คุณค่าน้ำนมแม่

หญิงที่ให้นมลูกมีโอกาสลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจและความดัน
เขียนโดย soraya
10 ธันวาคม 2017
หญิงที่ให้นมลูกมีโอกาสลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจและความดัน   นมแม่ลดความเจ็บป่วย #หญิงที่ให้นมลูกมีโอกาสลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจและความดัน TedMed Talk โดย คุณอี.บิมลา ชวาซส์ (E.Bimla Schwarz) แม้ว่าโรคหัวใจ เป็น “สาเหตุการตาย” อันดับต้นๆ ของชาวอเมริกาทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย และเป็นเรื่องทนทุกข์ทรมานและต้องสูญเสียพลังงานอย่างมาก แต่หลายๆ คน ยังไม่รู้ความลับประการหนึ่งที่ การที่แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 9 เดือน จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ และแม่ที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รอบเอวจะมากกว่าแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยเฉลี่ย 6.5 ซ.ม. และมีไขมันที่หน้าท้องมากกว่า ดังนั้นในการดูแล คุณอี.บิมลา ชวาซส์ (E.Bimla Schwarz) เธอบอกคนไข้ในคลินิกให้ทำอะไรหลายๆ อย่างป้องกันโรคนี้ เช่น การงดสูบบุหรี่ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย ตลอดจนการให้ยาหลายอย่างเพื่อควบคุมระดับความดัน และ คอเลสเตอรอล เพื่อทำทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้คนไข้มีอาการจากโรคหัวใจ (heart attack) แต่....มีวิธีการที่ “ง่าย” และ “เป็นธรรมชาติ” ที่สามารถช่วยคนอเมริกันนับหมื่นต่อปีไม่ให้มี heart attack เธอรู้ดีว่านมแม่….ดีต่อลูก แล้วสำหรับแม่ล่ะ การตั้งครรภ์และการคลอดเป็นขบวนการธรรมชาติ ที่ร่างกายของแม่จะเตรียมสร้างน้ำนมตั้งแต่ขณะตั้งครรภ์ ช่วงให้นม เป็นระยะฟื้นตัว หรือเรียกว่า recovery process งานวิจัยได้พบว่า #แม่ที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นโรคหัวใจมากกว่า เส้นเลือดที่มาเลี้ยงหัวใจผู้หญิงที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีโอกาสที่จะมีแคลเซียมเกาะสูงกว่า 5 เท่า ซึ่งเป็นสัญญาณแรกๆ ที่บ่งบอกการเป็นโรคหัวใจ (เมื่อตัดปัจจัยเสี่ยงแล้ว เช่น เบาหวาน ความดัน สูบบุหรี่ การออกกำลังกาย ประวัติในครอบครัว) แต่ไม่ใช่เฉพาะเรื่องไขมัน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังมีผลต่อความดันแม่ด้วย ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการสร้างน้ำนม โปรแลคติน ออกซิทอกซิน คอร์ติซอล มีผลต่อความดันแม่เป็นเวลาหลายๆ ปี จริงๆ แล้วเราเห็นผลต่อความดันจนถึงระยะหมดประจำเดือน การควบคุมอาหารในระยะหลังตั้งครรภ์ แม้กระทั่งการวิ่งมาราธอน ยังช่วยลดความดันสู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ได้ ในเรื่องเบาหวาน กินนมแม่ 1 เดือน มีผลช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวานด้วย แต่ในเรื่องความดัน จะมีผลต่อเมื่อต้องให้ลูกกินนมแม่ 9 เดือนขึ้นไป อาจสงสัย แม่อาจจะอ้วนมีโอกาสเป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว มีการศึกษาในผู้หญิงอ้วนพบว่าได้ผลอย่างเดียวกัน คือ ถ้าไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แม่มีโอกาสเป็นความดัน เบาหวาน คอเลสเตอรอลสูงแลัวเป็นโรคหัวใจมากกว่า มีการทดลองในหนูที่เหมือนกันทุกอย่างตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ และ ขณะตั้งครรภ์ ยกเว้นเมื่อคลอดลูกกลุ่มหนึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อีกกลุ่มแยกไปเลี้ยงด้วยนมผสมและติดตามดูระยะยาว กลุ่มที่เลี้ยงลูกด้วยนมผสมมีไขมันรอบเอวหนากว่า ความดันสูงกว่าและเมื่อใช้เครื่อง Echo ตรวจหัวใจ พบว่าหัวใจทำงานไม่ค่อยดี ถ้าทารกร้อยละ 90 ของเด็กอเมริกัน สามารถได้กินนมแม่ในขวบปีแรก สามารถป้องกันหญิงอเมริกันไม่ให้เป็นโรคหัวใจได้ถึง 14,000 คน ต่อปี ในขณะที่ ปัจจุบันผู้หญิงอเมริกัน 54,000 คน ต่อปี ที่ต้องกินยาลดความดันไปตลอดชีวิตซึ่งสูญเสียเงินมหาศาลนี่เป็นเรื่องที่จริงจังที่เธอเรียกร้องโรงพยาบาลที่ยังคงให้นมผสมให้เข้าใจ เพื่อให้หยุดให้นมผสม นมผสมทุกขวดที่เข้าปากเด็ก จะไปตัดวงจรธรรมชาติ ที่ช่วยลดอาการความดัน เบาหวาน คอเลสเตอรอลในแม่ อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต้องอาศัยความตั้งใจและการสนับสนุนและดูแลแม่อย่างดี จึงจะทำสำเร็จ ตอนนี้เธอกล่าวว่า ทุกวันนี้ มีแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จ แค่ร้อยละ 8 ปัจจุบันแม่ต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น แต่มีมากมายที่ไปไม่ถึงเป้าหมาย หมายถึง แม่ต้องการการสนับสนุน และโรงพยาบาลจะต้องเป็นโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก เราจำเป็นต้องตระหนักว่า นมแม่ไม่ใช่แค่เรื่องของสุขภาพทารกที่จะดีขึ้น แต่เป็นประเด็นถึงสุขภาพของแม่เช่นกัน และโยงใยไปถึงสุขภาพของประชาชนด้วย ไม่ว่าจะเป็น พ่อ ปู่ย่าตายาย เพื่อนบ้าน หมอ โบสถ์ คนเดินถนน ทุกคนช่วยแม่ได้ สถานประกอบการควรเอื้อเฟื้อจัดมุมนมแม่ เพื่อให้แม่ปั๊มนมในสถานที่ทำงานได้ หรือ มีสถานเลี้ยงเด็กที่ที่ทำงาน ถ้าเป็นผู้นำในโรงพยาบาลก็ให้มั่นใจว่ามี คลินิกนมแม่ที่มีคุณภาพและสามารถช่วยเหลือแม่ได้อย่างดี ถ้าเป็นนักการเมือง หรือ ผู้แทนราษฎรก็ควรจะสนับสนุนเรื่องสิทธิในการลาคลอด ถึง 6 เดือน เพื่อผลักดันให้เป็นกฎหมาย นื่คือ เรื่องราวเบื้องหลังความเจ็บปวดของแม่หลังจากการคลอดลูก และยังจะต้องเสี่ยงเป็นโรคหัวใจอีกด้วย ขอบคุณข้อมูล พญ. กรรณิการ์ บางสายน้อย มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย อ้างอิงข้อมูลจาก youtu.be/o2XjA4wA4TI ภาพ ไทยรัฐออนไลน์ คอลัมน์ ชมพู่ โชว์นมแม่คุณภาพจากเต้า เผยภาพ สายฟ้ากับพายุ น่าเอ็นดูสุดๆ โดย ไทยรัฐออนไลน์ 11 ก.ย. 2560 14:30 หมายเหตุ การขออนุญาติใช้ภาพดังกล่าวนี้เพื่อสาธารณะประโยชน์เผยแพร่ความรู้กับประชาชนเท่านั้น
แชร์ให้เพื่อน

หญิงที่ให้นมลูกมีโอกาสลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจและความดัน

[seed_social]
[seed_social]
การให้นมแม่ช่วยพัฒนาสมองได้อย่างไร
เขียนโดย Admin
21 มิถุนายน 2017
วันนี้ไทยเราจะแข่งขันได้ ต้องแข่งกันที่สมองซีกขวา ซึ่งเป็นโหมดของความคิดสร้างสรรค์
แชร์ให้เพื่อน

การให้นมแม่ช่วยพัฒนาสมองได้อย่างไร

[seed_social]
[seed_social]
สารปนเปื้อน arsenic, lead และ BPA ในอาหารทารก ซึ่ง 80% เป็นนมผสม คุณค่าน้ำนมแม่
โดย soraya
10 ธันวาคม 2017
556
สารปนเปื้อน arsenic, lead และ BPA ในอาหารทารก ซึ่ง 80% เป็นนมผสม พบสารปนเปื้อน arsenic, lead และ BPA ในอาหารทารก ซึ่ง 80% เป็นนมผสม มีรายงานจากการศึกษาของกลุ่มไม่แสวงผลกำไร Clean Label Project เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ถึงการพบมีสารปนเปื้อน arsenic, lead และ BPA (industrial chemical bisphenol A) ในอาหารทารก ซึ่ง 80% เป็นนมผสม พบ arsenic มากที่สุด 80% ของนมผสมให้ผลบวกต่อ arsenic Arsenic มีพิษต่อสมอง ระบบหัวใจหลอดเลือด และยังอาจทำให้เกิดเบาหวาน มะเร็ง ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก น่ากลัวนะคะ ในเมืองไทยไม่มีองค์กรเฝ้าระวังแบบนี้ อย่าง ตะกั่ว (lead) นี่ ไม่มีระดับไหนที่จะปลอดภัยได้เลย ยังไงก็นมแม่ดีที่สุด ใช่ไหมคะ เขาตรวจจากอาหารทารกรวมทั้งหมด 530 ตัวอย่าง เมื่อ 5 เดือนที่แล้ว ในอาหารทารกยี่ห้อตามภาพ เป็นเอนฟามิลของเนสท์เล่ The study found that 65% contained arsenic, 36% had lead, 60% had BPA (industrial chemical bisphenol A) and 58% contained cadmium, a natural toxic metal typically found in plant soil and smoking products. อ่านรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ Popular baby formulas and foods contain arsenic, lead and BPA http://www.nydailynews.com/…/popular-baby-formulas-foods-ar… ขอบคุณข้อมูล พญ. กรรณิการ์ บางสายน้อย
แชร์ให้เพื่อน

สารปนเปื้อน arsenic, lead และ BPA ในอาหารทารก ซึ่ง 80% เป็นนมผสม

[seed_social]
[seed_social]
ข้อแนะนำจากสถาบันวิจัยมะเร็งของอเมริกา คุณค่าน้ำนมแม่
โดย soraya
10 ธันวาคม 2017
580
ข้อแนะนำจากสถาบันวิจัยมะเร็งของอเมริกา สถาบันวิจัยมะเร็งของอเมริกา ออกบทความสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องในเดือน Breast Cancer Awareness Month ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาค่ะ ข้อแนะนำจากสถาบันวิจัยมะเร็งของอเมริกา บอกว่าการให้นมแม่ล้วนๆ ใน 6 เดือนแรกดีที่สุด การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยปกป้องแม่จากการเป็นมะเร็งเต้านม และช่วยป้องกันโรคอ้วนในเด็ก ทำให้ความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ลดลง สถาบันวิจัยมะเร็งแห่งอเมริกา ให้ข้อแนะนำเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สอดคล้องกับองค์การอนามัยโลก และได้ update ข้อมูลจากการศึกษาทั่วโลกเรื่องนี้ 18 การศึกษา 13/18 ศึกษาเกี่ยวกับระยะเวลาให้นมแม่ พบว่า ในทุก 5 เดือนของการให้นมแม่ที่เพิ่มขึ้นจะลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมได้ร้อยละ 2 เขาบอกว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีผลต่อการลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านม เช่น การให้นมแม่ทำให้ลดระยะเวลาการ expose ต่อฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีผลต่อการเกิดมะเร็ง หรือ การ shedding ของเนื้อเยื่อเต้านมหลังการให้นมอาจช่วยขจัดเซลล์ที่มี DNA Damage ออกไปด้วย เขาพบว่าวิถีชีวิตหลายประการ ที่เพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านม การหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ การออกกำลังกายเป็นประจำ และมีน้ำหนักที่อยูในเกณฑ์สุขภาพดี ไม่อ้วน จะช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งเต้านม มีรายงานที่พบว่า ภาวะน้ำหนักเกิน นอกจากจะพบความเสี่ยงของ การเป็นมะเร็งเต้านมหลังหมดประจำเดือน แล้วยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่ หลอดอาหาร ลำไส้ใหญ่ (Colorectal) ถุงน้ำดี ตับ มดลูก ไต กระเพาะอาหาร ตับอ่อน ต่อมลูกหมาก สรุป ถ้าน้ำหนักเกิน โรคอ้วน เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งนับได้ 11 ชนิด (รวมถึงมะเร็งเต้านม)!!! เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ป้องกันโรคอ้วนในเด็กชัดเจน ลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในอนาคตเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ตั้ง 11ชนิดค่ะ อ่านรายละเอียดบทความข้อมูลได้จากนี่ค่ะ http://www.aicr.org/…/cru_breastfeeding-protects-moms-from-… อ่านเพิ่มเติมจากต้นเรื่องด้วยนะคะ ไม่น่าใจว่า หยิบมาได้หมดไหมโดยรวมคือการช่วยการันตีนมแม่จากองค์กรที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลกต่อการปกป้องทั้งแม่และเด็กจากการเป็นมะเร็ง เข้าไปในเพจของสถาบันวิจัยมะเร็งของอเมริกา มีส่วนเรื่องนมแม่โดยเฉพาะ เข้าใจว่าจะได้รายละเอียดเพิ่มเติมอีกมากนะคะ แอดมินหมอก๋ายังอ่านได้ไม่หมดค่ะ ขอบคุณข้อมูล พญ. กรรณิการ์ บางสายน้อย มูลนิธิศูนย์นมแม่ฯ
แชร์ให้เพื่อน

ข้อแนะนำจากสถาบันวิจัยมะเร็งของอเมริกา

[seed_social]
[seed_social]
นมแม่สร้าง โครงสร้างของสมอง คุณค่าน้ำนมแม่
โดย soraya
10 ธันวาคม 2017
1337
นมแม่สร้าง โครงสร้างของสมอง   Cholesterol ในน้ำนมแม่ สร้าง Myelin เป็นเปลือกหุ้มเส้นใยประสาท เป็นสมองส่วนสีขาว(White matter) การอุ้มลูกขึ้นมากอด สัมผัส ดูดนมแม่บ่อยๆกระตุ้นการงอกงามของเส้นใยเหล่านี้ให้หนาแน่นขึ้น เป็นกลุ่มๆ เชื่อมโยงแต่ละส่วนของสมอง ไว้ด้วยกัน ทุกครั้งที่ ผิวแม่สัมผัสลูก หูลูกได้ยินเสียงหัวใจแม่ ตาลูกมองเห็นหน้าแม่ เส้นใยยิ่งสร้างมากขึ้นตลอดเวลา น้ำนมแม่สร้างเส้นใยประสาทที่มีเปลือกหุ้ม ทำให้สัญญาณไฟฟ้าวิ่งไวขึ้นจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง ไฟฟ้าสมองวิ่งไวขึ้น มีการเชื่อมโยงระหว่างส่วนต่างๆของสมองเร็วขึ้น คิดเร็ว เข้าใจได้เร็ว จำได้ดีขึ้น เปรียบการสร้างใยประสาท เหมือนการสร้างโครงข่ายถนนใยแมงมุม ที่เชื่อมเมืองต่างๆไว้ด้วยกัน ถนนมาก ตรอกซอกซอยเยอะ ย่อมมีทางเลือกให้ติดต่อกันได้เร็วขึ้น ยิ่งเป็นถนนราดยาง (มีเปลือก myelin หุ้ม )รถย่อมวิ่งเร็วกว่า ถนนดินลูกรังขรุขระ วิ่งฉิวถึงจุดหมายได้เร็วกว่า ในการบรรยาย อาจารย์ได้สาธิต การเล่นซ่อนหา เพื่ออธิบายว่า สมอง ส่วน EF มี 5 กระบวนการ อะไรบ้าง ได้นำแรงบันดาลใจจากการฟังบรรยาย มาเขียน “ชวนเด็กๆมาเล่นซ่อนหากันเถอะ” ค่ะ/ แอดมินหมอติ๋ม \"ชวนเด็กๆมาเล่นซ่อนหากันเถอะ\" ยังจำความรู้สึกสนุกสนานในวัยเด็ก ตอนเล่นโป้งแปะกับพี่ๆน้องๆ หรือเพื่อนๆได้ไหมคะ เวลาพี่น้องมาเจอกันหลายๆบ้าน ก็จะรวมหัวกันโอน้อยออก หาคนที่จะหันหน้าเข้าหาหางนกยูงต้นใหญ่ ปิดตา นับหนึ่งถึงร้อย (แอบนับเร็วๆตอนทุกคนวิ่งหายไปหมดแล้ว)ขณะที่อีก 4 คนก็จะวิ่งหาที่ซ่อนตามที่ต่างๆทั้งใน และนอกบ้าน พอหันหน้ากลับมา หัวสมองเริ่มคิดแล้วว่า จะหา ใครที่ไหนก่อนดี เมื่อกี้นี้ที่ปิดตาไม่ได้ยินเสียงหมาเห่าเลย แสดงว่า ต้องไม่มีใครวิ่งไปซ่อนหลังบ้านแถวกรงหมาแน่ๆ ตัดทิ้งไปหนึ่งแห่ง หาคนเล็กก่อนดีกว่า เอ! ครั้งทีแล้วน้องคนเล็กไปแอบอยู่ในตู้เก็บของใบใหญ่แล้วคนหากันไม่เจอ ไปที่นั่นดูซิ แต่พอวิ่งไปถึงประตูที่จะเข้าบ้าน ชะงักนิดนึง ไม่เห็นมีรองเท้าใครถอดอยู่เลย แต่ก็ไม่แน่ อาจจะเข้าทางประตูหลังบ้าน หรือถือรองเท้าเข้าไปด้วยหลอกเราก็ได้ วิ่งไปห้องเก็บของ ประตูตู้ชั้นบนอยู่สูงเกินกว่าที่น้องจะเปิดถึง งั้นก็ต้องเป็นบานล่างนีแหละ ค่อยๆแง้มบานประตูตู้ เสียงไม้เสียดสีกันดัง....แอ๊ะ ..แอ๊ะ แอ๊ด......ยู้ฮู มีใครอยู่ไหม ภายในมีแต่ ถ้วยชามวางเรียงกัน ไม่ยักกะมีคนแอบอยู่ ... ผิดหวังครั้งที่ 1 ยอมแพ้ไหมคะ...ไม่ยอมสิ. ... เปลี่ยนแผนใหม่ จะมีที่ไหนอีกไหมที่เป็นที่เล็กๆพอที่น้องจะเข้าไปแอบได้ ...อ๋อ ...นึกออกแล้ว ใต้เตียงห้องนอนมีที่พอที่น้องจะซุกเข้าไปได้ แล้วก็มีผ้าคลุมปิดไว้ด้วย วิ่งไปที่ห้องนอน...ค่อยๆเลิกผ้าคลุมใต้เตียงขึ้น ...จ๊ะเอ๋ น้องนอนนิ่งเงียบ แทบไม่กระดุกกระดิก ทำตาปริบๆอยู่นี่เอง...โป้ง...ออกมาซะดีๆ แล้วพี่น้องสองคนก็สุมหัวหัวเราะกันอย่างสนุกสนาน ออกตามหาน้องอีก 2 คนที่เหลือ ไม่ปล่อยเวลาดีใจนานเกินไป การละเล่นของเด็กๆ ไม่ใช่จะได้แต่ความสนุกสนานแต่เพียงอย่างเดียวค่ะ แต่เชื่อหรือไม่ว่า นี่คือการฝึกสมองส่วน ที่ใช้ทักษะกระบวนการคิด เพื่อทำงานให้สำเร็จ ได้เป็นอย่างดีทีเดียว เริ่มต้นจากขั้นที่ 1 ตั้งเป้าหมาย คือหาน้องๆที่ซ่อนอยู่ให้เจอ วางแผน หาคนเล็กก่อน เพราะแนวโน้มน่าจะซ่อนที่เดิมๆ จากความจำที่ระลึกได้ ว่าครั้งก่อนซ่อนที่ไหน คือการเรียกเอาข้อมูลขึ้นมาใช้ working memory ถูกนำออกมาใช้ วิ่งไปดูที่แรกไม่เจอ รีบเปลี่ยนแผนตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปทันที คือมี การสับสวิชท์เปลี่ยนเกียร์สมอง หาทางใหม่ ไม่ย่อท้อต่ออะไรโดยง่าย ไม่ทิ้งงานไปกลางคัน ทั้งหมดนี้ได้ใช้การคิด เหตุผล เพื่อมาแก้ปัญหา ทั้งการใช้หูฟังเสียงขณะปิดตา และ การใช้ตาสังเกตสิ่งรอบตัว สมองคิด เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ ในที่นี้คือ หาคนที่ซ่อนอยู่ให้เจอ สรุป ทักษะการคิด เพื่อความสำเร็จในชีวิต (Executive Function) คือความสามารถของสมอง 5 ประการ คือ 1 Goal directed ตั้งเป้าหมาย 2.Self control ควบคุมตัวเองให้แน่วแน่ต่อเป้าหมาย 3.Working memory เอาความจำมาใช้งานได้ 4.Switching มีแผนสำรอง เมื่อแผนแรกล้มเหลว ยืดหยุ่น 5. Cognitive function สติปัญญา ทั้งหมดนี้ฝึกได้จากการเล่นของเด็ก. เปิดโอกาสให้เด็กๆได้เล่นตามวัย กับเพื่อนๆ เพื่อให้สมองส่วนความคิดได้ทำงานค่ะ (Slideประกอบการบรรยาย ของอ พรพิไล เลิศวิชา) ขอขอบคุณ อาจารย์ พรพิไล เลิศวิชา ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้ Brain-based Learning ที่มากระตุ้นต่อม ความคิดใสๆในวัยเด็ก ให้เกิดขึ้นอีกครั้ง ในที่ประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 6 โดย การแสดงให้เห็นว่า การเล่นซ่อนหา คือการฝึกสมองเด็กๆได้อย่างไร ได้ย้อนวัยกันอย่างสนุกสนาน อย่าลืมชวนเด็กๆมาเล่นซ่อนหากันนะคะ (อ้อ! แต่อย่าเล่นเพลินจนค่ำมืดนะคะ จำได้ว่า ผู้ใหญ่จะบอกให้เลิกเล่นก่อนพลบค่ำเสมอ ก็คงจะมีเหตุผลด้านความปลอดภัยล่ะค่ะ)  
แชร์ให้เพื่อน

นมแม่สร้าง โครงสร้างของสมอง

[seed_social]
[seed_social]
หญิงที่ให้นมลูกมีโอกาสลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจและความดัน คุณค่าน้ำนมแม่
โดย soraya
10 ธันวาคม 2017
1750
หญิงที่ให้นมลูกมีโอกาสลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจและความดัน   นมแม่ลดความเจ็บป่วย #หญิงที่ให้นมลูกมีโอกาสลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจและความดัน TedMed Talk โดย คุณอี.บิมลา ชวาซส์ (E.Bimla Schwarz) แม้ว่าโรคหัวใจ เป็น “สาเหตุการตาย” อันดับต้นๆ ของชาวอเมริกาทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย และเป็นเรื่องทนทุกข์ทรมานและต้องสูญเสียพลังงานอย่างมาก แต่หลายๆ คน ยังไม่รู้ความลับประการหนึ่งที่ การที่แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 9 เดือน จะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ และแม่ที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รอบเอวจะมากกว่าแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยเฉลี่ย 6.5 ซ.ม. และมีไขมันที่หน้าท้องมากกว่า ดังนั้นในการดูแล คุณอี.บิมลา ชวาซส์ (E.Bimla Schwarz) เธอบอกคนไข้ในคลินิกให้ทำอะไรหลายๆ อย่างป้องกันโรคนี้ เช่น การงดสูบบุหรี่ การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย ตลอดจนการให้ยาหลายอย่างเพื่อควบคุมระดับความดัน และ คอเลสเตอรอล เพื่อทำทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้คนไข้มีอาการจากโรคหัวใจ (heart attack) แต่....มีวิธีการที่ “ง่าย” และ “เป็นธรรมชาติ” ที่สามารถช่วยคนอเมริกันนับหมื่นต่อปีไม่ให้มี heart attack เธอรู้ดีว่านมแม่….ดีต่อลูก แล้วสำหรับแม่ล่ะ การตั้งครรภ์และการคลอดเป็นขบวนการธรรมชาติ ที่ร่างกายของแม่จะเตรียมสร้างน้ำนมตั้งแต่ขณะตั้งครรภ์ ช่วงให้นม เป็นระยะฟื้นตัว หรือเรียกว่า recovery process งานวิจัยได้พบว่า #แม่ที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นโรคหัวใจมากกว่า เส้นเลือดที่มาเลี้ยงหัวใจผู้หญิงที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีโอกาสที่จะมีแคลเซียมเกาะสูงกว่า 5 เท่า ซึ่งเป็นสัญญาณแรกๆ ที่บ่งบอกการเป็นโรคหัวใจ (เมื่อตัดปัจจัยเสี่ยงแล้ว เช่น เบาหวาน ความดัน สูบบุหรี่ การออกกำลังกาย ประวัติในครอบครัว) แต่ไม่ใช่เฉพาะเรื่องไขมัน การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังมีผลต่อความดันแม่ด้วย ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการสร้างน้ำนม โปรแลคติน ออกซิทอกซิน คอร์ติซอล มีผลต่อความดันแม่เป็นเวลาหลายๆ ปี จริงๆ แล้วเราเห็นผลต่อความดันจนถึงระยะหมดประจำเดือน การควบคุมอาหารในระยะหลังตั้งครรภ์ แม้กระทั่งการวิ่งมาราธอน ยังช่วยลดความดันสู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ได้ ในเรื่องเบาหวาน กินนมแม่ 1 เดือน มีผลช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวานด้วย แต่ในเรื่องความดัน จะมีผลต่อเมื่อต้องให้ลูกกินนมแม่ 9 เดือนขึ้นไป อาจสงสัย แม่อาจจะอ้วนมีโอกาสเป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว มีการศึกษาในผู้หญิงอ้วนพบว่าได้ผลอย่างเดียวกัน คือ ถ้าไม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แม่มีโอกาสเป็นความดัน เบาหวาน คอเลสเตอรอลสูงแลัวเป็นโรคหัวใจมากกว่า มีการทดลองในหนูที่เหมือนกันทุกอย่างตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ และ ขณะตั้งครรภ์ ยกเว้นเมื่อคลอดลูกกลุ่มหนึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อีกกลุ่มแยกไปเลี้ยงด้วยนมผสมและติดตามดูระยะยาว กลุ่มที่เลี้ยงลูกด้วยนมผสมมีไขมันรอบเอวหนากว่า ความดันสูงกว่าและเมื่อใช้เครื่อง Echo ตรวจหัวใจ พบว่าหัวใจทำงานไม่ค่อยดี ถ้าทารกร้อยละ 90 ของเด็กอเมริกัน สามารถได้กินนมแม่ในขวบปีแรก สามารถป้องกันหญิงอเมริกันไม่ให้เป็นโรคหัวใจได้ถึง 14,000 คน ต่อปี ในขณะที่ ปัจจุบันผู้หญิงอเมริกัน 54,000 คน ต่อปี ที่ต้องกินยาลดความดันไปตลอดชีวิตซึ่งสูญเสียเงินมหาศาลนี่เป็นเรื่องที่จริงจังที่เธอเรียกร้องโรงพยาบาลที่ยังคงให้นมผสมให้เข้าใจ เพื่อให้หยุดให้นมผสม นมผสมทุกขวดที่เข้าปากเด็ก จะไปตัดวงจรธรรมชาติ ที่ช่วยลดอาการความดัน เบาหวาน คอเลสเตอรอลในแม่ อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต้องอาศัยความตั้งใจและการสนับสนุนและดูแลแม่อย่างดี จึงจะทำสำเร็จ ตอนนี้เธอกล่าวว่า ทุกวันนี้ มีแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จ แค่ร้อยละ 8 ปัจจุบันแม่ต้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากขึ้น แต่มีมากมายที่ไปไม่ถึงเป้าหมาย หมายถึง แม่ต้องการการสนับสนุน และโรงพยาบาลจะต้องเป็นโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก เราจำเป็นต้องตระหนักว่า นมแม่ไม่ใช่แค่เรื่องของสุขภาพทารกที่จะดีขึ้น แต่เป็นประเด็นถึงสุขภาพของแม่เช่นกัน และโยงใยไปถึงสุขภาพของประชาชนด้วย ไม่ว่าจะเป็น พ่อ ปู่ย่าตายาย เพื่อนบ้าน หมอ โบสถ์ คนเดินถนน ทุกคนช่วยแม่ได้ สถานประกอบการควรเอื้อเฟื้อจัดมุมนมแม่ เพื่อให้แม่ปั๊มนมในสถานที่ทำงานได้ หรือ มีสถานเลี้ยงเด็กที่ที่ทำงาน ถ้าเป็นผู้นำในโรงพยาบาลก็ให้มั่นใจว่ามี คลินิกนมแม่ที่มีคุณภาพและสามารถช่วยเหลือแม่ได้อย่างดี ถ้าเป็นนักการเมือง หรือ ผู้แทนราษฎรก็ควรจะสนับสนุนเรื่องสิทธิในการลาคลอด ถึง 6 เดือน เพื่อผลักดันให้เป็นกฎหมาย นื่คือ เรื่องราวเบื้องหลังความเจ็บปวดของแม่หลังจากการคลอดลูก และยังจะต้องเสี่ยงเป็นโรคหัวใจอีกด้วย ขอบคุณข้อมูล พญ. กรรณิการ์ บางสายน้อย มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย อ้างอิงข้อมูลจาก youtu.be/o2XjA4wA4TI ภาพ ไทยรัฐออนไลน์ คอลัมน์ ชมพู่ โชว์นมแม่คุณภาพจากเต้า เผยภาพ สายฟ้ากับพายุ น่าเอ็นดูสุดๆ โดย ไทยรัฐออนไลน์ 11 ก.ย. 2560 14:30 หมายเหตุ การขออนุญาติใช้ภาพดังกล่าวนี้เพื่อสาธารณะประโยชน์เผยแพร่ความรู้กับประชาชนเท่านั้น
แชร์ให้เพื่อน

หญิงที่ให้นมลูกมีโอกาสลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจและความดัน

[seed_social]
[seed_social]
การให้นมแม่ช่วยพัฒนาสมองได้อย่างไร คุณค่าน้ำนมแม่
โดย Admin
21 มิถุนายน 2017
1714
วันนี้ไทยเราจะแข่งขันได้ ต้องแข่งกันที่สมองซีกขวา ซึ่งเป็นโหมดของความคิดสร้างสรรค์
แชร์ให้เพื่อน

การให้นมแม่ช่วยพัฒนาสมองได้อย่างไร

[seed_social]
[seed_social]
การให้นมแม่ช่วยพัฒนาสมองได้อย่างไร คุณค่าน้ำนมแม่
โดย Admin
21 มิถุนายน 2017
1673
วันนี้ไทยเราจะแข่งขันได้ ต้องแข่งกันที่สมองซีกขวา ซึ่งเป็นโหมดของความคิดสร้างสรรค์\" คุณ ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี กล่าวตอนหนึ่งในการสัมมนา เรื่อง \" Inspired Leadership : ก้าวเป็นที่หนึ่งด้วยแรงบันดาลใจ\" สมองของทารกแรกเกิดเริ่มพัฒนาจากสมองซีกขวาค่ะ ธรรมชาติจึงทำให้แม่ในช่วงหลังคลอดใหม่ๆ มีสมองซีกขวาที่เด่นขึ้นเป็นการชั่วคราว เพื่อจะได้สื่อสารกับลูกรู้เรื่อง ธรรมชาติได้ให้นมแม่มาด้วยค่ะ เพื่อพัฒนาสมองทั้งสองซีกของลูก เรามาช่วยกันให้เด็กไทยมีสมองที่พัฒนาได้เต็มตามศักยภาพ ด้วยนมแม่กันเถอะค่ะ การให้นมแม่ช่วยพัฒนาสมองได้อย่างไร สมองของทารกแรกเกิดมีขนาดเพียง ¼ ของสมองผู้ใหญ่เท่านั้น ทารกต้องการการเลี้ยงดูและสารอาหารที่เหมาะสมในช่วงอายุ 3 ปีแรก เพื่อให้สมองมีการเจริญพัฒนาเต็มที่ตามศักยภาพของแต่ละคน โครงสร้างสมองแบ่งเป็นส่วนๆตามการทำหน้าที่ สมองชั้นนอก สมองส่วนหน้า สมองส่วนหลัง สมองชั้นในและก้านสมอง เซลล์ประสาทในสมองจำนวนนับล้านล้านเซลล์มีการติดต่อสื่อสารส่งสัญญาณกัน ผ่านเส้นใยประสาท เกิดเป็นวงจรในสมองมากมาย นมแม่มีส่วนช่วยพัฒนาสมองลูก เพราะ 1.การอุ้มลูกขึ้นมาดูดนมแม่ทำให้ประสาทสัมผัสทุกส่วนของทารกได้รับการกระตุ้นอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงที่กินนมแม่ 2. เมื่อแม่อุ้มลูกขึ้นดูดนนมแม่ มีการส่งสัญญาณประสาทที่ผิวหนัง ที่ดวงตา ที่หู ลิ้น. ทุกส่วนล้วนสัมพันธ์กัน ทำให้ทารกมีปฏิกริยาสนองตอบ เกิดวงจรประสาทใหม่ๆขึ้นตลอดเวลา 3. สารอาหารในน้ำนมแม่มีส่วนช่วยสร้างเส้นใยประสาท เปรียบเทียบเส้นใยประสาทกับสายไฟฟ้า. สายไฟฟ้า จะมีฉนวนหุ้มอยู่ข้างนอกเพื่อให้ส่งไฟฟ้าได้ดี เส้นใยประสาทก็เช่นกันมีแผ่นไขมันหุ้มอยู่โดยรอบ เพื่อให้การส่งสัญญาณประสาทมีประสิทธิภาพ สารอาหารในน้ำนมแม่นี่แหละที่ช่วยการสร้างแผ่นไขมันนี้ : Cholesterol. DHA และไขมันอื่นๆช่วยกันสร้างแผ่นไขมัน (myelin sheath) Sialic acid ในรูปของganglioside พบสูงมากที่บริเวณเชื่มต่อของปลายประสาท น้ำนมแม่มีกรดSialic สูงถึง 0.3-1.5mg/ml Taurine. เป็นกรดอะมิโนอิสระที่พบมากที่สุดในน้ำนมแม่ ช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์ประสาท ช่วยฟื้นฟูจอประสาทตา สารอาหารที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ยังมีสารประกอบอีกมากมายในน้ำนมแม่ ที่ประสานการทำงาน และรวมพลังกัน ไม่ได้มีตัวใดตัวหนึ่งเป็นพระเอก ดังนั้น การที่นมผงกล่าวว่า ได้เติมสารนั้นนี้ตามที่มีในน้ำนมแม่ ก็ไม่ได้แปลว่า สารเหล่านั้นจะทำงานได้เหมือนในน้ำนมแม่ เพราะ ขาดส่วนประกอบอื่นอีกมากมายที่จะมาทำงานด้วยกัน เรื่องนมแม่ ไม่มีใครเป็นฮีโร่เพียงคนเดียวค่ะ เราช่วยเหลือ ร่วมกันทำงาน จึงเกิดเป็นพลังขึ้นมาได้ สารอาหาร และส่วนประกอบในน้ำนมแม่ ต่างเกื้อหนุนซึ่งกันและกันจนเกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับลูกของเราค่ะ  
แชร์ให้เพื่อน

การให้นมแม่ช่วยพัฒนาสมองได้อย่างไร

[seed_social]
[seed_social]