คำถามที่พบบ่อยหลังคลอด

เป็นก้อนไตแข็งๆ ที่เต้านม เจ็บมาก (ท่อน้ำนมอุดตัน)
เขียนโดย Admin
22 มิถุนายน 2017
ลักษณะของท่อน้ำนมอุดตัน (blocked duct) จะเป็นก้อนไตแข็งๆ ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของเต้านม โดยไม่ได้เป็นทั้งเต้า เมื่อกดลงไปจะรู้สึกเจ็บและอาจบวมแดง แต่ไม่มีไข้
แชร์ให้เพื่อน

เป็นก้อนไตแข็งๆ ที่เต้านม เจ็บมาก (ท่อน้ำนมอุดตัน)

[seed_social]
[seed_social]
ให้นมลูกอยู่ ใช้ยานี้ได้ไหม
เขียนโดย Admin
22 มิถุนายน 2017
ในกระดานสนทนามักมีคำถามเรื่องยาที่คุณแม่ได้รับมาจากแพทย์ และอยากรู้ว่าจะใช้ได้ไหม หลายครั้งก็เป็นเรื่องเร่งด่วน บางคนก็ยอมทนกับความเจ็บป่วยเพราะไม่กล้าใช้ยานั้น จนกว่าคุณหมอๆ ของเว็บไซต์จะเข้ามาตอบในกระดานสนทนา หมอจึงเขียนบทความนี้เพื่อให้คุณแม่ได้ใช้ในยามฉุกเฉิน
แชร์ให้เพื่อน

ให้นมลูกอยู่ ใช้ยานี้ได้ไหม

[seed_social]
[seed_social]
ล่าสุด
คำถามลูก
คำถามแม่
เมื่อลูกมีท่าดูดนมผิดวิธี ส่งผลให้คุณแม่เจ็บหัวนม จิปาถะ : สำหรับแม่
โดย soraya
10 ธันวาคม 2017
2674
เมื่อลูกมีท่าดูดนมผิดวิธี ส่งผลให้คุณแม่เจ็บหัวนม   คุณหมอแจ๊ค นิวแมน กุมารแพทย์ชื่อดังระดับโลกด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีผลงานวิจัยและค้นคว้าจำนวนมาก ได้เคยพูดถึงปัญหาที่พบบ่อย คือ การที่คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะรู้สึกเจ็บหัวนม ซึ่งสาเหตุที่เจอส่วนใหญ่ คือ ทารกมีท่าดูดนมที่ไม่ถูกต้อง ภาพที่ 1 เป็นท่าดูดนมที่ถูกวิธี ภาพที่ 2 เมื่อคุณแม่ได้ปรับท่าให้เป็น asymmetric latch ให้เหมือนกับภาพที่ 1 อาการเจ็บหัวนมของคุณแม่จะหายไปเลย ในภาพ asymmetrical latch คางชิดนม แต่จมูกไม่ชิด ขากรรไกรล่างและลิ้นของลูกจะสามารถกระตุ้นเต้านมบริเวณนั้น ทำให้เกิดมีการสร้างการหลั่งน้ำนมได้ดี และคุณแแม่จะไม่รู้สึกเจ็บ ตรงข้ามกับภาพที่ 2 เมื่อลูกมีท่าดูดนมไม่ถูกวิธี จมูกชิดกับเต้านม แต่คางไม่ชิด ขากรรไกรบนไม่ขยับ การกระตุ้นทำได้ไม่ดีเท่า และขากรรไกรล่างและลิ้นก็อยู่ตื้นๆ เวลาลูกดูดนม แม่จึงรู้สึกเจ็บที่หัวนมอย่างมาก ลองทบทวนและปรับท่าดูดนมของลูกให้ถูกวิธีกันเถอะค่ะ ขอบคุณข้อมูล พญ. กรรณิการ์ บางสายน้อย มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
แชร์ให้เพื่อน

เมื่อลูกมีท่าดูดนมผิดวิธี ส่งผลให้คุณแม่เจ็บหัวนม

[seed_social]
[seed_social]
อาหารตามวัย ควบคู่ไปกับนมแม่ ตอน 3 จิปาถะ : สำหรับลูก
โดย soraya
08 ธันวาคม 2017
18230
อาหารตามวัย ควบคู่ไปกับนมแม่ ตอน 3   การติดตามภาวะโภชนาการ (ว่าผอม หรือ อ้วน ไปมั้ย) และการเจริญเติบโตของลูก (สูง หรือ เตี้ย) ต้องมีการชั่งน้ำหนัก และวัดความยาว/ส่วนสูง อย่างสม่ำเสมอ ทุก 1-3 เดือน ในเด็กเล็ก ต่ำกว่า 2 ปี ใช้วิธีนอน วัดความยาว ถ้า 2-5 ปี ใช้วิธียืน วัดส่วนสูง ถ้าเด็กเล็กอยากยืนวัด ก็ให้ยืนได้ กรณีกลับกัน เด็กโตกว่า 2 ปี ไม่อยากยืน ก็นอนวัดได้ แต่ในการจุดกราฟเพื่อประเมินภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโต ต้องมีการหักลบ โดยถ้าเป็นเด็กเล็ก ยืนวัด ค่าที่ได้จะน้อยลง ต้องนำค่าที่ได้ บวกเพิ่มอีก 0.7 ซม ก่อนนำไปจุดในกราฟ ส่วนเด็กโตที่นอนวัด จะได้ค่ามากขึ้น ต้องนำค่าที่ได้ลบด้วย 0.7 ซม ก่อนนำไปจุดประเมินผลในกราฟ เพื่อทราบว่า ลูกมีโภชนาการดีหรือไม่ อ้วนหรือผอมไปหรือเปล่า ต้องใช้กราฟน้ำหนักตามเกณฑ์ความยาว/ส่วนสูง โดยแถบสีเขียว คือ ปกติ แต่มีโซนเสี่ยง เป็นสีเขียวแก่ และเขียวอ่อน เพื่อเดือนให้คุณพ่อคุณแม่เร่งจัดการแก้ไขก่อนจะผิดปกติ ส่วนถ้าอยากทราบว่าลูกมีการเจริญเติบโตดีหรือไม่ ให้ใช้กราฟน้ำหนักตามเกณฑ์ความยาว/ส่วนสูง จะทราบว่า ลูกเตี้ยหรือสูง เรามีความคาดหวังให้ลูกๆมีทั้งภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโตที่ดี ซึ่งประเมินจากกราฟทั้ง 2แบบ ให้เป็นเด็กที่ทั้งสูงและสมส่วน ไม่ใช่เตี้ยสมส่วน หรือ อ้วนไป ผอมไป ปล. คำว่า ค่อนข้างเตี้ย ค่อนข้างผอม เป็นโซนเสี่ยง แต่คำว่าเริ่มอ้วน เป็นความผิดปกติแล้ว ต้องรีบแก้ไขด่วนๆ ดูง่ายๆที่สีในกราฟ ถ้าเป็นสีเขียวยังปกติ สีส้ม สีม่วงผิดปกติ สามารถดาวน์โหลดกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็ก 0-5ปี ซึ่งปรับจาก WHO Growth Standard 2006เริ่มใช้ในประเทศไทยเมื่อปี2558 ได้ที่ http://nutrition.anamai.moph.go.th/temp/main/view.php?group=1&id=717                   
แชร์ให้เพื่อน

อาหารตามวัย ควบคู่ไปกับนมแม่ ตอน 3

[seed_social]
[seed_social]
อาหารตามวัย ควบคู่ไปกันมแม่ ตอน2 จิปาถะ : สำหรับลูก
โดย soraya
08 ธันวาคม 2017
6204
อาหารตามวัย ควบคู่ไปกันมแม่ ตอน2 อาหารทารกตามวัย คือหัวใจของทักษะชีวิตและการเจริญเติบโต โดย พญ.นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข อาหารตามวัยเป็นอีกหนึ่งจุดเริ่มของชีวิต ในการรับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ได้เรียนรู้จากการกินอาหาร หลังจากทารกได้กินนมแม่อย่างเดียวใน 6 เดือนแรกแล้ว ควรให้อาหารตามวัยที่เหมาะสม ควบคู่กับนมแม่ เหตุผลเพราะหลัง 6 เดือน ทารกต้องการพลังงานมากขึ้น (ซึ่งควรเป็นจากอาหารที่เตรียมจากข้าวบด ใส่ไข่ ตับ ปลา หมู ไก่ ผัก สลับหมุนเวียนกันไป) ไม่ใช่เพราะนมแม่หมดคุณค่า หรือ ไม่มีประโยชน์แล้ว นมแม่มีประโยชน์ เพื่อการเติบโตสมวัย ให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนแรก เมื่อครบ 6 เดือน เริ่มให้อาหารตามวัยควบคู่กับนมแม่ อย่างไรก็ตาม ถ้าแพทย์ประจำตัวของลูก ซึ่งดูแลลูกเป็นระยะมาตลอด พบว่า ในช่วง 4-6 เดือน ที่ลูกกินนมแม่อย่างเดียว แต่มีปัญหาน้ำหนักขึ้นน้อยลง และไม่ดีขึ้นแม้ว่าจะมีความช่วยเหลือด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเต็มที่แล้ว แพทย์อาจจะพิจารณาให้กินอาหารตามวัย ก่อนอายุ 6 เดือน แต่ไม่ก่อน 4 เดือน โดยควบคู่กับการกินนมแม่ ที่ต้องบอกประเด็นนี้ เนื่องจาก มีคุณแม่ส่วนหนึ่งเข้าใจผิด คิดว่า ทารกก่อน 6 เดือน จะต้องได้แต่นมเท่านั้น ยังไม่สามารถกินข้าวได้ เมื่อมีปัญหานมแม่น้อยลงและไม่ดีขึ้นแม้ว่าจะได้รับการช่วยเหลือจากคลินิกนมแม่แล้ว ก็หันไปเสริมเป็นนมผง แทนที่จะให้กินเพิ่มเป็นอาหารตามวัย ซึ่งเป็นความเสี่ยงต่อการแพ้นมวัวและโรคภัยต่างๆที่เกิดจากการกินนมผง อายุ 6 เดือน อาหารตามวัย ควรให้ลูกได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ ที่เหมาะสม โดยทั่วไปแนะนำให้เริ่มอาหารตามวัย ด้วยอาหารที่บดละเอียด หนืดพอควร แบบเกาะช้อนพอประมาณ ไม่เหลวไหลแผละ แต่ก็ไม่หนืดหนึบติดช้อน ปริมาณตามภาพที่แนะนำให้ใน 1 มื้อ แต่ถ้ากินปริมาณเท่านี้ได้ไม่หมดในมื้อเดียว สามารถแบ่งกินเป็น 2 มื้อได้ และให้ผลไม้เป็นอาหารว่าง เนื้อสัตว์ สามารถสลับ ไข่แดง เนื้อปลา ตับ (ตับ ไข่แดง วันเว้นวัน  แก้มชมพู เพราะไม่โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก) ค่อยๆเริ่มทีละอย่างเพื่อสังเกตอาการแพ้ อย่าลืมทวงยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก จากคุณหมอ ให้ลูกกินสัปดาห์ละครั้งเพื่อป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ปล 1 โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ไอคิวลดลง 3-10 จุด ปล 2 ยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของหลักประกันสุขภาพ มีผลทั้ง คนที่ใช้สิทธิข้าราชการ ประกันสังคม และสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า ลูก 7 เดือน เริ่มกินอาหารตามวัยไปเดือนนึงแล้ว ถึงเวลาเพิ่มข้าวอีก 1 ช้อน เพิ่มผักให้เต็มช้อน ส่วนไข่ ถ้ากินไข่แดงได้แล้วโดยไม่มีอาการแพ้ ช่วงนี้อาจจะเริ่มให้ไข่ขาวได้แล้วนะคะ แต่ถ้ากลัวแพ้อาจจะขยับไปเริ่มหลังจากอายุ 1 ปี โดยให้โปรตีนจากแหล่งอื่น เช่น เนื้อปลา ตับ หมู ไก่ โดยเริ่มและสังเกตทีละอย่าง ลูกอาจจะกินปริมาณที่เตรียมนี้ไม่หมดในครั้งเดียว สามารถเตรียมให้วันละ 2ครั้ง แต่ไม่ควรเกิน 3 ครั้งต่อวันนะคะ เพราะลูกยังจะมีผลไม้เป็นอาหารว่างอีกมื้อนึง   ลูกอายุ 8 เดือน เพิ่มข้าวอีก 1 ช้อน เป็น 4 ช้อนต่อมื้อ เนื้อสัตว์และผักอย่างละ 1 ช้อน เตรียมแบบหยาบกว่าเดิมได้ละค่ะ ให้วันละ 2 ครั้ง ซึ่งถ้ากินไม่หมดในมื้อเดียว อาจจะปรับปริมาณให้กินเป็นวันละ 3 ครั้งเพื่อให้ได้ปริมาณต่อวันตามกำหนด และเพิ่มผลไม้เป็น 3 ชิ้นเพื่อเป็นอาหารว่าง มีคำถามว่า ทำไมต้องใส่น้ำมันพืช ครึ่งช้อนชา เหตุผลคือจากสูตรอาหารนี้ น้ำมันเป็นส่วนหนึ่งที่ให้พลังงาน ทั้งยังช่วยการดูดซึมวิตามินเอ ดี อี เค ที่ละลายในไขมัน และจากประสบการณ์ส่วนตัว น้ำมันพืชทำให้อาหารนวลเนียน อร่อยขึ้นด้วยค่ะ   ลูกอายุ 9-12 เดือน กินอาหารเพิ่มเป็น 3 มื้อ ฝึกทักษะการเคี้ยวให้ลูกด้วยการเพิ่มความหยาบของอาหาร หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ฝึกให้ลูกกินเอง ด้วยการให้จับช้อน หรือ หยิบจับอาหารกินเอง อย่าลืมล้างมือลูกให้สะอาดก่อน ช่วยสอนสุขนิสัยโดยการปฏิบัติตั้งแต่ยังเล็ก ควรให้ลูกได้เรียนรู้รสจากธรรมชาติ ไม่ควรปรุงรสอาหาร ที่สำคัญ อย่าลืม!! ติดตามการเจริญเติบโตของลูกอย่างสม่ำเสมอ โดยการใช้กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 0-5 ปี
แชร์ให้เพื่อน

อาหารตามวัย ควบคู่ไปกันมแม่ ตอน2

[seed_social]
[seed_social]
อาหารตามวัย ควบคู่ไปกับนมแม่ ตอน 3 จิปาถะ : สำหรับลูก
โดย soraya
08 ธันวาคม 2017
18230
อาหารตามวัย ควบคู่ไปกับนมแม่ ตอน 3   การติดตามภาวะโภชนาการ (ว่าผอม หรือ อ้วน ไปมั้ย) และการเจริญเติบโตของลูก (สูง หรือ เตี้ย) ต้องมีการชั่งน้ำหนัก และวัดความยาว/ส่วนสูง อย่างสม่ำเสมอ ทุก 1-3 เดือน ในเด็กเล็ก ต่ำกว่า 2 ปี ใช้วิธีนอน วัดความยาว ถ้า 2-5 ปี ใช้วิธียืน วัดส่วนสูง ถ้าเด็กเล็กอยากยืนวัด ก็ให้ยืนได้ กรณีกลับกัน เด็กโตกว่า 2 ปี ไม่อยากยืน ก็นอนวัดได้ แต่ในการจุดกราฟเพื่อประเมินภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโต ต้องมีการหักลบ โดยถ้าเป็นเด็กเล็ก ยืนวัด ค่าที่ได้จะน้อยลง ต้องนำค่าที่ได้ บวกเพิ่มอีก 0.7 ซม ก่อนนำไปจุดในกราฟ ส่วนเด็กโตที่นอนวัด จะได้ค่ามากขึ้น ต้องนำค่าที่ได้ลบด้วย 0.7 ซม ก่อนนำไปจุดประเมินผลในกราฟ เพื่อทราบว่า ลูกมีโภชนาการดีหรือไม่ อ้วนหรือผอมไปหรือเปล่า ต้องใช้กราฟน้ำหนักตามเกณฑ์ความยาว/ส่วนสูง โดยแถบสีเขียว คือ ปกติ แต่มีโซนเสี่ยง เป็นสีเขียวแก่ และเขียวอ่อน เพื่อเดือนให้คุณพ่อคุณแม่เร่งจัดการแก้ไขก่อนจะผิดปกติ ส่วนถ้าอยากทราบว่าลูกมีการเจริญเติบโตดีหรือไม่ ให้ใช้กราฟน้ำหนักตามเกณฑ์ความยาว/ส่วนสูง จะทราบว่า ลูกเตี้ยหรือสูง เรามีความคาดหวังให้ลูกๆมีทั้งภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโตที่ดี ซึ่งประเมินจากกราฟทั้ง 2แบบ ให้เป็นเด็กที่ทั้งสูงและสมส่วน ไม่ใช่เตี้ยสมส่วน หรือ อ้วนไป ผอมไป ปล. คำว่า ค่อนข้างเตี้ย ค่อนข้างผอม เป็นโซนเสี่ยง แต่คำว่าเริ่มอ้วน เป็นความผิดปกติแล้ว ต้องรีบแก้ไขด่วนๆ ดูง่ายๆที่สีในกราฟ ถ้าเป็นสีเขียวยังปกติ สีส้ม สีม่วงผิดปกติ สามารถดาวน์โหลดกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็ก 0-5ปี ซึ่งปรับจาก WHO Growth Standard 2006เริ่มใช้ในประเทศไทยเมื่อปี2558 ได้ที่ http://nutrition.anamai.moph.go.th/temp/main/view.php?group=1&id=717                   
แชร์ให้เพื่อน

อาหารตามวัย ควบคู่ไปกับนมแม่ ตอน 3

[seed_social]
[seed_social]
อาหารตามวัย ควบคู่ไปกันมแม่ ตอน2 จิปาถะ : สำหรับลูก
โดย soraya
08 ธันวาคม 2017
6204
อาหารตามวัย ควบคู่ไปกันมแม่ ตอน2 อาหารทารกตามวัย คือหัวใจของทักษะชีวิตและการเจริญเติบโต โดย พญ.นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข อาหารตามวัยเป็นอีกหนึ่งจุดเริ่มของชีวิต ในการรับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ได้เรียนรู้จากการกินอาหาร หลังจากทารกได้กินนมแม่อย่างเดียวใน 6 เดือนแรกแล้ว ควรให้อาหารตามวัยที่เหมาะสม ควบคู่กับนมแม่ เหตุผลเพราะหลัง 6 เดือน ทารกต้องการพลังงานมากขึ้น (ซึ่งควรเป็นจากอาหารที่เตรียมจากข้าวบด ใส่ไข่ ตับ ปลา หมู ไก่ ผัก สลับหมุนเวียนกันไป) ไม่ใช่เพราะนมแม่หมดคุณค่า หรือ ไม่มีประโยชน์แล้ว นมแม่มีประโยชน์ เพื่อการเติบโตสมวัย ให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนแรก เมื่อครบ 6 เดือน เริ่มให้อาหารตามวัยควบคู่กับนมแม่ อย่างไรก็ตาม ถ้าแพทย์ประจำตัวของลูก ซึ่งดูแลลูกเป็นระยะมาตลอด พบว่า ในช่วง 4-6 เดือน ที่ลูกกินนมแม่อย่างเดียว แต่มีปัญหาน้ำหนักขึ้นน้อยลง และไม่ดีขึ้นแม้ว่าจะมีความช่วยเหลือด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเต็มที่แล้ว แพทย์อาจจะพิจารณาให้กินอาหารตามวัย ก่อนอายุ 6 เดือน แต่ไม่ก่อน 4 เดือน โดยควบคู่กับการกินนมแม่ ที่ต้องบอกประเด็นนี้ เนื่องจาก มีคุณแม่ส่วนหนึ่งเข้าใจผิด คิดว่า ทารกก่อน 6 เดือน จะต้องได้แต่นมเท่านั้น ยังไม่สามารถกินข้าวได้ เมื่อมีปัญหานมแม่น้อยลงและไม่ดีขึ้นแม้ว่าจะได้รับการช่วยเหลือจากคลินิกนมแม่แล้ว ก็หันไปเสริมเป็นนมผง แทนที่จะให้กินเพิ่มเป็นอาหารตามวัย ซึ่งเป็นความเสี่ยงต่อการแพ้นมวัวและโรคภัยต่างๆที่เกิดจากการกินนมผง อายุ 6 เดือน อาหารตามวัย ควรให้ลูกได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ ที่เหมาะสม โดยทั่วไปแนะนำให้เริ่มอาหารตามวัย ด้วยอาหารที่บดละเอียด หนืดพอควร แบบเกาะช้อนพอประมาณ ไม่เหลวไหลแผละ แต่ก็ไม่หนืดหนึบติดช้อน ปริมาณตามภาพที่แนะนำให้ใน 1 มื้อ แต่ถ้ากินปริมาณเท่านี้ได้ไม่หมดในมื้อเดียว สามารถแบ่งกินเป็น 2 มื้อได้ และให้ผลไม้เป็นอาหารว่าง เนื้อสัตว์ สามารถสลับ ไข่แดง เนื้อปลา ตับ (ตับ ไข่แดง วันเว้นวัน  แก้มชมพู เพราะไม่โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก) ค่อยๆเริ่มทีละอย่างเพื่อสังเกตอาการแพ้ อย่าลืมทวงยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก จากคุณหมอ ให้ลูกกินสัปดาห์ละครั้งเพื่อป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ปล 1 โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ไอคิวลดลง 3-10 จุด ปล 2 ยาน้ำเสริมธาตุเหล็ก อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ของหลักประกันสุขภาพ มีผลทั้ง คนที่ใช้สิทธิข้าราชการ ประกันสังคม และสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า ลูก 7 เดือน เริ่มกินอาหารตามวัยไปเดือนนึงแล้ว ถึงเวลาเพิ่มข้าวอีก 1 ช้อน เพิ่มผักให้เต็มช้อน ส่วนไข่ ถ้ากินไข่แดงได้แล้วโดยไม่มีอาการแพ้ ช่วงนี้อาจจะเริ่มให้ไข่ขาวได้แล้วนะคะ แต่ถ้ากลัวแพ้อาจจะขยับไปเริ่มหลังจากอายุ 1 ปี โดยให้โปรตีนจากแหล่งอื่น เช่น เนื้อปลา ตับ หมู ไก่ โดยเริ่มและสังเกตทีละอย่าง ลูกอาจจะกินปริมาณที่เตรียมนี้ไม่หมดในครั้งเดียว สามารถเตรียมให้วันละ 2ครั้ง แต่ไม่ควรเกิน 3 ครั้งต่อวันนะคะ เพราะลูกยังจะมีผลไม้เป็นอาหารว่างอีกมื้อนึง   ลูกอายุ 8 เดือน เพิ่มข้าวอีก 1 ช้อน เป็น 4 ช้อนต่อมื้อ เนื้อสัตว์และผักอย่างละ 1 ช้อน เตรียมแบบหยาบกว่าเดิมได้ละค่ะ ให้วันละ 2 ครั้ง ซึ่งถ้ากินไม่หมดในมื้อเดียว อาจจะปรับปริมาณให้กินเป็นวันละ 3 ครั้งเพื่อให้ได้ปริมาณต่อวันตามกำหนด และเพิ่มผลไม้เป็น 3 ชิ้นเพื่อเป็นอาหารว่าง มีคำถามว่า ทำไมต้องใส่น้ำมันพืช ครึ่งช้อนชา เหตุผลคือจากสูตรอาหารนี้ น้ำมันเป็นส่วนหนึ่งที่ให้พลังงาน ทั้งยังช่วยการดูดซึมวิตามินเอ ดี อี เค ที่ละลายในไขมัน และจากประสบการณ์ส่วนตัว น้ำมันพืชทำให้อาหารนวลเนียน อร่อยขึ้นด้วยค่ะ   ลูกอายุ 9-12 เดือน กินอาหารเพิ่มเป็น 3 มื้อ ฝึกทักษะการเคี้ยวให้ลูกด้วยการเพิ่มความหยาบของอาหาร หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ฝึกให้ลูกกินเอง ด้วยการให้จับช้อน หรือ หยิบจับอาหารกินเอง อย่าลืมล้างมือลูกให้สะอาดก่อน ช่วยสอนสุขนิสัยโดยการปฏิบัติตั้งแต่ยังเล็ก ควรให้ลูกได้เรียนรู้รสจากธรรมชาติ ไม่ควรปรุงรสอาหาร ที่สำคัญ อย่าลืม!! ติดตามการเจริญเติบโตของลูกอย่างสม่ำเสมอ โดยการใช้กราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตสำหรับเด็ก 0-5 ปี
แชร์ให้เพื่อน

อาหารตามวัย ควบคู่ไปกันมแม่ ตอน2

[seed_social]
[seed_social]
อาหารตามวัย ควบคู่ไปกับนมแม่ ตอน 1 จิปาถะ : สำหรับลูก
โดย soraya
08 ธันวาคม 2017
2972
อาหารตามวัย ควบคู่ไปกับนมแม่ ตอน 1   แชร์ประสบการณ์ให้นมลูก ประสบการณ์จากความเป็นแม่หัวนมบอด คลอดในโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ที่จับแม่ลูกแยกกัน กว่าจะได้เลี้ยงก็ผ่านไปเกินวัน จนเต้านมคัด ลูกดูดไม่ได้ร้องไห้โยเย พยายามศึกษาด้วยตนเองจนสามารถให้ลูกดูดจนหัวนมยื่นออกมาจนได้ ลูกได้กินนมแม่ 1 ปีเต็ม แต่ความที่ได้นมผงร่วมด้วยตั้งแต่แรกเกิด บวกกับความเข้าใจผิดที่อยากให้ลูกในท้องน้ำหนักขึ้นดีๆ ด้วยการกินนมวันละลิตรช่วงท้อง ผสมกับประวัติภูมิแพ้หอบหืดของแม่ ลูกชายจึงโตมาแบบแพ้นมวัว มีอาการตามตำราเป๊ะๆ ยันโต ด้วยปัญหาที่เจอกับตัวเหล่านี้ จึงอยากช่วยเหลือแม่ให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จ อาศัยช่วงเวลาที่ทำงานเป็นหมอเด็กในโรงพยาบาลแม่และเด็ก (หรือชื่อว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 13 กรุงเทพฯ ในปัจจุบัน) ศึกษาเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างจริงจัง และสอบได้ใบอนุญาตเป็นที่ปรึกษานมแม่ระหว่างประเทศ (International Board Certified Lactation Consultant: IBCLC) ตั้งแต่ปี 2007 หลังจากนั้นเริ่มพบว่าเด็กที่กินนมแม่ได้ แต่กินข้าวต่อไม่เป็น จึงหันมาสนใจการให้อาหารตามวัยที่ถูกต้อง เป็นช่วงเวลาที่ทำให้เบนเข็มการทำงานเข้ามาอยู่ในสำนักโภชนาการ หลังจากได้เป็นหัวหน้าหน่วยงานนี้ จึงได้ให้นักโภชนาการปรับปรุงคำแนะนำการให้อาหารตามวัยที่บรรจุอยู่ในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (สมุดชมพู) ให้ง่ายต่อการเข้าใจและปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตาม สมุดชมพูนี้ จะแพร่หลายเฉพาะในคุณแม่ที่มารับบริการในหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ไม่ครอบคลุมถึงหน่วยงานสังกัดอื่นและเอกชน ทั้งๆที่กรมอนามัยตั้งงบทุกปีเพื่อพิมพ์สมุดนี้เพียงพอสำหรับแม่และเด็กทั่วประเทศไม่ขึ้นกับสังกัด แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมในภาคเอกชน หมอหย่งจึงอาศัยโอกาสที่มีกิจกรรมกลุ่มของแม่อาสาศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทยฯ มาให้ความรู้ และสื่อสารผ่านทางสื่อโซเชียล เกี่ยวกับการให้อาหารตามวัยที่ถูกต้อง  
แชร์ให้เพื่อน

อาหารตามวัย ควบคู่ไปกับนมแม่ ตอน 1

[seed_social]
[seed_social]
ปัญหาติดจุก (NIPPLE CONFUSION) ปัญหาการดูดนมของลูก
โดย Admin
10 กันยายน 2017
2636
การที่ลูกปฏิเสธนมแม่ แต่ยอมกินจากขวดผ่านจุกนมยาง คืออาการสับสนระหว่างจุกนมแม่และจุกนมปลอม (NIPPLE CONFUSION) ซึ่งปัญหานี้นี่เองที่สาเหตุหลักที่ทำให้แม่เข้าใจผิดว่าตนเองไม่มีน้ำนม หันไปชงนมผงใส่ขวดให้ลูกดูดกิน ทั้งที่เต้านมอาจคัดแข็งและเต็มไปด้วยน้ำนมก็ตาม ปัญหานี้เกิดจากความเข้าใจผิดๆ ว่า การกินนมจากเต้าแม่ก็เหมือนกับการกินนมจากขวด ทารกที่กินนมจากขวดตั้งแต่อายุน้อยมากๆ จะมีปัญหาในการดูดนมแม่ เพราะนมแม่และขวดวิธีดูดที่แตกต่างกัน การดูดนมแม่ ลูกต้องใช้ลิ้นและขยับกรามล่างเพื่อ “รีด” น้ำนมออกจากกระเปาะน้ำนม เมื่อลูกกินนมแม่ ลูกต้องอ้าปากกว้างและอมหัวนมแม่ไปถึงลานนม หัวนมแม่จะยืดไปถึงด้านในปากของลูก ลิ้นของลูกจะห่อลานนมที่ยืดและกดให้แนบไปกับเพดานปาก เมื่อลูกขยับลิ้นและกราม น้ำนมจะถูกรีดออกมาตามจังหวะที่ลูกขยับกราม หากลูกดูดตามวิธีดังกล่าว หัวนมจะอยู่ด้านในสุดของช่องปาก ทำให้แม่ไม่รู้สึกเจ็บหัวนม การดูดนมขวด (จุกนมยาง) น้ำนมจะไหลผ่านรูที่จุกนมยาง โดยอาศัยแรงโน้มถ่วง ดังนั้นลูกไม่ต้องออกแรงในการกินนม ลูกไม่ต้องอ้าปากกว้าง แต่จะห่อริมฝีปากให้เล็กและแน่น จุกนมยางไม่ยืดถึงส่วนในสุดของช่องปาก ลูกไม่ต้องใช้ลิ้นรีดเพื่อเอาน้ำนมออกจากจุกนมยาง ลูกจะดูดแผ่วๆ และงับกัดจุกนมยางเพื่อให้น้ำนมไหลออกจากขวด เมื่อน้ำนมไหลเร็วเกินไป ลูกจะใช้ลิ้นดุนขึ้นเพื่อชะลอการไหลของนม น้ำนมไหลไม่หยุดและเอ่อล้นอยู่ในปาก ไม่ว่าลูกจะดูดหรือไม่ดูดก็ตาม เมื่อลูกเคยชินกับการกินนมจากขวด ซึ่งง่ายกว่าการกินนมแม่ จะทำให้ลูกปฏิเสธเต้าแม่ และถึงแม้ว่าลูกจะยอมกินนมแม่ก็ตาม ลูกจะกัดนมแม่ ด้วยเหตุที่เคยชินกับการกัดงับให้น้ำนมไหลเข้าปากนั่นเอง อาการติดจุก สังเกตุได้ดังนี้ ทารกที่กินนมขวดตั้งแต่แรกเกิดจะเอาลิ้นดุนนมแม่ออกจากปาก ทารกไม่อ้าปากกว้า และจะดูด/งับที่หัวนมแม่ (ไม่อมถึงลานนม) แม่จะเจ็บหัวนมและลูกจะไม่ได้รับน้ำนมมากพอเพราะกลไกดูดที่ผิดนี้ไม่สามารถรีดน้ำนมออกจากเต้าแม่ได้ ทารกที่กินจากจุกนมยางจะเคยชินกับน้ำนมที่ไหลออกทันทีที่มีจุกนมเข้าปาก จะไม่รอจนน้ำนมพุ่ง (Milk Ejection Reflex หรือความรู้สึกจี๊ดที่เต้า) ที่จะเกิดขึ้นประมาณ 1-2 นาทีหลังจากเริ่มดูด หลายคนอาจด่วนสรุปว่าให้กินจากขวดไปเลย เพราะง่ายกว่า แต่มีการศึกษาเปรียบเทียบแล้วว่าทารกที่กินนมแม่จะมีความเครียดน้อยกกว่าทารกที่กินนมขวด เพราะ การหายใจและอัตราการเต้นของหัวใจสม่ำเสมอกว่า ทารกสามารถควบคุมปริมาณการไหลของน้ำนมแม่ได้ ตามจังหวะ ดูด กลืน หยุด การกินนมจากเต้าเป็นธรรมชาติกว่า ใช้พลังงานน้อยกว่า วิธีป้องกันปัญหาติดจุก เพราะทารกต้องฝึกฝนทักษะการดูดกินนมจากเต้าแม่ในช่วง 1 เดือนแรก จึงไม่ควรให้ทารกกินนมจากจุกนมยางในช่วงอายุน้อยกว่า 1-2 เดือน (รวมถึงจุกนมหลอก หรือ pacifier ด้วย) แม่หลายคนที่ต้องกลับไปทำงานอาจกังวลเรื่องลูกติดเต้า ไม่ยอมกินนมจากขวดระหว่างแม่ไปทำงาน จึงต้องการฝึกให้ลูกยอมรับขวดตั้งแต่วัยเพียงไม่กี่สัปดาห์ แต่วิธีนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาติดจุกได้ เพราะเมื่อลูกติดจุกและไม่ยอมดูดจากเต้า ปัญหาอื่นๆ อาจจะหนักกว่ากับการอดทนฝึกให้ลูกกินจากขวดหรือวิธีอื่นๆ (แก้ว/ ช้อน/ หลอด) ตอนลูกอายุ 2-3 เดือน วิธีแก้อาการติดจุก ทำอย่างไรให้หายสับสน งดขวด จุกนมยาง จุกนมหลอก (ต้องใจแข็งค่ะ) ป้อนนมลูกด้วยวิธีอื่น (แก้ว/ ช้อน/ หลอด) อุ้มลูกบ่อยๆ ให้ลูกเคยชินกับไออุ่นจากอกแม่ ให้ลูกกินนมจากอกเมื่อลูกอารมณ์ดี ไม่หงุดหงิด อย่ารอให้ลูกหิวจัด เช็คดูว่าลูกกินนมถูกวิธีหรือไม่ อ้าปากกว้างก่อนงับ และอมถึงลานนมหรือไม่ ปั๊มนมหรือกระตุ้นให้น้ำนมพุ่งก่อนให้ลูกดูด ทารกที่ติดจุกจะพอใจเมื่อดูดปุ๊บ น้ำนมไหลปั๊บ จะยอมรับเต้านมแม่ง่ายขึ้น ใช้ดรอปเปอร์หรือไซริงค์หยอดน้ำนมที่มุมปากของลูกทันทีเมื่อลูกเข้าเต้า ก่อนที่ลูกจะหงุดหงิดไม่ยอมรับเต้าแม่ ปรึกษาคลินิคนมแม่ หรือแม่อาสา ทารกที่ติดจุกจะทำหน้างงงวยเมื่อต้องกินนมแม่แทนนมขวด ปัญหานี้แก้ไม่ยากถ้าแม่เข้มแข็งและแน่วแน่และแม่จะต้องอดทนกับเสียงร้องของลูกเพียงไม่กี่วันเท่านั้น อย่าลืมให้กำลังใจกับลูกเมื่อลูกยอมดูด แม้จะเป็นเพียงชั่วครู่ก็ตาม อย่าลืมว่าการป้องกันปัญหาติดจุกง่ายกว่าการแก้นะคะ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคืออย่าเริ่มให้ลูกกินนมจากขวดเร็วเกินไป ให้ใช้แก้ว ช้อน หรือหลอดป้อน จะสามารถป้องกันมิให้ลูกเกิดความสับสนระหว่างนมแม่และจุกนมยางได้ค่ะ
แชร์ให้เพื่อน

ปัญหาติดจุก (NIPPLE CONFUSION)

[seed_social]
[seed_social]
จำเป็นต้องเสริมนมขวดด้วยไหม? ลูกจะติดจุกนมไหม? ปัญหาการดูดนมของลูก
โดย Admin
10 กันยายน 2017
1034
(จากหนังสือ นมแม่...50 คำถามยอดฮิต)          น้ำนมของสัตว์แต่ละชนิดผลิตขึ้นมาเพื่อให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของลูกสัตว์ชนิดนั้นมากที่สุด เช่น น้ำนมของแมวน้ำจะมีไขมันสูงเพื่อให้ลูกแมวน้ำใช้พลังงานต่อสู้กับความหนาวเย็น ถ้านำนมวัวมาให้ลูกแมวน้ำกิน อาจทำให้ลูกแมวน้ำได้รับไขมันไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตได้ น้ำนมของคนเราก็เช่นกัน ดังจะเห็นได้จากการที่มนุษย์มีสมองไว้คิดแก้ไขปัญหา ในน้ำนมแม่จึงอุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารที่ทำให้สมองทารกเจริญเติบโตได้ดีที่สุด ไม่มีน้ำนมของสัตว์ชนิดอื่นใดเทียบเท่าหรือแทนที่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น หากนำนมวัวมาให้ลูกคนกิน โอกาสที่จะได้รับสารบำรุงสมองอย่างเต็มที่ก็จะถูกลดทอนลงได้ เหตุผลสำคัญที่ทารกแรกเกิดทุกคนควรได้รับน้ำนมแม่ โดยไม่ต้องเสริมนมผสม เพราะว่า ในนมแม่มีสารบำรุงสมองที่เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของทารกมากที่สุด ทารกที่กินนมผสมเสี่ยงต่อการเกิดโรคแพ้โปรตีนนมวัวได้ การเสริมนมผสมเป็นอุปสรรคต่อการให้นมแม่ได้ เนื่องจากนมวัวย่อยยากกว่า จะมีระยะเวลาอยู่ในกระเพาะอาหาร ( gastric emptying time ) นาน ดังนั้นเด็กที่กินนมผสมจะอยู่ท้องนานกว่าและนอนนาน การดูดกระตุ้นเต้านมแม่น้อยลง ทำให้กลไกการผลิตน้ำนมน้อยลงและหยุดผลิตในที่สุด การเสริมนมผสมจากขวดนม ทำให้ลูกติดการดูดจุกนม เพราะนมไหลเข้าปากเร็ว ไม่ต้องออกแรงดูดมาก และวิธีดูดนมจากจุกนมต่างจากวิธีดูดนมจากเต้าแม่ ดังนั้น หากลูกชินกับการดูดจุกนมแล้วมาดูดนมแม่ด้วยวิธีเดียวกัน น้ำนมแม่จะไม่ออก ทำให้ลูกหงุดหงิด ร้องเมื่อดูดนมแม่ แม่จึงต้องให้นมผสมเพิ่มมากขึ้น จนต้องหยุดให้นมแม่ไปในที่สุด ความแตกต่างระหว่างการดูดนมแม่และการดูดนมขวด การดูดนมแม่ ลูกจะต้องอ้าปากกว้างเพื่อให้ทั้งหัวนมและลานนมเข้าไปอยู่ในปาก เหงือกลูกจะงับลงบนลานนม ลิ้นรองรับอยู่ใต้ลานนม กดหัวนมและลานนมแนบกับเพดานปาก หัวนมแม่ที่สัมผัสบริเวณเพดานปากของลูกจะกระตุ้นให้ลูกเริ่มดูดนม เหงือกจะขยับขึ้นลง และลิ้นจะรีดน้ำนมจากท่อน้ำนมเข้าสู่ปาก การดูดนมขวด ลูกจะไม่อ้าปากกว้าง จะใช้เหงือกกัดหัวนมยาง เพื่อให้น้ำนมไหลช้าลง ถ้าเป็นจุกนมที่มีรูใหญ่ น้ำนมออกมาก การดูดจะง่ายกว่าดูดนมแม่ นอกจากนี้ลูกอาจจะใช้ลิ้นอุดรูที่จุกยางเพื่อให้น้ำนมไหลช้าลง ทำให้ติดนิสัยกระดกลิ้นไว้ด้านในของปาก และไม่แลบลิ้นออกมาเวลาดูดนมแม่
แชร์ให้เพื่อน

จำเป็นต้องเสริมนมขวดด้วยไหม? ลูกจะติดจุกนมไหม?

[seed_social]
[seed_social]
วิธีรับมือ...เมื่อลูกกัดหัวนมแม่ ปัญหาการดูดนมของลูก
โดย Admin
22 มิถุนายน 2017
5932
10 วิธีรับมือ เมื่อลูกน้อยทำร้ายหัวนมคุณแม่
แชร์ให้เพื่อน

วิธีรับมือ...เมื่อลูกกัดหัวนมแม่

[seed_social]
[seed_social]
ลูกร้องกวนมาก ทำอะไรไม่ถูกเลยค่ะ ปัญหาลูกที่กินนมแม่
โดย Admin
22 มิถุนายน 2017
2650
ลูกร้องเป็นเรื่องธรรมชาติค่ะ ถ้ากินอิ่ม นอนหลับ ขับถ่ายปกติ ไม่มีไข้ ไม่ซึม ก็ไม่ต้องกังวลหรอกค่ะ
แชร์ให้เพื่อน

ลูกร้องกวนมาก ทำอะไรไม่ถูกเลยค่ะ

[seed_social]
[seed_social]
ต้องจับลูกเรอหลังกินนมทุกครั้งหรือไม่ ถ้าสะอึกจะทำอย่างไรดี ปัญหาลูกที่กินนมแม่
โดย Admin
22 มิถุนายน 2017
36192
ควรจับเรอทุกครั้งหลังกินนม เพื่อไล่ลมนะคะ ไม่งั้นลูกอาจจะท้องอืด หรือแหวะนมได้ ลูกสะอึกเป็นเรื่องธรรมชาติของเบบี๋จ้า ไม่มีอันตรายใด ๆ ไม่ต้องให้กินน้ำหรอกนะคะ
แชร์ให้เพื่อน

ต้องจับลูกเรอหลังกินนมทุกครั้งหรือไม่ ถ้าสะอึกจะทำอย่างไรดี

[seed_social]
[seed_social]
ลูกสำรอกนม แหวะนม ปัญหาลูกที่กินนมแม่
โดย Admin
22 มิถุนายน 2017
43788
อาการ ‘สำรอก’ หรือ ‘แหวะนม’ ภายหลังดูดนมพบได้บ่อยในทารกแรกเกิดค่ะ หากคุณแม่ควรสังเกต ว่านมที่ลูกแหวะออกมาไม่มีสิ่งอื่นเจือปน
แชร์ให้เพื่อน

ลูกสำรอกนม แหวะนม

[seed_social]
[seed_social]
อาหารทารกตามวัย ลูกน้อยเติบใหญ่ แข็งแรง สมองดี อาหารเสริม
โดย Admin
10 กันยายน 2017
1446
ลูกอายุ 6 เดือน เริ่มให้อาหารเสริม ตามที่แนะนำในสมุดสีชมพูทุกอย่างคือ ข้าวต้มสุกบดละเอียด 2 ช้อนกินข้าว ไข่แดงสุกครึ่งฟอง ผักต้มเปื่อย ครึ่งช้อนกินข้าว บดละเอียด ผลไม้สุกบดละเอียด วันละ 1 ชิ้น ผลคือลูกอุจจาระก้อนโตแข็ง ต้องเบ่งมากถ่ายยาก ลองลดข้าวลงก็ยังเหมือนเดิม คุณหมอหย่ง อธิบายว่า อาหารตามวัยที่ให้เริ่มตอนอายุ 6 เดือน ได้คำนวณพลังงานไว้แล้วว่า ในเวลา 1 วัน ถ้ากินตามที่เขียนไว้ จะได้พลังงาน 200 แคลอรี่ เพิ่มเติมจากนมแม่ที่กินอยู่แล้ว ในมื้อแรกๆที่เริ่ม ลูกอาจจะรับไม่ได้ครบตามนั้น อาจจะได้ไปเพียงครึ่งเดียว ในกรณีนี้ก็ให้ข้าวเพิ่มอีกได้ แต่ไม่เกินวันละ 2- 3 ครั้ง โดยให้ปริมาณรวมทั้งวันไม่เกิน 200 แคลอรี่ นอกนั้นยังคงให้นมแม่ตามปกติค่ะ สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี้ค่ะ  \"อาหารทารกตามวัย ลูกน้อยเติบใหญ่ แข็งแรง สมองดี\" โดย : พญ. นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย
แชร์ให้เพื่อน

อาหารทารกตามวัย ลูกน้อยเติบใหญ่ แข็งแรง สมองดี

[seed_social]
[seed_social]
เริ่มดื่มนมกล่อง UHT เมื่ออายุเท่าไร อาหารเสริม
โดย Admin
10 กันยายน 2017
31907
โดย - บี มามี๊ต่าต๋า หลังจาก 1 ขวบเป็นต้นไป แต่ถ้ายังได้นมแม่อยู่ ก็ยังไม่จำเป็น เมื่อลูกอายุครบขวบ จะต้องการข้าวและอาหาร 5 หมู่เป็นอาหารหลัก นมจะเป็นเพียงอาหารเสริม ถ้าลูกยังได้นมแม่อยู่ ก็ยังไม่ต้องเสริมนมชนิดอื่น แต่ถ้านมแม่เหลือน้อย หรือคุณแม่ต้องการหย่านม ก็ให้เสริมด้วยนมกล่อง UHT ได้ ในวัยนี้ ร่างกายของลูกได้พัฒนาขึ้นที่จะรับสารอาหารได้หลากหลายมากขึ้น และส่วนมากพร้อมที่จะได้รับโปรตีนหลากหลายประเภทมากขึ้น รวมถึงโปรตีนนมวัว ถั่ว อาหารทะเล ฯลฯ ดังนั้นอายุ 1 ขวบจะเป็นช่วงที่คุณแม่สามารถเริ่มให้ลูกทานนมสด UHT ได้ แต่อาจจะให้ในปริมาณแต่น้อยในแรกเริ่ม เพื่อสังเกตดูว่าลูกยังแพ้อยู่หรือไม่ ขอจำแนกประเภทนมต่างๆ ที่น้องสามารถทานได้หลังจาก 1 ขวบ 1. Whole milk คือ นมสด ที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการแปรรูปหรือแต่งเติม เพียงแต่ผ่านกระบวนการทำลายเชื้อ มีแบบUHT เป็นกล่องเดี่ยว หรือแพค 4 - 6 กล่อง วางขายตามร้านค้าทั่วไป แนะนำให้ใช้นมกล่อง UHT ชนิดที่เป็นนมสดได้ (อ่านดูข้างกล่องว่าเป็นนมสด เพราะบางยี่ห้อเอานมผงจากต่างประเทศมาละลายน้ำใส่กล่องอีกที่) ยี่ห้อที่ใช้นมสด เช่น นมสดจิตรลดา หนองโพ ไทยเดนมาร์ค เป็นต้น ให้น้องทานชนิดรสจืด 2. Soy Milk หรือนมถั่วเหลือง UHT เป็นนมถั่วเหลืองที่ผ่านการทำลายเชื้อ บรรจุเป็นกล่อง มีการเพิ่มสารอาหารต่างๆ ด้วยงาดำหรืออื่นๆ ซึ่งคุณแม่ควรเลือกประเภทที่หวานน้อย เพื่อจะได้ไม่ติดรสหวานค่ะ ยี่ห้อของสินค้าในตลาดมีหลากหลายค่ะ 3. Formula คือนมผสมที่ผ่านกระบวนการแปรรูป มีการแต่งเติมเพิ่มสารอาหารต่างๆ เพื่อทดแทนคุณค่าที่เสียไป มีนมหลายยี่ห้อที่นำนมผงมาผสมน้ำแล้วบรรจุใส่กล่อง มักจะใช้คำว่า 1+ หรือ 3+ บนบรรจุภัณฑ์ ราคามักแพงกว่านมสดUHT
แชร์ให้เพื่อน

เริ่มดื่มนมกล่อง UHT เมื่ออายุเท่าไร

[seed_social]
[seed_social]
คิดจะหย่านมลูก ทำอย่างไรจึงจะกระทบกระเทือนใจลูกน้อยที่สุด อาหารเสริม
โดย Admin
10 กันยายน 2017
1644
การหย่านมแม่ ควรทำเมื่อทั้งแม่และลูกพร้อม ควรมีการวางแผนหย่านมอย่างเป็นลำดับขั้น มิฉะนั้นอาจมีผลกระทบต่อจิตใจทั้งแม่และลูก ถ้าไม่มีความจำเป็นต้องเลิก ก็ควรให้นมไปเรื่อยๆ จนหลัง 2 ปีขึ้นไป เมื่อลูกโตขึ้น กินอาหารอื่นมากขึ้น ดูดนมแม่น้อยลง น้ำนมก็จะค่อยๆ ลดไปเองโดยปริยาย เป็นการหย่านมแบบค่อยเป็นค่อยไป หลังหย่านมแม่ ถ้าลูกอายุเกิน 1 ปี ลูกกินนมกล่องได้ ควรหัดให้ดื่มจากแก้ว หรือใช้หลอดดูด โดยไม่ต้องใช้ขวดนม การหย่านมควรทำเมื่อทั้งแม่และลูกพร้อม ไม่ควรหย่านมตามความเห็นหรือความต้องการของคนรอบข้าง ถ้าหย่านมเร็วเกินไปจะมีผลกระทบต่อจิตใจของแม่และลูก ทำให้ซึมเศร้า และรู้สึกสูญเสียได้ ถ้าลูกยังปรับตัวไม่ได้ อาจแสดงปฏิกิริยาโดยการร้องและขอดูดนมแม่บ่อยขึ้น หรือในทางกลับกัน ลูกอาจเครียด ไม่ยอมกินอาหารอื่นเลย และแม่เองก็จะมีปัญหาเต้านมคัดตึง เต้านมอักเสบหรือเป็นฝีได้ การวางแผนหย่านมอย่างเป็นลำดับขั้นอย่างช้า ๆ อาจใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จะช่วยลดปัญหาเหล่านี้ได้ โดยเริ่มลดนมแม่วันละ 1มื้อ ทีละสัปดาห์ ( ถ้าหากต้องการหย่านมภายในเวลา 2 สัปดาห์ ก็ให้ร่นช่วงเวลาของการลดมื้อนมจากทุกสัปดาห์เป็นทุก 3 วัน ) ควรลดมื้อกลางวันก่อนมื้อกลางคืน และเว้นระยะระหว่างมื้อนมให้นานขึ้น โดยเริ่มลดมื้อ 14:00 น.ก่อน อีกสัปดาห์จึงลดมื้อ 10:00 น.-->มื้อ 18:00 น --> มื้อ 6:00 น. --> มื้อ 22:00 น.   นอกจากนั้น มีวิธีการอื่นที่ช่วยเสริมให้หย่านมได้ง่ายขึ้น คือ ให้นมลูกเฉพาะมื้อที่ลูกขอ จะไม่ให้เมื่อไม่ขอ และให้นมแม่ในระยะเวลาสั้น ๆ หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่กระตุ้นให้ลูกอยากดูดนมแม่บ่อย เช่น การนั่งเก้าอี้ที่ชอบในขณะให้นมลูก ให้คุณพ่อหรือคนเลี้ยงช่วยให้นมหรืออาหารอื่นแทน เบี่ยงเบนความสนใจของลูกจากการดูดนมแม่ เช่น พาไปในที่ๆ ลูกชอบ ชักชวนให้สนใจสิ่งแวดล้อม การเล่นกับเพื่อน เล่านิทาน เป็นต้น ให้ความรักความใกล้ชิดกับลูกในรูปแบบอื่นทดแทนการให้นม เช่น เล่นด้วยกัน กอด หรือให้ซุกอกแม่ในขณะให้ดูดนมจากหลอด การกล่อมหรือเล่านิทานเวลาจะนอนจะช่วยลดการดูดนมกลางคืนได้
แชร์ให้เพื่อน

คิดจะหย่านมลูก ทำอย่างไรจึงจะกระทบกระเทือนใจลูกน้อยที่สุด

[seed_social]
[seed_social]
โคลิค เมื่อลูกป่วย
โดย Admin
22 มิถุนายน 2017
1577
เด็กทารกนั้นร้องไห้มากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน ร้องไห้เป็นเวลา 3 วันหรือมากกว่านั้นในหนึ่งสัปดาห์
แชร์ให้เพื่อน

โคลิค

[seed_social]
[seed_social]
โรคหัดกุหลาบ (ส่าไข้) เมื่อลูกป่วย
โดย Admin
22 มิถุนายน 2017
5825
ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าโรคหัดกุหลาบติดต่อทางใด แต่มีการตรวจพบเชื้อไวรัสในน้ำลายของคนปกติ จึงคิดว่าคนเหล่านั้นอาจเป็นพาหะของโรคโดยที่ไม่แสดงอาการ แต่แพร่เชื้อให้เด็กได้
แชร์ให้เพื่อน

โรคหัดกุหลาบ (ส่าไข้)

[seed_social]
[seed_social]
โรค มือ เท้า ปาก (hand foot mouth) เมื่อลูกป่วย
โดย Admin
22 มิถุนายน 2017
1808
โรคมือ-เท้า-ปาก เกิดจากเชื้อไวรัสหลายชนิด ดังนั้นจึงพบว่าอาจเป็นโรคนี้ได้หลายครั้งตลอดชีวิต เนื่องจากการเป็นโรคแต่ละครั้งจะสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการเป็นครั้งต่อไป
แชร์ให้เพื่อน

โรค มือ เท้า ปาก (hand foot mouth)

[seed_social]
[seed_social]
เมื่อลูกมีท่าดูดนมผิดวิธี ส่งผลให้คุณแม่เจ็บหัวนม จิปาถะ : สำหรับแม่
โดย soraya
10 ธันวาคม 2017
2674
เมื่อลูกมีท่าดูดนมผิดวิธี ส่งผลให้คุณแม่เจ็บหัวนม   คุณหมอแจ๊ค นิวแมน กุมารแพทย์ชื่อดังระดับโลกด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีผลงานวิจัยและค้นคว้าจำนวนมาก ได้เคยพูดถึงปัญหาที่พบบ่อย คือ การที่คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะรู้สึกเจ็บหัวนม ซึ่งสาเหตุที่เจอส่วนใหญ่ คือ ทารกมีท่าดูดนมที่ไม่ถูกต้อง ภาพที่ 1 เป็นท่าดูดนมที่ถูกวิธี ภาพที่ 2 เมื่อคุณแม่ได้ปรับท่าให้เป็น asymmetric latch ให้เหมือนกับภาพที่ 1 อาการเจ็บหัวนมของคุณแม่จะหายไปเลย ในภาพ asymmetrical latch คางชิดนม แต่จมูกไม่ชิด ขากรรไกรล่างและลิ้นของลูกจะสามารถกระตุ้นเต้านมบริเวณนั้น ทำให้เกิดมีการสร้างการหลั่งน้ำนมได้ดี และคุณแแม่จะไม่รู้สึกเจ็บ ตรงข้ามกับภาพที่ 2 เมื่อลูกมีท่าดูดนมไม่ถูกวิธี จมูกชิดกับเต้านม แต่คางไม่ชิด ขากรรไกรบนไม่ขยับ การกระตุ้นทำได้ไม่ดีเท่า และขากรรไกรล่างและลิ้นก็อยู่ตื้นๆ เวลาลูกดูดนม แม่จึงรู้สึกเจ็บที่หัวนมอย่างมาก ลองทบทวนและปรับท่าดูดนมของลูกให้ถูกวิธีกันเถอะค่ะ ขอบคุณข้อมูล พญ. กรรณิการ์ บางสายน้อย มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
แชร์ให้เพื่อน

เมื่อลูกมีท่าดูดนมผิดวิธี ส่งผลให้คุณแม่เจ็บหัวนม

[seed_social]
[seed_social]
เพิ่งรู้ว่าตั้งครรภ์ ลูกคนโตยังดูดนมแม่อยู่ จะให้นมลูกต่อไปได้หรือไม่ หรือต้องหย่านม ? จิปาถะ : สำหรับแม่
โดย Admin
22 มิถุนายน 2017
12988
ตั้งครรภ์ขณะให้นมลูกอยู่ จะให้ต่อได้ไหม? ต้องกินอาหารเพิ่มเติมมากเท่าไหร่?
แชร์ให้เพื่อน

เพิ่งรู้ว่าตั้งครรภ์ ลูกคนโตยังดูดนมแม่อยู่ จะให้นมลูกต่อไปได้หรือไม่ หรือต้องหย่านม ?

[seed_social]
[seed_social]
แม่หลังคลอดผมร่วงมาก จะหัวล้านไหม จิปาถะ : สำหรับแม่
โดย Admin
22 มิถุนายน 2017
1786
อาการผมร่วงจะเป็นชั่วคราว และกลับเป็นปกติใน 6 – 12 เดือน
แชร์ให้เพื่อน

แม่หลังคลอดผมร่วงมาก จะหัวล้านไหม

[seed_social]
[seed_social]
น้ำนมมีสี ผิดปกติไหม ปัญหาเต้านม
โดย Admin
22 มิถุนายน 2017
1992
น้ำนมแม่ในระยะ 1-2 สัปดาห์แรกเป็นยอดน้ำนม และเป็นภูมิคุ้มกันโรคชั้นดีเยี่ยม
แชร์ให้เพื่อน

น้ำนมมีสี ผิดปกติไหม

[seed_social]
[seed_social]
เต้านม 2 ข้างไม่เท่ากัน ปัญหาเต้านม
โดย Admin
22 มิถุนายน 2017
4215
เกิดจากการที่ร่างกายมีการสร้างน้ำนมที่ไม่เท่ากัน เนื่องจากการสร้างน้ำนมมากหรือน้อยขึ้นกับ demand – supply ถ้าดูดมาก ก็สร้างมาก
แชร์ให้เพื่อน

เต้านม 2 ข้างไม่เท่ากัน

[seed_social]
[seed_social]
เต้านมคัด ปวดมาก จะทำอย่างไรดี ปัญหาเต้านม
โดย Admin
22 มิถุนายน 2017
52194
มักเป็นทั้งเต้าและเป็นทั้ง 2 ข้าง เกิดจากการสร้างน้ำนมแม่ได้มาก แต่ไม่สามารถระบายน้ำนมออกหรือระบายออกไม่ทัน จึงเกิดอาการคัด บวม แข็ง เต้านมจะร้อน ผิวแดงเป็นมัน เจ็บ ลานนมตึงแข็ง ทำให้หัวนมสั้นลงจนลูกดูดไม่ได้ น้ำนมไหลไม่ดี บางครั้งอาจจะมีไข้ได้ แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง สาเหตุของเต้านมคัด 1. ร่างกายสร้างน้ำนมได้มากกว่าปริมาณที่ลูกกิน 2. แม่ทิ้งช่วงการให้ลูกกินนมนานเกินไป ให้นมลูกไม่บ่อยพอ จำกัดเวลาการให้นมลูก หรือไม่ได้บีบออกในช่วงที่ลูกไม่ได้ดูด ทำให้มีน้ำนมสะสมในเต้ามาก 3. ให้ลูกดูดนมไม่ถูกวิธี ทำให้การระบายไม่ดีเท่าที่ควร วิธีแก้ไขปัญหาเต้านมคัด 1. ประคบเต้านมด้วยผ้าอุ่นจัดอย่างน้อย 10 นาทีก่อนที่จะให้นมลูก ควรใช้ผ้าขนหนูผืนใหญ่พอที่จะหุ้มเต้านมได้โดยรอบ ตามด้วยการนวดและคลึงเต้านมเบาๆ จากฐานลงไปที่หัวนม (ดูได้จากวิดีโอ) 2. บีบน้ำนมออกจนลานหัวนมนุ่มลง จะช่วยให้ลูกงับลานหัวนมง่ายขึ้น 3. ให้ลูกดูดน้ำนมบ่อยมากขึ้น อย่างน้อยทุก 2 – 2 ½ ชั่วโมง ดูดให้ถูกวิธี เพื่อระบายน้ำนมออกจากเต้าให้ได้มากที่สุด และต้องให้ดูดในเวลากลางคืนด้วย มิฉะนั้นเต้านมจะคัดในเช้าวันรุ่งขึ้นอีก อีก ถ้าไม่สามารถให้นมลูกได้ตามเวลา ควรบีบน้ำนมออกเก็บไว้ 4. หลังให้นมลูกเสร็จ ประคบเต้านมด้วยความเย็นเพื่อลดความเจ็บปวด 5. ถ้าแม่เจ็บมากจนให้ลูกดูดนมไม่ได้ อาจต้องพัก ระบายน้ำนมออกโดยบีบหรือปั๊มออก และป้อนนมแม่จากถ้วยให้ลูกแทน 6. รับประทานยาแก้ปวด ตามความจำเป็นเช่น พาราเซทตามอล 7. ควรใส่เสื้อชั้นในเพื่อพยุงเต้านมไว้ 8. บีบเอาน้ำนมออกได้เรื่อย ๆ ถ้าจำเป็น เพื่อจะได้คลายความเจ็บปวดจนกว่าอาการเต้านมคัดจะดีขึ้น 9. หากอาการคัดเป็นรุนแรงมาก ควรปรึกษาคลินิกนมแม่ การป้องกันเต้านมคัด 1. ไม่ควรทิ้งระยะให้นมลูกนานเกินไป หากมีธุระไม่สามารถให้นมลูกได้ตามเวลา ควรบีบน้ำนมออกมาเก็บไว้เพื่อให้ลูกทานด้วยถ้วย 2. ให้ลูกดูดนมบ่อยๆ ดูดถูกวิธี และดูดจนเกลี้ยงเต้า ในกรณีที่คัดและปวดมากจนแตะไม่ได้ วิธีที่ช่วยได้คือ นำกะละมังใส่น้ำอุ่นจัดที่พอทนได้วางบนโต๊ะ แล้วก้มตัวลงโดยใช้ข้อศอกยันโต๊ะไว้ ให้เต้านมจุ่มลงในน้ำสักพักใหญ่ๆ แล้วกระตุ้นการหลั่งน้ำนม(ทำจี๊ด)โดยโดยนวดเต้านมเบาๆ หรือใช้หลังนิ้วลูบเบาๆ จากนั้นจึงแช่เต้าในกะละมังอีกครั้งค่อยๆ ใช้มือบีบน้ำนมออกทีละน้อยเท่าที่จะทนเจ็บได้ (คุณแม่ในภาพมีรอยแดงรอบลานนมที่เต้าขวาเนื่องจากเต้านมอักเสบด้วย) ภาพที่ 1 แช่เต้าในกะละมังใส่น้ำที่อุ่นจัดพอทนได้ ภาพที่ 2 กระตุ้นการหลั่งน้ำนม(ทำจี๊ด)โดยนวดเต้านมเบาๆ ภาพที่ 3 กระตุ้นการหลั่งน้ำนม(ทำจี๊ด) โดยใช้หลังนิ้วลูบเบาๆ ที่เต้านมจากรอบนอกมาทางลานนม ภาพที่ 4 แช่เต้าในกะละมังอีกครั้งค่อยๆ ใช้มือบีบน้ำนมออกทีละน้อยเท่าที่จะทนเจ็บได้
แชร์ให้เพื่อน

เต้านมคัด ปวดมาก จะทำอย่างไรดี

[seed_social]
[seed_social]
คุมกำเนิดแบบไหน ให้นมแม่ได้ เมื่อแม่เจ็บป่วย
โดย Admin
22 มิถุนายน 2017
16638
การคุมกำเนิดในช่วงที่ให้นมลูกอยู่นั้น คุณแม่จำเป็นต้องศึกษาข้อดีข้อเสียของแต่ละวิธีอย่างเข้าใจ และเลือกใช้ให้เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลตามต้องการค่ะ
แชร์ให้เพื่อน

คุมกำเนิดแบบไหน ให้นมแม่ได้

[seed_social]
[seed_social]
แม่เป็นไข้เลือดออก ให้นมแม่ได้หรือไม่ เมื่อแม่เจ็บป่วย
โดย Admin
22 มิถุนายน 2017
2102
แม่เป็นไข้เลือดออก ให้นมแม่ได้หรือไม่ ในปีนี้ที่ไข้เลือดออกระบาดมาก ถ้าแม่ที่ให้นมลูกเกิดเป็นไข้เลือดออกขึ้นมา จะยังให้นมแม่ต่อได้หรือไม่? คุณแม่อายุ 30 ปี ท่านหนึ่งมีลูกอายุ 3 เดือน กินนมแม่อย่างเดียวมาตลอด เมื่อวานนี้แม่เริ่มมีไข้ตัวร้อน 39 องศา ไม่ไอ น้ำมูกไม่ไหล แม่ยังไม่อ่อนเพลียมาก ยังอุ้มลูกให้ดูดนมแม่ได้ แต่แม่สงสัยว่า แม่ไข้สูงแบบนี้ ยังจะให้ลูกกินนมแม่ได้หรือไม่ การตัดสินใจจะให้นมแม่ในกรณีนี้ต้องชั่งน้ำหนักระหว่าง ผลดีที่ลูกจะได้รับจากน้ำนมแม่ คือภูมิต้านทาน และเซลล์ต่างๆในน้ำนมแม่ กับความเสี่ยงที่อาจจะได้รับเชื้อที่ทำให้เกิดโรคผ่านน้ำนมแม่ แต่ต้องไม่ลืมว่า การติดเชื้อบางอย่างอาจจะผ่านทางการไอจามการหายใจหรือผิวหนังแม่ที่สัมผัสกับลูกก็ได้ ถ้ายังไม่รู้ว่าแม่เป็นอะไร มีแต่ไข้ลูงอย่างเดียว ขึ้นกับแม่ว่า ให้นมแม่ไหวหรือไม่ ถ้าอ่อนเพลียมากถึงกับอุ้มลูกกินนมไม่ไหว แม่ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุของไข้โดยเร็ว เพื่อจะได้ทราบว่า เป็นโรคอะไรติดต่อทางไหน จะได้รีบรักษา และหาทางป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อไปให้ลูก ถ้าแม่ไม่อ่อนเพลียมากก็ยังให้ลูกกินนมแม่ได้ เพียงแต่ต้องระวังถ้าแม่มีอาการไอ จาม น้ำมูกไหล แม่ต้องหาผ้ามาปิดปากจมูกเพื่อไม่แพร่เชื้อให้ลูกจากน้ำลายน้ำมูก คุณแม่รายนี้ตัดสินใจยังให้นมแม่ต่อ เมื่อไข้สูงเป็นวันที่ 2 จึงไปพบแพทย์ ตรวจร่างกาย คอไม่แดง ไม่ไอ เจาะเลือดตรวจพบเป็นไข้เลือดออก ระยะไข้สูงแนะนำให้นอนโรงพยาบาล แม่จะทำอย่างไร จะเอาลูกที่กินนมแม่ไปนอนที่รพ ด้วย เพื่อดูดนมแม่ต่อ หรือจะแยกลูกอยู่บ้านดี? เรื่องที่จะต้องพิจารณาคือ 1. การติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกในแม่จะส่งต่อถึงลูกได้ทางไหนบ้าง การติดต่อของไวรัสไข้เลือดออก หรือเดงกี่ไวรัส มียุงเป็นพาหะของโรค นำเชื้อจากผู้ป่วยไปสู่ผู้อื่น ยังไม่มีรายงานการติดต่อระหว่างคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งโดยไม่ผ่านยุง และไม่มีหลักฐานว่ามีการติดต่อผ่านทางน้ำนมแม่ (Breastfeeding : A Guide for the Medical profession 7th editon p .428) จากการค้นข้อมูลเพิ่มเติมพบการรายงานพบไวรัสไข้เลือดออกในน้ำนมของแม่ที่เป็นไข้เลือดออกก่อนคลอดเพียง 1 รายงาน คนไข้ทารกคลอดก่อนกำหนด 1 ราย แม่มีไข้ 2 วันก่อนคลอด ระหว่างการคลอด และหลังคลอดตรวจพบว่าแม่เป็นไข้เลือดออก ทารกได้กินนมแม่ที่บีบออกมาตั้งแต่วันที่ 2 หลังคลอด แม่ไม่มีแผลที่หัวนมและเต้านม ตรวจพบ RT PCR สำหรับ denguevirus เป็นผลบวก แสดงว่ามีเชื้อไวรัส dengue ในน้ำนมแม่ จึงหยุดนมแม่ในวันที่ 4 หลังคลอด ในวันที่ 4 ทารกมีไข้ต่ำๆ 37.9 องศา C เจาะเลือดลูกพบ ผลบวกต่อ denguevirus มีเกร็ดเลือดต่ำเมื่ออายุ 9 วัน โดยไม่มีอาการใดๆผิดปกติ แม่และลูกได้กลับบ้านไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ (BreastMilk as a possible route of Vertical Transmission of Dengue Virus? Ann Barthel,et al Clin Infect Dis Apr 10 ,2013 online publication) 2. ในน้ำนมแม่จะมีสารภูมิต้านทานต่อไข้เลือดออกหรือไม่ พบ 1 รายงาน ว่ามี factorใน ส่วนไขมันของน้ำนมแม่ ว่ายับยั้ง ไวรัสไช้เลือดออกได้ แต่ไม่พบ antibody activity ต่อไวรัสไข้เลือดออกในน้ำนมแม่ ( A Lipidinhibitor of dengue virus in human colostrum and milk, with a note on theabsence of anti-dengue secretory antibody , Arch Virol 47:3-10 , 1975 ) 3.แม่จะไปอยู่โรงพยาบาล ที่เป็นเตียงรวมกับผู้ป่วยอื่นๆ หรือ อยู่เตียงในห้องแยกต่างหาก ถ้าแม่ต้องไปอยู่รวมกับคนป่วยอื่นๆ ลูกเล็กที่ไปนอนกับแม่อาจจะติดเชื้อจากผู้ป่วยอื่นๆได้หรือไม่ ถ้าแม่ไดอยู่ห้องเดี่ยวแยกต่างหาก ลูกก็ใม่เสี่ยงติดเชื้อจากคนอื่นๆ 4.อาการของแม่รุนแรงมากน้อยเพียงไร ไข้เลือดออกมีอาการที่แตกต่างกันตั้งแต่น้อยๆ ไปจนถึงอาการหนักมาก ถ้าแม่เป็นไม่รุนแรง และอยากจะให้นมแม่ ก็ให้ได้ คุณแม่ท่านนี้อยู่โรงพยาบาล ห้องเดี่ยว จึงให้ลูกมานอนดูดนมแม่ ที่ห้อง โดยแพทย์อนุญาต และโชคดีที่อาการเป็นไม่รุนแรง แม่จึงผ่านพ้นมาได้โดยที่ลูกยังได้กินนมแม่ตลอดและลูกไม่มีอาการไข้แต่อย่างใด สรุปว่า แม่ที่เป็นไข้เลือดออกในระยะหลังคลอด มีรายงาน 1 รายงานที่พบเชื้อไวรัสในน้ำนมแม่ในช่วงที่แม่ไข้สูงมีไวรัสในกระแสเลือด ลูกที่เป็นทารกคลอดก่อนกำหนดที่กินนมแม่รายนี้ตรวจเลือดพบไวรัส สำหรับแม่ที่คลอดลูกไปแล้วหลายๆเดือน และยังให้กินนมแม่อยู่เมื่อเป็นไข้เลือดออก ยังไม่มีรายงานการตรวจพบเชื้อในน้ำนม ในตำราBreastfeeding : A Guide for theMedical profession 7th editon p 428 สรุปว่า “ Breastfeeding during maternal orinfant dengue disease should continue as determined by the mother or infant’sseverity of illness เรื่องที่จะต้องพิจารณาคือ   1. การติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกในแม่จะส่งต่อถึงลูกได้ทางไหนบ้าง การติดต่อของไวรัสไข้เลือดออก มียุงเป็นพาหะของโรค นำเชื้อจากผู้ป่วยไปสู่ผู้อื่นยังไม่มีรายงานการติดต่อระหว่างคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งโดยไม่ผ่านยุง และไม่มีหลักฐานว่ามีการติดต่อผ่านทางน้ำนมแม่ (Breastfeeding : A Guide for the Medical profession 7th edition p .428) จากการค้นข้อมูลเพิ่มเติมพบการรายงานพบไวรัสไข้เลือดออกในน้ำนมของแม่ที่เป็นไข้เลือดออกก่อนคลอดเพียง 1 รายงาน คนไข้ทารกคลอดก่อนกำหนด 1 ราย แม่มีไข้ 2 วันก่อนคลอด ระหว่างการคลอด และหลังคลอดตวจพบว่าแม่เป็นไข้เลือดออก ทารกได้กินนมแม่ที่บีบออกมาตั้งแต่วันที่ 2 หลังคลอด แม่ไม่มีแผลที่หัวนมและเต้านม ตรวจพบ RT PCR สำหรับ denguevirus เป็นผลบวก แสดงว่ามีเชื้อไวรัส dengue ในน้ำนมแม่ จึงหยุดนมแม่ในวันที่ 4หลังคลอด ในวันที่4ทารกมีไข้ต่ำๆ 37.9 องศา C เจาะเลือดลูกพบ ผลบวกต่อ denguevirus มีเกร็ดเลือดต่ำเมื่ออายุ 9 วัน โดยไม่มีอาการใดๆผิดปกติ แม่และลูกได้กลับบ้านไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ (Breast Milk as a possible route of Vertical Transmission of Dengue Virus? Ann Barthel,et al Clin Infect Dis Apr 10 ,2013 online publication)   2. ในน้ำนมแม่จะมีสารภูมิต้านทานต่อไข้เลือดออกหรือไม่ พบ 1รายงาน ว่ามี factorใน ส่วนไขมันของน้ำนมแม่ ว่ายับยั้ง ไวรัสไช้เลือดออกได้ แต่ไม่พบantibody activity ต่อไวรัสไข้เลือดออกในน้ำนมแม่ ( A Lipidinhibitor of dengue virus in human colostrum and milk, with a note on theabsence of anti-dengue secretory antibody , Arch Virol 47:3-10 , 1975 )   3.แม่จะไปอยู่โรงพยาบาล ที่เป็นเตียงรวมกับผู้ป่วยอื่นๆหรือ อยู่เตียงในห้องแยกต่างหาก ถ้าแม่ต้องไปอยู่รวมกับคนป่วยอื่นๆ ลูกเล็กที่ไปนอนกับแม่อาจจะติดเชื้อจากผู้ป่วยอื่นๆ ได้หรือไม่ ถ้าแม่ได้อยู่ห้องเดี่ยวแยกต่างหาก ลูกก็ใม่เสี่ยงติดเชื้อจากคนอื่นๆ   4.อาการของแม่รุนแรงมากน้อยเพียงไร ไข้เลือดออกมีอาการที่แตกต่างกันตั้งแต่น้อยๆ ไปจนถึงอาการหนักมาก ถ้าแม่เป็นไม่รุนแรง และอยากจะให้นมแม่ ก็ให้ได้ คุณแม่ท่านนี้อยู่โรงพยาบาล ห้องเดี่ยว จึงให้ลูกมานอนดูดนมแม่ ที่ห้อง โดยแพทย์อนุญาต และโชคดีที่อาการเป็นไม่รุนแรง แม่จึงผ่านพ้นมาได้โดยที่ลูกยังได้กินนมแม่ตลอดและลูกไม่มีอาการไข้แต่อย่างใด สรุปว่า แม่ที่เป็นไข้เลือดออกในระยะหลังคลอด มีรายงาน 1รายงานที่พบเชื้อไวรัสในน้ำนมแม่ในช่วงที่แม่ไข้สูงมีไวรัสในกระแสเลือด ลูกที่เป็นทารกคลอดก่อนกำหนดที่กินนมแม่รายนี้ตรวจเลือดพบไวรัส สำหรับแม่ที่คลอดลูกไปแล้วหลายๆเดือน และยังให้กินนมแม่อยู่เมื่อเป็นไข้เลือดออก ยังไม่มีรายงานการตรวจพบเชื้อในน้ำนม ในตำราBreastfeeding : A Guide for theMedical profession 7th editon p 428สรุปว่า   “ Breastfeeding during maternal orinfant dengue disease should continue as determined by the mother or infant’sseverity of illness. “ “การให้นมแม่ในแม่หรือทารกที่เป็นไข้เลือดออกควรดำเนินต่อไปโดยพิจารณาจากความรุนแรงของโรค”   โดย : พญ. ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล
แชร์ให้เพื่อน

แม่เป็นไข้เลือดออก ให้นมแม่ได้หรือไม่

[seed_social]
[seed_social]
วัณโรคกับการให้นมแม่ เมื่อแม่เจ็บป่วย
โดย Admin
22 มิถุนายน 2017
3679
ถ้าวัณโรคของแม่อยู่ในระยะกำเริบ มีเชื้อในเสมหะ ต้องแยกแม่ลูก แต่ให้ลูกกินน้ำนมแม่บีบให้คนอื่นป้อนได้ จะให้แม่ลูกได้อยู่ด้วยกันต่อเมื่อวัณโรคอยู่ในระยะสงบแล้ว
แชร์ให้เพื่อน

วัณโรคกับการให้นมแม่

[seed_social]
[seed_social]
"จี๊ด" - วิธีกระตุ้นให้น้ำนมไหลมาเทมา แม่ทำงาน
โดย Admin
22 มิถุนายน 2017
23937
ใครปั๊มนมไม่ออก: แอบบอกวิธีปั๊มนมให้เกลี้ยงเต้าจ้ะ
แชร์ให้เพื่อน

"จี๊ด" - วิธีกระตุ้นให้น้ำนมไหลมาเทมา

[seed_social]
[seed_social]
การเก็บน้ำนมในตู้เย็นตอนไฟดับ แม่ทำงาน
โดย Admin
22 มิถุนายน 2017
5726
เก็บน้ำนมในตู้เย็น 2 ประตู มีนมอยู่เยอะ ไฟฟ้าจะดับหลายชั่วโมง ทำอย่างไรดี
แชร์ให้เพื่อน

การเก็บน้ำนมในตู้เย็นตอนไฟดับ

[seed_social]
[seed_social]
วิธีขนย้ายนมแช่แข็งเพื่อเดินทางไกล แม่ทำงาน
โดย Admin
22 มิถุนายน 2017
2376
ช่วงเดินทางอาจดูว่าน้ำแข็งละลายไปบ้างหรือยัง ถ้าละลายมากก็ให้เทน้ำทิ้งแล้วเติมก้อนน้ำแข็งกะเกลืออีก
แชร์ให้เพื่อน

วิธีขนย้ายนมแช่แข็งเพื่อเดินทางไกล

[seed_social]
[seed_social]