่ประชาชนทั่วไปทั้งที่ต้องการหรือไม่ต้องการได้เห็น หรือทราบข้อความได้เห็น ได้รับทราบ โดยมุ่งประโยชน์ทางการค้า สื่อสาธารณะ ประกอบด้วยโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์หรือสิ่งพิมพ์อื่นใด สื่ออิเลกทรอนิกส์ หรือสื่อสาธารณะอื่นที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ ทั้งนี้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ไม่รวมกรณีที่หญิงตั้งครรภ์ หรือแม่ที่มีลูกอายุต่ำกว่า3 ปี ได้โทรติดต่อไปหาบริษัทด้วยตนเอง หรือค้นหาความรู้การให้นมจากหน้าเว็ปของบริษัท รับทราบผลิตภัณฑ์ซึ่งโฆษณาได้ตามฉลากและไม่รวมกรณีที่แม่คนหนึ่งได้แนะนำให้แม่อีกคนหนึ่งใช้ผลิตภัณฑ์โดยไม่มีประโยชน์ทางการค้า   พ.ร.บ. ปิดกั้นการให้ข้อมูลประชาชนจริงหรือไม่ หลักเกณฑ์สากลฯ และร่างพ.ร.บ.ฯ ไม่ได้ห้ามบริษัทให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ กับบุคลากรทางการแพทย์และแม่ ครอบครัวและประชาชนทั่วไป เพียงแต่การให้ข้อมูลของบริษัทฯ จะต้องเป็นข้อความเดียวกับข้อความที่ปรากฎในฉลากที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับคณะกรรมการอาหารและยาเท่านั้น รวมถึงไม่สามารถกล่าวอ้างสรรพคุณทางโภชนาการและสุขภาพ นอกจากนี้การหากบริษัทฯ จะให้ข้อมูลกับบุคลากรทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องกล่าวอ้างสรรพคุณของผลิตภัณฑ์จะต้องมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ   พ.ร.บ.มีผลกระทบทางเศรษฐกิจหรือไม่ พ.ร.บ. ฉบับนี้ไม่กระทบต่อการพัฒนาองค์ความรู้ของประเทศ ไม่มีเนื้อหาใดจำกัดสิทธิการทำวิจัยและการศึกษาของบุคลากรทางการแพทย์ ที่สำคัญไม่ขัดกับหลักเศรษฐกิจและการค้าเสรี เนื่องจากประเทศไทยไม่ใช่ประเทศแรกที่นำหลักการของ WHO มาออกเป็นกฎหมาย มีมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลกที่ได้ผลักดัน CODE เป็นกฎหมายสำเร็จ และไม่มีประเทศใดถูกฟ้องร้องว่ากฎหมายฉบับนี้ละเมิดหลักการค้าเสรี นอกจากนี้ จากบทนำ องค์การการค้าโลก (World Trade Organization) กล่าวว่า การค้าควรมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคน และการค้าเสรีไม่ควรเป็นเป้าหมายในตัวของมันเอง หลักปฏิบัติสำคัญขององค์การการค้าโลก ได้แก่ Most favored nation - จะต้องปฏิบัติต่อสินค้านำเข้าจากทุกประเทศสมาชิกอย่างเท่าเทียมกัน National treatment - จะต้องปฏิบัติต่อสินค้าที่นำเข้าและสินค้าจากประเทศของตนอย่างเท่าเทียมกัน Health exception– ประเทศสมาชิกมีสิทธิอันชอบทำในการกำหนดข้อบังคับเพื่อคุ้มครองสุขภาพของประชาชน รัฐสามารถกำหนดระดับความเหมาะสมของข้อบังคับโดยมีพื้นฐานจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ มาตรฐานสากล แนวทางปฏิบัติ และคำแนะนำต่างๆเพื่อบรรลุเป้าหมายทางสุขภาพ เมื่อพิจารณาถึงหลักปฏิบัติที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่าการควบคุมการส่งเสริมการตลาดของอาหารทารกและเด็กเล็ก สามารถทำได้โดยไม่ขัดต่อหลักการค้าเสรีของ WTO เพราะมาตรการต่างๆในหลักเกณฑ์สากลฯ มีผลต่อผลิตภัณฑ์จากทุกประเทศทุกบริษัทอย่างเท่าเทียมกัน ไม่มีการปฏิบัติต่อสินค้านำเข้าและสินค้าในประเทศอย่างแตกต่างกัน   พ.ร.บ.มีผลกระทบต่อการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขหรือไม่ ร่างพระราชบัญญัตินี้ไม่ได้ส่งผลกระทบแง่ลบแก่บุคลากรสาธารณสุขแต่อย่างใด ตรงกันข้ามกลับช่วยป้องกันบุคลากรสาธารณสุขให้ปราศจากการมีผลประโยชน์ทับซ้อนและการเป็นสื่อบุคคลให้กับภาคธุรกิจด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนี้ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขสามารถได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่ายอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กได้ โดยต้องเป็นข้อมูลที่เป็นจริงและมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ เพื่อสร้างความมั่นใจว่า บุคลากรจะมีข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อประกอบการตัดสินใจและให้คำแนะนำแม่และครอบครัวเพื่อเลือกใช้อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กในกรณีที่จำเป็น ร่างพระราชบัญญัติห้ามผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่ายให้ของขวัญ หรือสิ่งจูงใจแก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อป้องกันการสร้างสายสัมพันธ์และการสร้างอำนาจต่อรองแก่บุคลากร เพื่อให้ตอบแทนโดยการเป็นสื่อบุคคลให้กับผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก ทั้งนี้เพราะบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเป็นบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจและความเชื่อถือจากแม่และครอบครัว ดังนั้นจึงควรวางตัวให้เหมาะสมและให้คำแนะนำแม่และครอบครัวบนพื้นฐานของข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริงปราศจากผลประโยชน์ทับซ้อน ร่างพระราชบัญญัติอนุญาตให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้าและผู้จำหน่าย ที่ประสงค์จะมอบอุปกรณ์และสิ่งของให้แก่หน่วยบริการสาธารณสุขสามารถกระทำได้โดยต้องอุปกรณ์และสิ่งของนั้นต้องไม่มีชื่อ ตรา และสัญลักษณ์ที่เชื่อมโยงถึงผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการส่งเสริมการตลาดแฝงและการจดจำชื่อ ตราสัญลักษณ์ของแม่และครอบครัวเมื่อมารับบริการ ซึ่งผู้ผลิต ผู้นำเข้าและผู้จำหน่ายที่มีความประสงค์จะทำประโยชน์เพื่อสังคมโดยไม่หวังผลทางการค้าจะไม่ถูกขัดขวางโดยร่างพระราชบัญญัตินี้   การมี พ.ร.บ.จะช่วยให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้นหรือไม่ กลยุทธ์ที่จะช่วยสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ ส่งเสริม สนับสนุน และปกป้อง ปัจจุบันประเทศไทยมีการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ผ่านการรณรงค์ การให้ความรู้กับแม่และครอบครัว  สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ สนับสนุนการลาคลอด สนับสนุนมุมนมแม่ในสถานประกอบการ  แต่ประเทศไทยยังขาดกลยุทธ์ในการปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งการมีพ.ร.บ.เป็นกลยุทธ์การปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ดีที่สุด ดังนั้นเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการช่วยให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทั้ง 3 กลยุทธ์นี้จะต้องขับเคลื่อนไปพร้อมๆกัน จากรูปด้านล่างเป็นการเปรียบเทียบอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และ GDP per Capita และ Code status โดยจะสรุปได้ว่า เศรษฐสถานะกับอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน มีความผกผันกันกล่าวคือประเทศที่ยิ่งมีเศรษฐสถานะไม่ดี ยิ่งมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนสูง แต่การมีกฎหมายหรือมาตรการควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กที่เข้มข้น (full provision and many provision law) จะช่วยทำให้ผลของเศรษฐสถานะต่ออัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง (slope ของลดลง) ดังนั้น การมีกฎหมายหรือมาตรการจะช่วยทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้นในประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลาง พ.ร.บ.นี้มีความซ้ำซ้อนกับกฎหมายหรือประกาศของคณะกรรมการอาหารและยาหรือไม่ พ.ร.บ.นี้ไม่มีความซ้ำซ้อนหรือขัดแย้งกับกฎหมาย หรือประกาศของคณะกรรมการอาหารและยา เนื่องจากว่า พ.ร.บ.นี้จะควบคุมในเรื่องของ “การส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์” ไม่ใช่ “คุณลักษณะ คุณภาพของผลิตภัณฑ์” นอกจากนี้ พ.ร.บ.นี้ไม่ได้ควบคุมฉลากของผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะเป็นไปตามข้อกำหนดตามประกาศของคณะกรรมการอาหารและยา                           
แชร์ให้เพื่อน

ที่มา Milk Code

[seed_social]
[seed_social]
ทำไมต้องควบคุมการโฆษณานมผงทารกตั้งแต่ แรกเกิดถึง 3 ปี ? พรบ.ควบคุม
โดย soraya
12 ธันวาคม 2017
2495
ทำไมต้องควบคุมการโฆษณานมผงทารกตั้งแต่ แรกเกิดถึง 3 ปี ? พรบ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก ไม่ได้ห้ามการขายนมผง ไม่ได้บังคับว่าต้องกินนมแม่นานเท่านั้นเท่านี้ เพียงแต่ห้ามการโฆษณา และส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารก(อายุ แรกเกิดถึง 1 ปี )และเด็กเล็ก(อายุ 1-3 ปี) ซึ่งเป็นช่วงอายุที่อาหารมีความสำคัญมากสำหรับการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกาย สมองและสติปัญญา นมแม่เป็นอาหารหลักสำหรับทารกแรกเกิดถึง 6 เดือน หลังจากนั้น เมื่อทารกเริ่มกินอาหารเสริม ก็จะกินนมแม่ควบคู่ไปด้วยจนถึงอายุ 2 ปี หรือมากกว่านั้น ขึ้นกับครอบครัวตัดสินใจตามบริบทของแต่ละครอบครัว เด็กอายุ 1 ปีขึ้นไปที่กินอาหารหลัก 3 มื้อ ก็ยังคงกินนมแม่ร่วมด้วยได้ ดังนั้นนมที่จะให้หลังอายุ 1 ปี ก็ยังถือว่าเป็นนมทดแทนนมแม่อยู่ดี ถึงแม้ไม่ใช่อาหารหลักค่ะ การโฆษณานมที่ใช้ทดแทนนมแม่ไม่ว่าที่อายุใดๆ จึงมีผลกระทบต่อการตัดสินใจเริ่มหรือ เลิกนมแม่ จึงควรมีการควบคุม การห้ามโฆษณา อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก ในปัจจุบันนี้ ก็ห้ามโฆษณานมผงสำหรับเด็กอายุ ต่ำกว่า 1 ปี และให้โฆษณานมผงเด็กโตเกิน 1 ปีได้ และสิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร 1. โฆษณานมสำหรับเด็กอายุ เกิน1 ปี แต่คนดูไม่รู้ว่านี่สำหรับเด็กโตเกิน 1 ปี ดูแล้วเหมารวมว่า เด็กเล็กก็กินนมชนิดนี้ได้ ทั้งนี้ เพราะ ทั้งรูปแบบกล่อง กระป๋อง ภาพข้างกล่อง ข้างกระป๋อง แทบจะเหมือนกับนมเด็กแรกเกิด ถึง 1 ปี ทุกประการ การโฆษณา นมเด็กเกิน 1 ปี จึงเท่ากับโฆษณานมทารกแรกเกิดไปด้วย อย่างนี้ภาษาโฆษณา เขาเรียก ว่า Cross Promotion คือสินค้าคนละแบบกัน แบบหนึ่งโฆษณาได้ อีกแบบห้าม ก็ใช้โลโก้ให้เหมือนกันไปเสียเลย ไม่ผิดกฎหมาย( ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือเหล้าเบียร์ที่ห้ามโฆษณา แต่น้ำดื่มโฆษณาได้ ก็เอายีห้อเบียร์ มาเป็นยีห้อน้ำ ) เรื่องนมผงก็เช่นกันค่ะ ถ้าเราบอกว่าห้ามโฆษณานมเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี แต่เกิน 1 ปี โฆษณา ได้ คราวนี้ก็สบายค่ะ ใช้โลโก้เหมือนกันทั้งนมเด็กทารก และเด็กโต เลี่ยงกฎหมาย เราจึงต้องการให้ควบคุมการโฆษณา และส่งเสริมการตลาดถึงนมอายุ 3 ปีไปเลย ตัดปัญหาเรื่อง cross promotion นี้ 2. พ่อแม่ปู่ย่าตายาย ดูโฆษณานมผงเด็กโตเกิน 1 ปี ก็เข้าใจว่า เกิน 1 ปี ควรไปกินนมผงได้แล้ว จะได้แข็งแรง ฉลาดเหมือนเด็กในโฆษณา ก็จะไปกดดันให้แม่ที่ให้ลูกกินนมแม่ถึง 1 ปี ว่าเลิกได้แล้ว มากินนมผงเถอะ เด็กไทยแทนที่จะกินนมแม่กันได้นานๆ ก็จะได้นมแม่ลดน้อยลงไปอีก 3. พ่อแม่และครอบครัว พอเห็นลูกอายุเกิน 1ปี ไม่กินข้าว ก็จะไปซื้อนมผงเด็กโตที่โฆษณามาให้กิน ด้วยเข้าใจผิดว่าเป็นนมผงทดแทนมื้ออาหารได้ ( บางคนถึงกับบอกว่าลูกไม่กินอาหาร ก็ไปซื้อนมผงชนิดนั้นๆมากินสิ เขาทำสำหรับเด็กไม่เจริญอาหาร ) ในความเห็นของดิฉัน “การปกป้องนมแม่ ควรจะปกป้องเด็กทุกอายุที่ยังกินนมแม่อยู่ และปัจจุบันนี้มีเด็กนมแม่มากมายที่กินนมแม่กันนานถึง 3ปี เราจึงควรจะปกป้องพวกเขา ให้ได้น้ำนมแม่อันทรงคุณค่าได้นานที่สุดเท่าที่แม่ลูกแต่ละคู่ต้องการ โดยปราศจากการโฆษณา และส่งเสริมการตลาด ของอาหารทารกและเด็กเล็กค่ะ ” พญ. ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล
แชร์ให้เพื่อน

ทำไมต้องควบคุมการโฆษณานมผงทารกตั้งแต่ แรกเกิดถึง 3 ปี ?

[seed_social]
[seed_social]
ทำไมจึงต้องมีพรบ code milk ในประเทศไทย พรบ.ควบคุม
โดย soraya
04 ธันวาคม 2017
1004
ทำไมจึงต้องมีพรบ code milk ในประเทศไทย     1.ประเทศไทยประกาศใช้หลักเกณฑ์ ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องมานานถึง 30ปี แต่ก็มีการละเมิดหลักเกณฑ์นี้ทุกข้อมาโดยตลอด ในทุกภาคของประเทศไทย ทั้งนี้เพราะ ไม่มีบทลงโทษ 2.การตลาดที่ขาดจริยธรรมที่ดำเนินมาเป็นเวลานาน ลดทอน การให้นมแม่ ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยในประเทศออสเตรเลีย พบว่า การโฆษณานมผงสำหรับเด็ก 1 ปีขึ้นไป มีผลต่อการรับรู้ของแม่และครอบครัว และส่งผลต่อการใช้นมผงตั้งแต่ยังเป็นทารกได้ เพราะสามารถจดจำตราผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันได้ (1) อัตราการให้นมแม่ในประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่ต่ำมาก ดูจากอัตราการให้นมแม่อย่างเดียวถึง 6 เดือน ในปี 2006 คือ 5% และค่อยๆเพิ่มอย่างช้าๆ เป็น 23% ในปี 2016 ซึ่งยังห่างจากเป้าหมายของโลกที่จะให้มีอัตราการให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน เป็น 50% ในปี 2025 (2)   เราจึงต้องมีการปกป้องการให้นมแม่ โดยการออกกฎหมายนี้ ควบคู่ไปกับ การส่งเสริม และสนับสนุนการให้นมแม่ ซึ่งได้ดำเนินงานมาโดยตลอด   อุตสาหกรรมนมผง มีมูลค่าการตลาดที่สูงมาก และขยายตัวเพิ่มมากขึ้นทุกปี ตลาดนมผงในประเทศไทยคิดเป็น ประมาณ 2% ของตลาดในปี 2014 คิดเป็นจำนวนเงิน 26,353 ล้านบาท คาดว่าตลาดจะเติบโตขึ้นเป็น 32,000 ล้านบาท ในปี 2019 เมื่อมีตลาดใหญ่ จึงมีการทำการตลาดหลายวิธีตามมา โดย ให้ข้อมูลที่ชักนำให้เข้าใจผิด ว่านมผงดีทัดเทียมกับนมแม่ด้วย แม่จึงตัดสินใจที่จะไม่ให้นมแม่ หรือตัดสินใจเลิกให้นมแม่ก่อนเวลาอันควร 4, การตลาดนมผงที่ขาดจริยธรรม และไม่เหมาะสม ส่งผลต่อการตัดสินใจ ว่าจะเลี้ยงทารกอย่างไร เนื่องจากได้รับข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน ข้อมูลเพียงด้านเดียวจากการโฆษณาไม่เพียงพอสำหรับการตัดสินใจ แม่จะตัดสินใจได้อย่างดีที่สุด เมื่อได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนรอบด้าน เกี่ยวกับการให้นมแม่ และนมผง โดยปราศจากอิทธิพลของการตลาด และการโฆษณา พรบ code milk จะได้ผลจริงหรือไม่? การออกข้อกำหนดควบคุมที่เข้มแข็ง จะทำให้ -ลดการตลาดนมผงที่ไม่เหมาะสมให้น้อยลง -ลดการใช้นมผง - เพิ่มอัตราการให้นมแม่ ยกตัวอย่างอัตราการขายนมผง และข้อกฎหมายที่แตกต่างกันระหว่างประเทศ อินเดีย และประเทศจีน ในช่วงปี 2002- 2008 มีความแตกต่างระหว่าง 2 ประเทศใหญ่ๆที่จะอธิบายกร๊าฟนี้ การขายนมผงในประเทศอินเดียเทียบกับจีน กล่าวคือ การขายนมผงในจีนเพิ่มสูงขึ้นทุกปี จาก 1000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2002 เป็น เกือบ 3500 ล้านเหรียญในปี 2008 ในขณะที่ยอดขายนมผงในอินเดียขยับขึ้นน้อยมาก (3) -ข้อแตกต่างที่สำคัญคือ กฎหมาย code นมของอินเดีย ห้ามการส่งเสริมการตลาดของนมผงและอาหารเด็กจนถึงอายุ 2 ปี ในขณะที่จีน ห้ามถึงนมผงสำหรับทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือนเท่านั้น ความแตกต่างอื่นๆเช่น 1.จีนมีประชากรในเมืองมากกว่า คือ 51% อินเดีย 31 % และมีอัตราที่ผู้หญิงทำงานนอกบ้านมากกว่า 68% เทียบกับ 29% 2.จีนมี GDP per capita สูงกว่า ( 6070 US dollar ในปี 2012 ) และ GDP growth สูงกว่า ( 9.3% จากปี 1990-2011) เทียบกับ India 1515 US dollar และ 4.9% ตามลำดับ 3. แต่อินเดียมีเด็กเกิดมากกว่าจีนถึงเกือบ 2 เท่า   ความแตกต่างของการขายนมผงในสองประเทศนี้ เด่นชัดมากว่า การมี กฎหมายที่ควบคุมการส่งเสริมการตลาดนมผงถึงอายุ ยิ่งมาก ยิ่งทำให้มีการขายนมผงได้น้อย และนั่นหมายความว่า มีการให้นมแม่มากขึ้น (อัตราการให้นมแม่ของสองประเทศนี้ก็แตกต่างกัน ที่อินเดีย ให้นมแม่อย่างเดียว 46% ที่ 1 ปี เด็กยังกินนมแม่ถึง 88% ในขณะที่จีน 28% และ 37% ตามลำดับ) ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยเราจะมี พรบ ควบคุมการส่งเสริมการตลาด อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก เพื่อปกป้องการให้นมแม่ และทำให้เด็กไทยได้รับนมแม่มากขึ้น และเป็นระยะเวลานานขึ้น ผลกำไรที่ประเทศไทยได้รับคือ สุขภาพดีของเด็ก ที่จะเติบโตเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ เป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับอนาคตของประเทศเรา เขียนโดย พญ. ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล   References 1. Nina J Berry et al, It’s all formula to me : Women’s Understanding of toddler milk ads, Breastfeeding review 2009 ; 17 (3):21-30 2. The Status of breastfeeding Practices in Thailand (MICS ,2016) 3.The Impact of Marketing of Breast-Milk Substitutes on WHO-Recommended Breastfeeding Practices . Ellen G. Piwoz, SCD, Sandra L. Huffman, ScD Research article Food and Nutrition Bulletin August 27 2015  
แชร์ให้เพื่อน

ทำไมจึงต้องมีพรบ code milk ในประเทศไทย

[seed_social]
[seed_social]