ปัญหาการดูดนมของลูก

ลูกดูดนมบ่อยและนานมาก จนแม่ไม่เป็นอันทำอะไรเลย
เขียนโดย Admin
22 มิถุนายน 2017
ลูกดูดนมบ่อยและนานมาก ในช่วงเดือนแรกๆ คุณแม่หลายคนรู้สึกว่าทำไมลูกติดเต้าจัง ดูดทีเป็นชั่วโมงๆ พอเอาออกก็ร้อง ต้องให้ดูดใหม่ จนแม่ไม่เป็นอันทำอะไร เรื่องนี้ไม่ยากเกินแก้ค่ะ เพียงคุณแม่สังเกตสักนิดว่า ลูกดูดไปหลับไป ทั้งที่ยังไม่อิ่มนมหรือเปล่า คุณแม่เห็นลูกหลับจึงเอาลูกออกจากเต้าเพราะเข้าใจว่าลูกอิ่มแล้ว พอจะเอาออกก็ร้องขอดูดต่อ หรือหลับได้ครู่เดียวก็ร้องหิวใหม่อีก ทำให้เข้าใจผิดคิดว่าตนเองน้ำนมน้อย แนะนำให้คุณแม่สังเกตว่าถ้าลูกหลับขณะกินนมและคายหัวนมออกเอง แสดงว่าลูกกินอิ่ม แต่ถ้ายังไม่คาย เพียงแต่อมหัวนมไว้ หรือดูดแค่เบาๆ คุณแม่ควรกระตุ้นให้ลูกดูดต่อโดย ใช้นิ้วชี้ที่ประคองด้านล่างของเต้านมเขี่ยริมฝีปากล่างของลูกเบาๆ เพื่อกระตุ้นให้ดูดต่อ ใช้มือบีบเต้านมเพื่อไล่น้ำนมเข้าปากลูก ลูกจะกลืนน้ำนมและดูดต่อ เมื่อลูกหยุดดูด ก็บีบใหม่ ทำเป็นระยะๆ จนกว่าลูกจะอิ่ม และคายปากออกเอง (ดูวิดีโอ) แต่ถ้าบีบไล่น้ำนมสักพักแล้วไม่ได้ผล อาจเป็นเพราะน้ำนมในเต้านั้นลดน้อยลงและไหลช้าลง ก็ให้เปลี่ยนไปอีกเต้าหนึ่ง ทำเป็นระยะๆ จนกว่าลูกจะอิ่ม และคายปากออกเอง ถ้าไม่ยอมตื่นดูดต่อ ให้เอาลูกออกจากเต้า และปลุกให้ตื่นก่อน จึงนำเข้าเต้าเพื่อดูดนมอีกครั้ง เทคนิคปลุกลูกขี้เซาให้ลุกขึ้นมาดูดนม - หรี่แสงไฟในห้องลง เพราะถ้าแสงจ้า ลูกจะหลับตา - ถ้าห่มผ้าหรือสวมเสื้อหนา ให้เปลี่ยนเป็นเสื้อผ้าที่บางลง เพราะลูกจะหลับง่ายถ้าอุ่นมาก - พูดคุยกับลูก และพยายามจ้องตาด้วย - เขี่ยมือและเท้า หรือลูบหลังลูก - เปลี่ยนผ้าอ้อม - ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดบริเวณหน้าผากและแก้ม ลูกดูดผิดวิธีทำให้ได้รับน้ำนมไม่เพียงพอหรือเปล่า ต้องตรวจสอบวิธีการดูดของลูกว่าถูกต้องหรือยัง ซึ่งถ้าลูกอมหัวนมได้ถูกต้อง เหงือกลูกจะงับที่ลานนม ดูดแรงและเป็นจังหวะช้าๆ คุณแม่จะเห็นเต้านมที่เหนือปากลูกกระเพื่อมและกล้ามเนื้อขากรรไกรของลูกขยับ อาจได้ยินเสียงลูกกลืนเป็นระยะๆ ซึ่งแสดงว่าลูกดูดแล้วได้น้ำนม หากลูกอมงับหัวนมผิดวิธี หรือดูดเป็นจังหวะถี่ๆ เกินไป แต่ดูดได้เบา หรือแก้มบุ๋ม ให้สอดนิ้วเข้าที่มุมปากลูกระหว่างช่องเหงือก ให้ปากลูกออกจากหัวนม แล้วจึงนำกลับเข้าเต้าใหม่ ลูกดูดได้แต่น้ำนมส่วนหน้าหรือเปล่า การที่คุณแม่ให้ลูกดูดสลับเต้าไปมาอยู่ตลอดทั้งๆ ที่ลูกยังดูดไม่เกลี้ยงเต้าจะทำให้ลูกดูดได้แต่น้ำนมส่วนหน้าซึ่งมีไขมันน้อยกว่าน้ำนมส่วนหลังทำให้ไม่อยู่ท้อง คุณแม่จึงควรให้ลูกดูดนมข้างหนึ่งจนเกลี้ยงเต้าแล้วค่อยเปลี่ยนไปดูดอีกข้าง พอถึงมื้อต่อไปก็ให้เริ่มจากข้างที่ดูดค้างไว้จากมื้อที่แล้ว ทำเช่นนี้ ลูกก็จะได้รับน้ำนมทั้งสองส่วน เป็นนิสัยของเด็กเองหรือเปล่า เด็กบางคนก็อยากดูดนมแม่ตลอดเวลาเพื่อความอุ่นใจ โดยเฉพาะในระยะแรกเกิด หรือในช่วง 2 เดือนแรก จากเดิมที่ลูกเคยอบอุ่นอยู่ในท้องแม่ เมื่อออกมาอยู่นอกท้องแล้วมีความรู้สึกอ้างว้าง การที่มีคุณแม่คอยดูแลอยู่ข้างๆ ส่งเสียงให้ลูกได้ยิน อุ้มปลอบบ้าง โดยไม่จำเป็นต้องให้ดูดนมทุกครั้งจะช่วยให้ลูกปรับตัวเองได้ดีขึ้นเมื่อลูกโตขึ้น
แชร์ให้เพื่อน

ลูกดูดนมบ่อยและนานมาก จนแม่ไม่เป็นอันทำอะไรเลย

[seed_social]
[seed_social]
น้ำนมพุ่ง ลูกสำลัก ทำให้ไม่ยอมดูด
เขียนโดย Admin
22 มิถุนายน 2017
คุณแม่ที่มีน้ำนมไหลพุ่งแรงจนทำให้ลูกกลืนไม่ทัน มีอาการสำลักและเบือนหน้าหนีออกจากเต้าไม่ยอมดูด อาจทำให้เข้าใจผิดคิดว่าตัวเองมีน้ำนมน้อยลูกจึงไม่ยอมดูด เป็นสาเหตุหนึ่งของการหันไปพึ่งนมผสมเสริม
แชร์ให้เพื่อน

น้ำนมพุ่ง ลูกสำลัก ทำให้ไม่ยอมดูด

[seed_social]
[seed_social]
ปัญหาติดจุก (NIPPLE CONFUSION) ปัญหาการดูดนมของลูก
โดย Admin
10 กันยายน 2017
2635
การที่ลูกปฏิเสธนมแม่ แต่ยอมกินจากขวดผ่านจุกนมยาง คืออาการสับสนระหว่างจุกนมแม่และจุกนมปลอม (NIPPLE CONFUSION) ซึ่งปัญหานี้นี่เองที่สาเหตุหลักที่ทำให้แม่เข้าใจผิดว่าตนเองไม่มีน้ำนม หันไปชงนมผงใส่ขวดให้ลูกดูดกิน ทั้งที่เต้านมอาจคัดแข็งและเต็มไปด้วยน้ำนมก็ตาม ปัญหานี้เกิดจากความเข้าใจผิดๆ ว่า การกินนมจากเต้าแม่ก็เหมือนกับการกินนมจากขวด ทารกที่กินนมจากขวดตั้งแต่อายุน้อยมากๆ จะมีปัญหาในการดูดนมแม่ เพราะนมแม่และขวดวิธีดูดที่แตกต่างกัน การดูดนมแม่ ลูกต้องใช้ลิ้นและขยับกรามล่างเพื่อ “รีด” น้ำนมออกจากกระเปาะน้ำนม เมื่อลูกกินนมแม่ ลูกต้องอ้าปากกว้างและอมหัวนมแม่ไปถึงลานนม หัวนมแม่จะยืดไปถึงด้านในปากของลูก ลิ้นของลูกจะห่อลานนมที่ยืดและกดให้แนบไปกับเพดานปาก เมื่อลูกขยับลิ้นและกราม น้ำนมจะถูกรีดออกมาตามจังหวะที่ลูกขยับกราม หากลูกดูดตามวิธีดังกล่าว หัวนมจะอยู่ด้านในสุดของช่องปาก ทำให้แม่ไม่รู้สึกเจ็บหัวนม การดูดนมขวด (จุกนมยาง) น้ำนมจะไหลผ่านรูที่จุกนมยาง โดยอาศัยแรงโน้มถ่วง ดังนั้นลูกไม่ต้องออกแรงในการกินนม ลูกไม่ต้องอ้าปากกว้าง แต่จะห่อริมฝีปากให้เล็กและแน่น จุกนมยางไม่ยืดถึงส่วนในสุดของช่องปาก ลูกไม่ต้องใช้ลิ้นรีดเพื่อเอาน้ำนมออกจากจุกนมยาง ลูกจะดูดแผ่วๆ และงับกัดจุกนมยางเพื่อให้น้ำนมไหลออกจากขวด เมื่อน้ำนมไหลเร็วเกินไป ลูกจะใช้ลิ้นดุนขึ้นเพื่อชะลอการไหลของนม น้ำนมไหลไม่หยุดและเอ่อล้นอยู่ในปาก ไม่ว่าลูกจะดูดหรือไม่ดูดก็ตาม เมื่อลูกเคยชินกับการกินนมจากขวด ซึ่งง่ายกว่าการกินนมแม่ จะทำให้ลูกปฏิเสธเต้าแม่ และถึงแม้ว่าลูกจะยอมกินนมแม่ก็ตาม ลูกจะกัดนมแม่ ด้วยเหตุที่เคยชินกับการกัดงับให้น้ำนมไหลเข้าปากนั่นเอง อาการติดจุก สังเกตุได้ดังนี้ ทารกที่กินนมขวดตั้งแต่แรกเกิดจะเอาลิ้นดุนนมแม่ออกจากปาก ทารกไม่อ้าปากกว้า และจะดูด/งับที่หัวนมแม่ (ไม่อมถึงลานนม) แม่จะเจ็บหัวนมและลูกจะไม่ได้รับน้ำนมมากพอเพราะกลไกดูดที่ผิดนี้ไม่สามารถรีดน้ำนมออกจากเต้าแม่ได้ ทารกที่กินจากจุกนมยางจะเคยชินกับน้ำนมที่ไหลออกทันทีที่มีจุกนมเข้าปาก จะไม่รอจนน้ำนมพุ่ง (Milk Ejection Reflex หรือความรู้สึกจี๊ดที่เต้า) ที่จะเกิดขึ้นประมาณ 1-2 นาทีหลังจากเริ่มดูด หลายคนอาจด่วนสรุปว่าให้กินจากขวดไปเลย เพราะง่ายกว่า แต่มีการศึกษาเปรียบเทียบแล้วว่าทารกที่กินนมแม่จะมีความเครียดน้อยกกว่าทารกที่กินนมขวด เพราะ การหายใจและอัตราการเต้นของหัวใจสม่ำเสมอกว่า ทารกสามารถควบคุมปริมาณการไหลของน้ำนมแม่ได้ ตามจังหวะ ดูด กลืน หยุด การกินนมจากเต้าเป็นธรรมชาติกว่า ใช้พลังงานน้อยกว่า วิธีป้องกันปัญหาติดจุก เพราะทารกต้องฝึกฝนทักษะการดูดกินนมจากเต้าแม่ในช่วง 1 เดือนแรก จึงไม่ควรให้ทารกกินนมจากจุกนมยางในช่วงอายุน้อยกว่า 1-2 เดือน (รวมถึงจุกนมหลอก หรือ pacifier ด้วย) แม่หลายคนที่ต้องกลับไปทำงานอาจกังวลเรื่องลูกติดเต้า ไม่ยอมกินนมจากขวดระหว่างแม่ไปทำงาน จึงต้องการฝึกให้ลูกยอมรับขวดตั้งแต่วัยเพียงไม่กี่สัปดาห์ แต่วิธีนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาติดจุกได้ เพราะเมื่อลูกติดจุกและไม่ยอมดูดจากเต้า ปัญหาอื่นๆ อาจจะหนักกว่ากับการอดทนฝึกให้ลูกกินจากขวดหรือวิธีอื่นๆ (แก้ว/ ช้อน/ หลอด) ตอนลูกอายุ 2-3 เดือน วิธีแก้อาการติดจุก ทำอย่างไรให้หายสับสน งดขวด จุกนมยาง จุกนมหลอก (ต้องใจแข็งค่ะ) ป้อนนมลูกด้วยวิธีอื่น (แก้ว/ ช้อน/ หลอด) อุ้มลูกบ่อยๆ ให้ลูกเคยชินกับไออุ่นจากอกแม่ ให้ลูกกินนมจากอกเมื่อลูกอารมณ์ดี ไม่หงุดหงิด อย่ารอให้ลูกหิวจัด เช็คดูว่าลูกกินนมถูกวิธีหรือไม่ อ้าปากกว้างก่อนงับ และอมถึงลานนมหรือไม่ ปั๊มนมหรือกระตุ้นให้น้ำนมพุ่งก่อนให้ลูกดูด ทารกที่ติดจุกจะพอใจเมื่อดูดปุ๊บ น้ำนมไหลปั๊บ จะยอมรับเต้านมแม่ง่ายขึ้น ใช้ดรอปเปอร์หรือไซริงค์หยอดน้ำนมที่มุมปากของลูกทันทีเมื่อลูกเข้าเต้า ก่อนที่ลูกจะหงุดหงิดไม่ยอมรับเต้าแม่ ปรึกษาคลินิคนมแม่ หรือแม่อาสา ทารกที่ติดจุกจะทำหน้างงงวยเมื่อต้องกินนมแม่แทนนมขวด ปัญหานี้แก้ไม่ยากถ้าแม่เข้มแข็งและแน่วแน่และแม่จะต้องอดทนกับเสียงร้องของลูกเพียงไม่กี่วันเท่านั้น อย่าลืมให้กำลังใจกับลูกเมื่อลูกยอมดูด แม้จะเป็นเพียงชั่วครู่ก็ตาม อย่าลืมว่าการป้องกันปัญหาติดจุกง่ายกว่าการแก้นะคะ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคืออย่าเริ่มให้ลูกกินนมจากขวดเร็วเกินไป ให้ใช้แก้ว ช้อน หรือหลอดป้อน จะสามารถป้องกันมิให้ลูกเกิดความสับสนระหว่างนมแม่และจุกนมยางได้ค่ะ
แชร์ให้เพื่อน

ปัญหาติดจุก (NIPPLE CONFUSION)

[seed_social]
[seed_social]
จำเป็นต้องเสริมนมขวดด้วยไหม? ลูกจะติดจุกนมไหม? ปัญหาการดูดนมของลูก
โดย Admin
10 กันยายน 2017
1034
(จากหนังสือ นมแม่...50 คำถามยอดฮิต)          น้ำนมของสัตว์แต่ละชนิดผลิตขึ้นมาเพื่อให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของลูกสัตว์ชนิดนั้นมากที่สุด เช่น น้ำนมของแมวน้ำจะมีไขมันสูงเพื่อให้ลูกแมวน้ำใช้พลังงานต่อสู้กับความหนาวเย็น ถ้านำนมวัวมาให้ลูกแมวน้ำกิน อาจทำให้ลูกแมวน้ำได้รับไขมันไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตได้ น้ำนมของคนเราก็เช่นกัน ดังจะเห็นได้จากการที่มนุษย์มีสมองไว้คิดแก้ไขปัญหา ในน้ำนมแม่จึงอุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารที่ทำให้สมองทารกเจริญเติบโตได้ดีที่สุด ไม่มีน้ำนมของสัตว์ชนิดอื่นใดเทียบเท่าหรือแทนที่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น หากนำนมวัวมาให้ลูกคนกิน โอกาสที่จะได้รับสารบำรุงสมองอย่างเต็มที่ก็จะถูกลดทอนลงได้ เหตุผลสำคัญที่ทารกแรกเกิดทุกคนควรได้รับน้ำนมแม่ โดยไม่ต้องเสริมนมผสม เพราะว่า ในนมแม่มีสารบำรุงสมองที่เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของทารกมากที่สุด ทารกที่กินนมผสมเสี่ยงต่อการเกิดโรคแพ้โปรตีนนมวัวได้ การเสริมนมผสมเป็นอุปสรรคต่อการให้นมแม่ได้ เนื่องจากนมวัวย่อยยากกว่า จะมีระยะเวลาอยู่ในกระเพาะอาหาร ( gastric emptying time ) นาน ดังนั้นเด็กที่กินนมผสมจะอยู่ท้องนานกว่าและนอนนาน การดูดกระตุ้นเต้านมแม่น้อยลง ทำให้กลไกการผลิตน้ำนมน้อยลงและหยุดผลิตในที่สุด การเสริมนมผสมจากขวดนม ทำให้ลูกติดการดูดจุกนม เพราะนมไหลเข้าปากเร็ว ไม่ต้องออกแรงดูดมาก และวิธีดูดนมจากจุกนมต่างจากวิธีดูดนมจากเต้าแม่ ดังนั้น หากลูกชินกับการดูดจุกนมแล้วมาดูดนมแม่ด้วยวิธีเดียวกัน น้ำนมแม่จะไม่ออก ทำให้ลูกหงุดหงิด ร้องเมื่อดูดนมแม่ แม่จึงต้องให้นมผสมเพิ่มมากขึ้น จนต้องหยุดให้นมแม่ไปในที่สุด ความแตกต่างระหว่างการดูดนมแม่และการดูดนมขวด การดูดนมแม่ ลูกจะต้องอ้าปากกว้างเพื่อให้ทั้งหัวนมและลานนมเข้าไปอยู่ในปาก เหงือกลูกจะงับลงบนลานนม ลิ้นรองรับอยู่ใต้ลานนม กดหัวนมและลานนมแนบกับเพดานปาก หัวนมแม่ที่สัมผัสบริเวณเพดานปากของลูกจะกระตุ้นให้ลูกเริ่มดูดนม เหงือกจะขยับขึ้นลง และลิ้นจะรีดน้ำนมจากท่อน้ำนมเข้าสู่ปาก การดูดนมขวด ลูกจะไม่อ้าปากกว้าง จะใช้เหงือกกัดหัวนมยาง เพื่อให้น้ำนมไหลช้าลง ถ้าเป็นจุกนมที่มีรูใหญ่ น้ำนมออกมาก การดูดจะง่ายกว่าดูดนมแม่ นอกจากนี้ลูกอาจจะใช้ลิ้นอุดรูที่จุกยางเพื่อให้น้ำนมไหลช้าลง ทำให้ติดนิสัยกระดกลิ้นไว้ด้านในของปาก และไม่แลบลิ้นออกมาเวลาดูดนมแม่
แชร์ให้เพื่อน

จำเป็นต้องเสริมนมขวดด้วยไหม? ลูกจะติดจุกนมไหม?

[seed_social]
[seed_social]
วิธีรับมือ...เมื่อลูกกัดหัวนมแม่ ปัญหาการดูดนมของลูก
โดย Admin
22 มิถุนายน 2017
5932
10 วิธีรับมือ เมื่อลูกน้อยทำร้ายหัวนมคุณแม่
แชร์ให้เพื่อน

วิธีรับมือ...เมื่อลูกกัดหัวนมแม่

[seed_social]
[seed_social]
ลูกดูดนมบ่อยและนานมาก จนแม่ไม่เป็นอันทำอะไรเลย ปัญหาการดูดนมของลูก
โดย Admin
22 มิถุนายน 2017
23453
ลูกดูดนมบ่อยและนานมาก ในช่วงเดือนแรกๆ คุณแม่หลายคนรู้สึกว่าทำไมลูกติดเต้าจัง ดูดทีเป็นชั่วโมงๆ พอเอาออกก็ร้อง ต้องให้ดูดใหม่ จนแม่ไม่เป็นอันทำอะไร เรื่องนี้ไม่ยากเกินแก้ค่ะ เพียงคุณแม่สังเกตสักนิดว่า ลูกดูดไปหลับไป ทั้งที่ยังไม่อิ่มนมหรือเปล่า คุณแม่เห็นลูกหลับจึงเอาลูกออกจากเต้าเพราะเข้าใจว่าลูกอิ่มแล้ว พอจะเอาออกก็ร้องขอดูดต่อ หรือหลับได้ครู่เดียวก็ร้องหิวใหม่อีก ทำให้เข้าใจผิดคิดว่าตนเองน้ำนมน้อย แนะนำให้คุณแม่สังเกตว่าถ้าลูกหลับขณะกินนมและคายหัวนมออกเอง แสดงว่าลูกกินอิ่ม แต่ถ้ายังไม่คาย เพียงแต่อมหัวนมไว้ หรือดูดแค่เบาๆ คุณแม่ควรกระตุ้นให้ลูกดูดต่อโดย ใช้นิ้วชี้ที่ประคองด้านล่างของเต้านมเขี่ยริมฝีปากล่างของลูกเบาๆ เพื่อกระตุ้นให้ดูดต่อ ใช้มือบีบเต้านมเพื่อไล่น้ำนมเข้าปากลูก ลูกจะกลืนน้ำนมและดูดต่อ เมื่อลูกหยุดดูด ก็บีบใหม่ ทำเป็นระยะๆ จนกว่าลูกจะอิ่ม และคายปากออกเอง (ดูวิดีโอ) แต่ถ้าบีบไล่น้ำนมสักพักแล้วไม่ได้ผล อาจเป็นเพราะน้ำนมในเต้านั้นลดน้อยลงและไหลช้าลง ก็ให้เปลี่ยนไปอีกเต้าหนึ่ง ทำเป็นระยะๆ จนกว่าลูกจะอิ่ม และคายปากออกเอง ถ้าไม่ยอมตื่นดูดต่อ ให้เอาลูกออกจากเต้า และปลุกให้ตื่นก่อน จึงนำเข้าเต้าเพื่อดูดนมอีกครั้ง เทคนิคปลุกลูกขี้เซาให้ลุกขึ้นมาดูดนม - หรี่แสงไฟในห้องลง เพราะถ้าแสงจ้า ลูกจะหลับตา - ถ้าห่มผ้าหรือสวมเสื้อหนา ให้เปลี่ยนเป็นเสื้อผ้าที่บางลง เพราะลูกจะหลับง่ายถ้าอุ่นมาก - พูดคุยกับลูก และพยายามจ้องตาด้วย - เขี่ยมือและเท้า หรือลูบหลังลูก - เปลี่ยนผ้าอ้อม - ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดบริเวณหน้าผากและแก้ม ลูกดูดผิดวิธีทำให้ได้รับน้ำนมไม่เพียงพอหรือเปล่า ต้องตรวจสอบวิธีการดูดของลูกว่าถูกต้องหรือยัง ซึ่งถ้าลูกอมหัวนมได้ถูกต้อง เหงือกลูกจะงับที่ลานนม ดูดแรงและเป็นจังหวะช้าๆ คุณแม่จะเห็นเต้านมที่เหนือปากลูกกระเพื่อมและกล้ามเนื้อขากรรไกรของลูกขยับ อาจได้ยินเสียงลูกกลืนเป็นระยะๆ ซึ่งแสดงว่าลูกดูดแล้วได้น้ำนม หากลูกอมงับหัวนมผิดวิธี หรือดูดเป็นจังหวะถี่ๆ เกินไป แต่ดูดได้เบา หรือแก้มบุ๋ม ให้สอดนิ้วเข้าที่มุมปากลูกระหว่างช่องเหงือก ให้ปากลูกออกจากหัวนม แล้วจึงนำกลับเข้าเต้าใหม่ ลูกดูดได้แต่น้ำนมส่วนหน้าหรือเปล่า การที่คุณแม่ให้ลูกดูดสลับเต้าไปมาอยู่ตลอดทั้งๆ ที่ลูกยังดูดไม่เกลี้ยงเต้าจะทำให้ลูกดูดได้แต่น้ำนมส่วนหน้าซึ่งมีไขมันน้อยกว่าน้ำนมส่วนหลังทำให้ไม่อยู่ท้อง คุณแม่จึงควรให้ลูกดูดนมข้างหนึ่งจนเกลี้ยงเต้าแล้วค่อยเปลี่ยนไปดูดอีกข้าง พอถึงมื้อต่อไปก็ให้เริ่มจากข้างที่ดูดค้างไว้จากมื้อที่แล้ว ทำเช่นนี้ ลูกก็จะได้รับน้ำนมทั้งสองส่วน เป็นนิสัยของเด็กเองหรือเปล่า เด็กบางคนก็อยากดูดนมแม่ตลอดเวลาเพื่อความอุ่นใจ โดยเฉพาะในระยะแรกเกิด หรือในช่วง 2 เดือนแรก จากเดิมที่ลูกเคยอบอุ่นอยู่ในท้องแม่ เมื่อออกมาอยู่นอกท้องแล้วมีความรู้สึกอ้างว้าง การที่มีคุณแม่คอยดูแลอยู่ข้างๆ ส่งเสียงให้ลูกได้ยิน อุ้มปลอบบ้าง โดยไม่จำเป็นต้องให้ดูดนมทุกครั้งจะช่วยให้ลูกปรับตัวเองได้ดีขึ้นเมื่อลูกโตขึ้น
แชร์ให้เพื่อน

ลูกดูดนมบ่อยและนานมาก จนแม่ไม่เป็นอันทำอะไรเลย

[seed_social]
[seed_social]
น้ำนมพุ่ง ลูกสำลัก ทำให้ไม่ยอมดูด ปัญหาการดูดนมของลูก
โดย Admin
22 มิถุนายน 2017
8980
คุณแม่ที่มีน้ำนมไหลพุ่งแรงจนทำให้ลูกกลืนไม่ทัน มีอาการสำลักและเบือนหน้าหนีออกจากเต้าไม่ยอมดูด อาจทำให้เข้าใจผิดคิดว่าตัวเองมีน้ำนมน้อยลูกจึงไม่ยอมดูด เป็นสาเหตุหนึ่งของการหันไปพึ่งนมผสมเสริม
แชร์ให้เพื่อน

น้ำนมพุ่ง ลูกสำลัก ทำให้ไม่ยอมดูด

[seed_social]
[seed_social]
วิธีรับมือ...เมื่อลูกกัดหัวนมแม่ ปัญหาการดูดนมของลูก
โดย Admin
22 มิถุนายน 2017
5932
10 วิธีรับมือ เมื่อลูกน้อยทำร้ายหัวนมคุณแม่
แชร์ให้เพื่อน

วิธีรับมือ...เมื่อลูกกัดหัวนมแม่

[seed_social]
[seed_social]