การประชุมเครือข่ายสถาบันผลิตแพทย์ ภาคเหนือ
05 มกราคม 2018
การประชุมเชิงปฏิบัติการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถาบันผลิตแพทย์
วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน 2560 - วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม 2560
ณ ห้องประชุม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะกรรมการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในสถาบันผลิตแพทย์ มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถาบันผลิตแพทย์ วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน 2560 - วันศุกร์ที่ 1 ธันวาคม 2560 ณ ห้องประชุม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเชื่อมโยงการบริการกับการจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นำเสนอตัวอย่างของการจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และระดมสมองในการบูรณาการการบริการและการจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสถาบัน
ซึ่งมีการบรรยายความรู้ทางวิชาการ เช่น แนวคิดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับนักศึกษาแพทย์ นำเสนอประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนนมแม่ใน 4 สถาบัน การใช้ยากระตุ้นน้ำนม: Domperidone จำเป็นหรือไม่ และกรณีศึกษาจากโรงพยาบาลนครพิงค์ โภชนาการมารดาตั้งครรภ์และให้นมบุตร และการแบ่งกลุ่มศึกษาสถานการณ์และการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในโรงพยาบาล 4 กลุ่ม คือ 1. คลินิกฝากครรภ์และห้องคลอด 2. หลังคลอด 3. คลินิกนมแม่ 4. คลินิกเด็กสุขภาพดี
จำนวนผู้เข้าประชุมทั้งหมด 116 คน ประกอบด้วย
โรงพยาบาล 10 แห่ง ศูนย์อนามัยเขต1 รวม 73 คน
ประกอบด้วย สูติแพทย์ 12 คนกุมารแพทย์ 11 คน พยาบาล 50 คน
จากโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โรงพยาบาลนครพิงค์ โรงพยาบาลฝาง โรงพยาบาลพะเยา โรงพยาบาลพุทธชินราช โรงพยาบาลแพร่ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลลำปาง โรงพยาบาลลำพูน โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ศูนย์อนามัยเขตที่ 1
วิทยากร 20 /เจ้าหน้าที่ 3 คน
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 20 คน
[pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/01/BF-Med-school-.pdf\" title=\"BF Med school\"]
[pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/01/Breastfeeding-Teaching-PMK-2017.ppt-วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎ.pdf\" title=\"Breastfeeding Teaching PMK 2017.ppt (วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎ)\"]
[pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/01/Nutrition-in-lactating-mother_2017.pptx.2.pptx-ชม-1-ธ.ค.60.pdf\" title=\"Nutrition in lactating mother_2017.pptx.2.pptx ชม 1 ธ.ค.60\"]
[pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/01/แนวคิดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่_.pdf\"]
[pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/01/การเรียนการสอนนมแม่-คณะแพทยศาสตร์-ม.เชียงใหม่.pdf\" title=\"การเรียนการสอนนมแม่ คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่\"]
[pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/01/การจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูก-รพ.-ชลบุรี.pdf\" title=\"การจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูก รพ. ชลบุรี\"]
[pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/01/ท้าทายการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่18112560.pdf\"]
[pdf-embedder url=\"https://thaibf.com/wp-content/uploads/2018/01/พ.ร.บ.นมผง.pdf\"]
แชร์ให้เพื่อน
SHARE
การประชุมเครือข่ายสถาบันผลิตแพทย์ ภาคเหนือ
[seed_social]
[seed_social]
การจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถาบันผลิตแพทย์
26 สิงหาคม 2017
แผนงานส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ร่วมกับคณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “การจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถาบันผลิตแพทย์ โรงเรียนแพทย์ 2-3 กันยายน 2557 จัดที่คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การอบรมครั้งมีโรงพยาบาลร่วมสอน ร่วม 12 แห่งในภาคอีสาน ได้แก่ โรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ศรีษะเกษ กาฬสินธุ์ บุรีรัมย์ เลย มหาสาคาม ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด หนองคายและอุดรธานี มีสูติ-นรีแพทย์ 6 คน กุมารแพทย์ 8 คน พยาบาลวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 66 คน คณะวิทยากร และคณะกรรมการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 21 ท่าน รวมผู้เข้าร่วม 101 คน
ในการอบรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้กับอาจารย์สูติ-นรีแพทย์และอาจารย์กุมารแพทย์ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนมแม่ในสถาบันผลิตแพทย์หรือโรงพยาบาลร่วมสอน 2) เพื่อส่งเสริมให้มีการจัดการเรียนการสอนด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถาบันผลิตแพทย์ที่เข้าร่วม
ในการอบรมได้จัดให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามหัวข้อต่อไปนี้ เรื่องการจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทางคลินิก เรื่อง Evidence based of Breastfeeding Practices โดยวิทยากรจากคณะแพทย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น สูติ-นรีแพทย์จากโรงพยาลรามาธิบดี แพทย์จากศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ กุมารแพทย์จากโรงพยาบาลเด็ก กุมารแพทย์จากโรงพยาบาลรามาธิบดี คณะพยาบาล ศิริราชราชวิทยาลัยสูตินารีแพทย์แห่งประเทศไทย มาให้ความรู้ในครั้งนี้
จากนั้นได้แบ่งกลุ่มย่อยฝึกทักษะการช่วยเหลือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในหัวข้อดังต่อไปนี้ หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก (CODE) หัวข้อการฝึกการใช้สื่อสอนแม่ในห้องฝากครรภ์ หัวข้อท่าอุ้มให้นมบุตร หัวข้อการแก้ไขปัญหาของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ หัวข้อการแก้ไขปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
จากนั้นได้แลกเปลี่ยนความคิดการจัดการเรียนการสอนในสถาบันผลิตแพทย์และได้แผน/แนวทางการสอนในคลินิกนมแม่ และการให้ความรู้ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในโรงพยาบาลที่เข้าอบรมต่อไป
รวมถึงได้ประชาสัมพันธ์และสื่อสารทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลักดันและขับเคลื่อน พรบ. CODE ในสถานบันผลิตแพทย์และโรงพยาบาลรัฐที่ร่วมสอน เพื่อให้เกิดการรับรู้ข้อมูล ความเข้าใจและให้ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนงานผลักดัน พรบ. CODE ในอนาคต
แชร์ให้เพื่อน
SHARE
การจัดการเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถาบันผลิตแพทย์
[seed_social]
[seed_social]