รู้ก่อนให้นมแม่

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน : เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
เขียนโดย soraya
10 ธันวาคม 2017
คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน : เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้     งานวิจัยแรก ที่บอกว่าการบีบน้ำนมตั้งแต่ก่อนคลอด หรือที่เรียกว่า Antenatal milk expression สามารถทำได้อย่างปลอดภัย ขอนำเรื่องราวน่าสนใจ พญ. กรรณิการ์ บางสายน้อยได้นำผลงานวิจัยจาก Lancet มาให้อ่านในวันหยุดค่ะ เป็นงานวิจัยจากออสเตรเลีย เพิ่งตีพิมพ์เมื่อ 3 มิ.ย. 2560 นี้เอง งานวิจัยนี้ได้ทดลองในกลุ่ม #แม่ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งแม่กลุ่มนี้ ลูกมักจะเสี่ยงต่อน้ำตาลต่ำในเลือด มักถูกแยกไปอยู่ในแผนกฉุกเฉินทารก (NICU) ส่งผลให้ลูกไม่ได้ดูดนมแม่ เริ่มทดลองบีบน้ำนมตั้งแต่ 36 สัปดาห์ วันละสองครั้ง รูปหัวน้ำนมที่บีบได้ก่อนคลอด แต่ไม่ใช่รูปจากงานวิจัย เป็นของกูรูนมแม่แคนาดา โดยคุณหมอแจ๊ค นิวแมนคุณหมอ ได้อ่านงานศึกษานี้แล้วบอกว่าดีใจมาก ที่มีการศึกษารับรองว่าการบีบเอาหัวน้ำนมเก็บไว้ให้ลูกตั้งแต่ก่อนคลอด ทำได้อย่างทั้งมีประสิทธิภาพและปลอดภัย เพราะคุณหมอแจ๊ค นิวแมน เขาแนะนำแม่ ให้บีบเก็บน้ำนมให้ลูก กรณีที่อาจมีปัญหา ตั้งแต่ปี 1990 แล้วค่ะ กรณีแม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นตัวอย่างชัดเจน คุณหมอแจ๊ค แนะนำแม่ที่คลินิก คุณหมอให้ทำอย่างนี้ค่ะ เริ่มบีบด้วยมือตั้งแต่ 35 สัปดาห์ อย่างน้อยวันละครั้ง แช่แข็งเก็บไว้ นำไปโรงพยาบาลด้วย ถ้าลูกคลอดมาระดับน้ำตาลต่ำ ต้องเสริมนมก็ใช้หัวน้ำนมที่เก็บไว้มาละลายให้ หรือ ลูกดูดนมแม่ไม่ได้ ก็ใช้หัวน้ำนมที่เก็บไว้มาละลายให้ วิธีการให้ ดีที่สุดคือ การให้นมลูกให้ดูดนมแม่จากเต้านมเลย นอกนั้นคือ ใช้ถ้วยหรือช้อน กูรูนมแม่ระดับโลก แนะนำแบบนี้ค่ะ ทำให้หลีกเลี่ยงการใช้นมผสมได้ คุณแม่คนนี้ น้ำนมออกตั้งแต่ 16 สัปดาห์ ในภาพเป็นหัวน้ำนมที่เขาเก็บเมื่อตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์ แม่อีกคน กับหัวน้ำนมเมื่อ ตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์ คุณหมอแจ๊ค นิวแมน เขียนไว้ดีค่ะ “เวลาเผชิญปัญหาที่ไม่ปกติ ในเรื่องนมแม่ บุคลากรทางการแพทย์มักจบลงด้วยวิธีการแรก คือ ให้นมผสมแทน ถึงแม้จะรู้ว่านมแม่ดีที่สุด” ขอให้หยุดคิดกันหน่อย เมื่อเชื่อว่านมแม่ดีที่สุด #คุณแม่เป็นเบาหวานเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ ขอบคุณข้อมูล พญ. กรรณิการ์ บางสายน้อย มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
แชร์ให้เพื่อน

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน : เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

[seed_social]
[seed_social]
หัวนมสั้น บอด ใหญ่ ยาว จะให้นมลูกได้หรือไม่ ?
เขียนโดย Admin
21 มิถุนายน 2017
ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับหัวนมแม่ ว่าจะสามารถให้นมลูกน้อยได้หรือไม่
แชร์ให้เพื่อน

หัวนมสั้น บอด ใหญ่ ยาว จะให้นมลูกได้หรือไม่ ?

[seed_social]
[seed_social]
Breastfeeding Benefit : Claim or Over Claim รู้ก่อนให้นมแม่
โดย soraya
10 ธันวาคม 2017
944
Breastfeeding Benefit : Claim or Over Claim Breastfeeding Benefit : Claim or Over Claim โดย พ.อ.หญิง ผศ. พญ. ปริศนา พานิชกุล วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฏเกล้า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการคุมกำเนิด การให้ลูกได้กินนมแม่จะช่วยในการคุมกำเนิด แต่จะใช้ได้ต้องมีเงื่อนไข 3 ประการ ได้แก่ มารดาต้องเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว มารดาต้องยังไม่มีประจำเดือน และจะใช้ได้ในช่วงหกเดือนแรกเท่านั้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้ แต่จะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับกระดูก ช่วงที่มารดาให้นมลูก อาจพบว่ามารดามีมวลกระดูกลดลง แต่หลังจากที่มารดาหยุดให้นมแม่แล้ว มวลกระดูกของมารดาจะกลับมาเป็นปกติ อย่างไรก็ตาม การกินอาหารที่เหมาะสมของมารดา ทั้งในช่วงที่มารดาให้นมบุตรและในช่วงที่ไม่ได้ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรมีปริมาณแคลเซียมที่พอเพียง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับมะเร็งเต้านม การที่มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมของมารดา และเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของมารดา แม้ในกรณีที่มารดาเป็นมะเร็งเต้านม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับการพัฒนาสมองของมารดา การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสมองของแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในช่วง peripartum period พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสมองของแม่ในบางส่วนที่พิเศษที่อาจเรียกว่าเป็น “วงจรไฟฟ้าของการเป็นแม่ (maternal circuitry)” ที่มีความจำเป็นต่อการเริ่มต้น ต่อการคงไว้ และการควบคุมพฤติกรรมของการเป็นแม่ เช่น การสร้างรัง การปกป้องลูก เป็นต้น นอกจากนี้ บางส่วนควบคุมความจำ การเรียนรู้ และการตอบสนองต่อความกลัวและความเครียด1 โดยส่วนหนึ่งของ maternal circuitry นี้ คือ ระบบที่เกี่ยวกับแรงจูงใจของแม่ (maternal motivational system) ที่พบในการศึกษาในหนูทดลองของ Numan M. 2 ที่พบส่วนของสมองที่เรียกว่า medial preoptic area (MPOA) ที่เป็นส่วนวิกฤติที่จะเป็นส่วนที่รวมสัญญานจากฮอร์โมนต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงและการรับรู้ความรู้สึกที่เข้ามาในแม่นำไปสู่ maternal circuitry และยังมีส่วนของสมองที่เรียกว่า nucleus supraopticus (SON) ที่มีบทบาทสำคัญ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสมองของแม่พบว่าขนาดของสมองส่วน pituitary จะขยายใหญ่ขึ้นขณะตั้งครรภ์และเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยอาจเป็นผลจากการเพิ่มจำนวนเซลล์ รวมถึงที่บริเวณ MPOA และ SON และส่วนอื่นๆ และยังพบมีการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ (neurogenesis) ในสมองของแม่ ในปัจจุบันยังไม่เป็นที่เข้าใจชัดเจน แต่คาดว่าเซลล์ประสาทใหม่เหล่านี้ทำงานประสานกับวงจรไฟฟ้าของการเป็นแม่เดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว และน่าจะช่วยส่งเสริมความอ่อนตัวและการตอบสนองของแม่ต่อสิ่งกระตุ้นที่เฉพาะเจาะจงในสภาวะแวดล้อมใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงความต้องการอย่างมากในช่วงเวลาที่สำคัญนี้ สรุปโดย รศ. นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  
แชร์ให้เพื่อน

Breastfeeding Benefit : Claim or Over Claim

[seed_social]
[seed_social]
คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน : เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ รู้ก่อนให้นมแม่
โดย soraya
10 ธันวาคม 2017
5883
คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน : เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้     งานวิจัยแรก ที่บอกว่าการบีบน้ำนมตั้งแต่ก่อนคลอด หรือที่เรียกว่า Antenatal milk expression สามารถทำได้อย่างปลอดภัย ขอนำเรื่องราวน่าสนใจ พญ. กรรณิการ์ บางสายน้อยได้นำผลงานวิจัยจาก Lancet มาให้อ่านในวันหยุดค่ะ เป็นงานวิจัยจากออสเตรเลีย เพิ่งตีพิมพ์เมื่อ 3 มิ.ย. 2560 นี้เอง งานวิจัยนี้ได้ทดลองในกลุ่ม #แม่ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งแม่กลุ่มนี้ ลูกมักจะเสี่ยงต่อน้ำตาลต่ำในเลือด มักถูกแยกไปอยู่ในแผนกฉุกเฉินทารก (NICU) ส่งผลให้ลูกไม่ได้ดูดนมแม่ เริ่มทดลองบีบน้ำนมตั้งแต่ 36 สัปดาห์ วันละสองครั้ง รูปหัวน้ำนมที่บีบได้ก่อนคลอด แต่ไม่ใช่รูปจากงานวิจัย เป็นของกูรูนมแม่แคนาดา โดยคุณหมอแจ๊ค นิวแมนคุณหมอ ได้อ่านงานศึกษานี้แล้วบอกว่าดีใจมาก ที่มีการศึกษารับรองว่าการบีบเอาหัวน้ำนมเก็บไว้ให้ลูกตั้งแต่ก่อนคลอด ทำได้อย่างทั้งมีประสิทธิภาพและปลอดภัย เพราะคุณหมอแจ๊ค นิวแมน เขาแนะนำแม่ ให้บีบเก็บน้ำนมให้ลูก กรณีที่อาจมีปัญหา ตั้งแต่ปี 1990 แล้วค่ะ กรณีแม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นตัวอย่างชัดเจน คุณหมอแจ๊ค แนะนำแม่ที่คลินิก คุณหมอให้ทำอย่างนี้ค่ะ เริ่มบีบด้วยมือตั้งแต่ 35 สัปดาห์ อย่างน้อยวันละครั้ง แช่แข็งเก็บไว้ นำไปโรงพยาบาลด้วย ถ้าลูกคลอดมาระดับน้ำตาลต่ำ ต้องเสริมนมก็ใช้หัวน้ำนมที่เก็บไว้มาละลายให้ หรือ ลูกดูดนมแม่ไม่ได้ ก็ใช้หัวน้ำนมที่เก็บไว้มาละลายให้ วิธีการให้ ดีที่สุดคือ การให้นมลูกให้ดูดนมแม่จากเต้านมเลย นอกนั้นคือ ใช้ถ้วยหรือช้อน กูรูนมแม่ระดับโลก แนะนำแบบนี้ค่ะ ทำให้หลีกเลี่ยงการใช้นมผสมได้ คุณแม่คนนี้ น้ำนมออกตั้งแต่ 16 สัปดาห์ ในภาพเป็นหัวน้ำนมที่เขาเก็บเมื่อตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์ แม่อีกคน กับหัวน้ำนมเมื่อ ตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์ คุณหมอแจ๊ค นิวแมน เขียนไว้ดีค่ะ “เวลาเผชิญปัญหาที่ไม่ปกติ ในเรื่องนมแม่ บุคลากรทางการแพทย์มักจบลงด้วยวิธีการแรก คือ ให้นมผสมแทน ถึงแม้จะรู้ว่านมแม่ดีที่สุด” ขอให้หยุดคิดกันหน่อย เมื่อเชื่อว่านมแม่ดีที่สุด #คุณแม่เป็นเบาหวานเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ ขอบคุณข้อมูล พญ. กรรณิการ์ บางสายน้อย มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
แชร์ให้เพื่อน

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน : เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

[seed_social]
[seed_social]
การตั้งครรภ์ : ดื่มแอลกอฮอลล์ขณะตั้งครรภ์ ส่งผลต่อความผิดปกติของทารก รู้ก่อนให้นมแม่
โดย soraya
10 ธันวาคม 2017
1930
การตั้งครรภ์ : ดื่มแอลกอฮอลล์ขณะตั้งครรภ์ ส่งผลต่อความผิดปกติของทารก เหตุใด.... คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ ถึงไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ คะ แอลกอฮอล์ จัดอยู่ในอาหารและเครื่องดื่มต้องห้ามสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ทว่า คุณแม่หลายๆ คนมีพฤติกรรมติดสุรายากที่จะหยุดได้ และบางครั้งได้ดื่มสุราในขณะที่ตนเองได้ตั้งครรภ์ไปแล้ว อาจเกิดผลต่อทารกเกินคาดค่ะ จากข้อมูลของ JAMA Pediar นักวิจัยได้การทบทวน หาอัตราการเกิดของ ความผิดปกติที่เกิดจากทารกในครรภ์ได้รับแอลกอฮอลล์ ในเด็กและเยาวชน เป็นความผิดปกติทางด้านร่างและกายสมอง หรือ เรียกว่า Fetal Alcohol Spectrum disorder งานวิจัย พบว่า คุณแม่ที่ดื่มสุราขณะตั้งครรภ์มีถึง 1 ใน 13 ราย ทารกที่เกิดมา มีอาการ Fetal alcohol Spectrum Disorder(FASD) fetal alcohol spectrum disorder (FASD) มีอาการหลากหลาย เช่น พิการแต่กำเนิด สมาธิสั้น มีปัญหาด้านการเรียน จนถึงซึมเศร้า เสพติดยาฯ โตขึ้นมาก็อาจถูกจำคุก ตกงาน นอกจากนี้สุรายังเป็นสาเหตุหลักของทารกปัญญาอ่อน (mental retardation) ที่ไม่ได้เกิดจากสาเหตุทางพันธุกรรมอีกด้วย แต่โรคนี้ FASD เป็นโรคที่ป้องกันได้ค่ะ ใครทำงาน ห้องฝากครรภ์อย่าลืมนะคะ ส่วนคุณแม่ ขอความกรุณาอย่าได้เตะเลยค่ะ เพราะหารู้ไม่ว่า เจ้าแอลกอฮอลล์ เหล้า เบียร์ จะส่งผลในทางลบถึงลูกในครรภ์สูงมาก และส่งผลตามมาถึงจนโตค่ะ บทสรุปของงานวิจัย บอกว่าเป็นความจำเป็นในการสื่อสารให้สาธารณชนทราบเรื่องอันตรายการได้รับแอลกอฮอลล์ที่จะมีต่อลูกในครรภ์ ทำให้เกิด FASD เนื่องจากเป็นภาวะที่ป้องกันได้ ควรมีการคัดกรอง และให้การความรู้ และการดูแลที่เหมาะสม ข้อมูลตีพิมพ์ใน on line JAMA Pediar เมื่อวันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมา http://jamanetwork.com/j…/jamapediatrics/fullarticle/2649225 ขอบคุณข้อมูลจาก พญ. กรรณิการ์ บางสายน้อย มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย  
แชร์ให้เพื่อน

การตั้งครรภ์ : ดื่มแอลกอฮอลล์ขณะตั้งครรภ์ ส่งผลต่อความผิดปกติของทารก

[seed_social]
[seed_social]
คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน : เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ รู้ก่อนให้นมแม่
โดย soraya
10 ธันวาคม 2017
5883
คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน : เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้     งานวิจัยแรก ที่บอกว่าการบีบน้ำนมตั้งแต่ก่อนคลอด หรือที่เรียกว่า Antenatal milk expression สามารถทำได้อย่างปลอดภัย ขอนำเรื่องราวน่าสนใจ พญ. กรรณิการ์ บางสายน้อยได้นำผลงานวิจัยจาก Lancet มาให้อ่านในวันหยุดค่ะ เป็นงานวิจัยจากออสเตรเลีย เพิ่งตีพิมพ์เมื่อ 3 มิ.ย. 2560 นี้เอง งานวิจัยนี้ได้ทดลองในกลุ่ม #แม่ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งแม่กลุ่มนี้ ลูกมักจะเสี่ยงต่อน้ำตาลต่ำในเลือด มักถูกแยกไปอยู่ในแผนกฉุกเฉินทารก (NICU) ส่งผลให้ลูกไม่ได้ดูดนมแม่ เริ่มทดลองบีบน้ำนมตั้งแต่ 36 สัปดาห์ วันละสองครั้ง รูปหัวน้ำนมที่บีบได้ก่อนคลอด แต่ไม่ใช่รูปจากงานวิจัย เป็นของกูรูนมแม่แคนาดา โดยคุณหมอแจ๊ค นิวแมนคุณหมอ ได้อ่านงานศึกษานี้แล้วบอกว่าดีใจมาก ที่มีการศึกษารับรองว่าการบีบเอาหัวน้ำนมเก็บไว้ให้ลูกตั้งแต่ก่อนคลอด ทำได้อย่างทั้งมีประสิทธิภาพและปลอดภัย เพราะคุณหมอแจ๊ค นิวแมน เขาแนะนำแม่ ให้บีบเก็บน้ำนมให้ลูก กรณีที่อาจมีปัญหา ตั้งแต่ปี 1990 แล้วค่ะ กรณีแม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นตัวอย่างชัดเจน คุณหมอแจ๊ค แนะนำแม่ที่คลินิก คุณหมอให้ทำอย่างนี้ค่ะ เริ่มบีบด้วยมือตั้งแต่ 35 สัปดาห์ อย่างน้อยวันละครั้ง แช่แข็งเก็บไว้ นำไปโรงพยาบาลด้วย ถ้าลูกคลอดมาระดับน้ำตาลต่ำ ต้องเสริมนมก็ใช้หัวน้ำนมที่เก็บไว้มาละลายให้ หรือ ลูกดูดนมแม่ไม่ได้ ก็ใช้หัวน้ำนมที่เก็บไว้มาละลายให้ วิธีการให้ ดีที่สุดคือ การให้นมลูกให้ดูดนมแม่จากเต้านมเลย นอกนั้นคือ ใช้ถ้วยหรือช้อน กูรูนมแม่ระดับโลก แนะนำแบบนี้ค่ะ ทำให้หลีกเลี่ยงการใช้นมผสมได้ คุณแม่คนนี้ น้ำนมออกตั้งแต่ 16 สัปดาห์ ในภาพเป็นหัวน้ำนมที่เขาเก็บเมื่อตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์ แม่อีกคน กับหัวน้ำนมเมื่อ ตั้งครรภ์ 36 สัปดาห์ คุณหมอแจ๊ค นิวแมน เขียนไว้ดีค่ะ “เวลาเผชิญปัญหาที่ไม่ปกติ ในเรื่องนมแม่ บุคลากรทางการแพทย์มักจบลงด้วยวิธีการแรก คือ ให้นมผสมแทน ถึงแม้จะรู้ว่านมแม่ดีที่สุด” ขอให้หยุดคิดกันหน่อย เมื่อเชื่อว่านมแม่ดีที่สุด #คุณแม่เป็นเบาหวานเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ ขอบคุณข้อมูล พญ. กรรณิการ์ บางสายน้อย มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย
แชร์ให้เพื่อน

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน : เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้

[seed_social]
[seed_social]
หัวนมสั้น บอด ใหญ่ ยาว จะให้นมลูกได้หรือไม่ ? รู้ก่อนให้นมแม่
โดย Admin
21 มิถุนายน 2017
5311
ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับหัวนมแม่ ว่าจะสามารถให้นมลูกน้อยได้หรือไม่
แชร์ให้เพื่อน

หัวนมสั้น บอด ใหญ่ ยาว จะให้นมลูกได้หรือไม่ ?

[seed_social]
[seed_social]
กระเพาะอาหารของลูกแรกเกิด ในวันแรกมีขนาดใหญ่เท่าไร? รู้ก่อนให้นมแม่
โดย soraya
08 ธันวาคม 2017
5113
กระเพาะอาหารของลูกแรกเกิด ในวันแรกมีขนาดใหญ่เท่าไร?   ใครที่ไม่เคยอุ้มหรือเลี้ยงเด็กทารกเล็กๆมาก่อน พอได้อุ้มกอดลูกครั้งแรกรู้สึกอย่างไรกันบ้างคะ? ความรู้สึกของแต่ละคนคงจะแตกต่างกันไป แต่ที่คล้ายคลึงกันก็น่าจะเป็น ความรู้สึกอยากทนุถนอมทารกที่เปราะบางคนนี้ ที่เราอุ้มอยู่ในท้องมาเก้าเดือน อยากเห็นหน้าตลอดเวลา ดูสิปากนิดจมูกหน่อย ดูน่ารักไปหมดทุกส่วน เราจะต้องดูแลเขาให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ และเราจะทำได้ดีเมื่อเราเข้าใจเขาค่ะ อวัยวะทุกส่วนของทารกแรกเกิด ไม่เหมือนกับผู้ใหญ่ ลูกไม่ใช่ผู้ใหญ่ย่อส่วน เราอย่าเอาความเคยชินของเรามาตัดสินวิธีการ กิน การนอน การร้องไห้ และ การขับถ่าย ของเขาค่ะ เขามีลักษณะเฉพาะตัวที่เราต้องเรียนรู้ เริ่มต้นจากการกินก่อนเลยดีไหมคะ เราจะเคยชินกับการกินอาหารเป็นมื้อ ใช่ไหมคะ เพราะกระเพาะของเราจุได้มาก กินได้หลากหลาย แล้วลูกแรกเกิดล่ะเขาจะกินได้ทีละมากเท่าไรกัน? กลับไปดูตอนที่เขายังอยู่ในท้องแม่ก่อนดีกว่าค่ะว่าเขากลืนกินได้มากแค่ไหน ธรรมชาติของทารกที่ยังอยู่ในท้องแม่ จะมีการกลืนน้ำคร่ำเข้าท้องทีละอึก แต่ละอึกห่างกันสักระยะหนึ่ง นั่นคือปริมาณน้ำที่กระเพาะลูกเคยรองรับได้ในแต่ละครั้ง นั่นคือ กลืนทีละอึกสองอึกเท่านั้น ไม่ได้มากมายอะไรเลย ดังนั้น ในวันแรกหลังคลอดก็เช่นเดียวกันค่ะ กระเพาะของลูกยังอยู่ในระยะปรับตัวเพิ่งจะออกมาจากท้องแม่ จะไม่ชินกับปริมาณนมจำนวนมากๆ ธรรมชาติก็ช่างดีเหลือหลาย ช่วยทำให้น้ำนมแม่ในวันแรกผลิตได้ไม่มากเช่นเดียวกัน ช่างพอเหมาะพอดีกับความจุกระเพาะของลูก ลูกก็ดูดกลืนน้ำนมในวันแรกที่เรียกว่า “โคลอสตรัม” เข้าไปทีละเล็กละน้อย ดูดกันบ่อยๆตลอดทั้งวัน ลูกก็อบอุ่นบนอกแม่ อาหารก็ได้รับในปริมาณและคุณภาพที่เหมาะสม คือปริมาณน้อยๆแต่บ่อยๆ และมีสารภูมิคุ้มกันเต็มเปี่ยม เคยสงสัยไหมคะ ว่าเริ่มแรกที่ลูกอุแว้ออกมาจากท้องแม่ กระเพาะอาหารของลูกจะมีความจุมากสักเท่าไรกัน มีการศึกษาขนาดของกระเพาะทารกแรกเกิด พบว่า ในวันแรกมีความจุเพียง 5-7 มิลลิลิตร หรือจะเทียบกับขนาดของผักผลไม้ที่เราคุ้นเคย คือขนาดประมาณ “ มะเขือเทศสีดา” สีแดงที่เราใส่ในส้มตำเท่านั้นเองค่ะ นอกจากขนาดเล็กแล้ว ยังไม่ค่อยยอมยืดหยุ่นดีสักเท่าไร หมายความว่า ถ้าใส่นมเข้าไปเกิน 5-7 มิลลิลิตร ทารกจะแหวะนมออกมา เพราะ กระเพาะจะยังไม่ยืดออกเพื่อรองรับปริมาณนมที่มากกว่าความจุ ปริมาณน้ำนมแม่จะผลิตมากขึ้นตามการดูดของลูก และกระเพาะอาหารของลูกก็ปรับขนาดให้ใหญ่ขึ้นตามไปด้วย ในวันที่ 3 หลังคลอด กระเพาะอาหารของลูกมีความจุ 22-27 ซีซี หรือประมาณ 1 ออนซ์ ( เทียบขนาดได้เท่ากับกำปั้นของทารกเอง หรือ มะเขือเปราะ) เมื่อลูกโตขึ้นกระเพาะอาหารของลูกก็ค่อยๆโตขึ้นและยืดหยุ่นมากขึ้นด้วย เพื่อปรับให้รับน้ำนมแม่ที่ผลิตเพิ่มมากขึ้น จากวันแรกลูกกินนมแม่เฉลี่ย 7 ซีซีต่อมื้อ เพิ่มเป็น 14 ซีซี ในวันที่ 2 และเป็น 38 ซีซี วันที่ 3 จนถึง 65ซีซีต่อมื้อในวันที่ 7 หลังคลอด ขนาดกระเพาะอาหารของลูกในช่วงอายุ 10 วัน จะประมาณเท่ากับขนาดไข่ไก่ หรือ มะเขือเทศท้อ คุณแม่มือใหม่ทั้งหลายไม่ต้องห่วงเรื่อง น้ำนมแม่น้อย ในระยะแรกๆนะคะ จำนวนที่น้อยนั้นพอเหมาะกับกระเพาะของลูกแล้วล่ะค่ะ กว่าจะกินนมมากเป็นออนซ์สองออนซ์ได้ก็เข้าไปตั้งวันที่ 10 หลังคลอดโน่น ถ้าใครยังไม่มั่นใจก็ขอให้อ่านงานวิจัยนี้ค่ะ เขาพบว่า ทารกแรกเกิดปกติที่สุขภาพดี ที่กินนมแม่อย่างเดียวในวันแรกนั้น ได้รับน้ำนมเพียง 15ถึง 26 กรัมต่อวัน เท่านั้นเองค่ะ ไม่ได้มากมายอะไรเลย แต่เพียงพอสำหรับลูกในวันแรกแล้ว สิ่งที่สำคัญกว่า คือ การที่ลูกได้อยู่ใกล้ชิดกับแม่ ได้ดูดนมแม่ได้ตามที่ต้องการ ไม่ต้องกำหนดเวลา นั่นจะกระตุ้นกลไกธรรมชาติในการสร้างน้ำนมแม่ และทำให้มีน้ำนมผลิตออกมาได้เพียงพอในวันต่อๆมาค่ะ/ แอดมินหมอติ๋ม พญ.ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล                งานวิจัยของ Santoro W Jr, Martinez FE, Ricco RG, Jorge SM. เรื่อง Colostrum ingested during the first day of life by exclusively breastfed healthy newborn infants. J Pediatr. 2010 Jan;156(1):29-32. เพื่อศึกษาจำนวนโคลอสตรัมที่ทารกแรกเกิดที่กินนมแม่อย่างเดียวได้รับเข้าไปใน 2 4 ชั่วโมงแรกหลังคลอด โดยศึกษาในทารกแรกเกิดปกติสุขภาพดี 90 ราย จำนวนมื้อที่ดูดนมแม่ 307 มื้อ ค่าเฉลี่ย 3.4±1 มื้อต่อช่วงเวลา 8 ชั่วโมง พบว่าน้ำหนักขึ้นต่อมื้อ 1.5±1.1 กรัม จำนวนนมที่ได้รับต่อวันประมาณ 15±11 กรัม ซึ่งปริมาณนี้ไม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระยะ 24 ชั่วโมงหลังคลอด และ ปริมาณไม่เกี่ยวกับระยะเวลาที่ให้นมแม่ หรือแฟคเตอร์ก่อนคลอดหลังคลอดใดๆ (Santoro W Jr, Martinez FE, Ricco RG, Jorge SM. Colostrum ingested during the first day of life by exclusively breastfed healthy newborn infants. J Pediatr. 2010 Jan;156(1):29-32. Abstract Objective: To determine the mass of colostrum ingested by exclusively breastfed newborn infants during the first 24 hours of extrauterine life. STUDY DESIGN: Milk ingested during the first 24 hours of life by 90 healthy newborn infants was evaluated by use of a scale with high sensitivity. The masses were measured during 8-hour periods. Associations of the mass measured with prenatal and postnatal variables were tested. RESULTS: The mass of colostrum ingested was evaluated in 307 feedings, with 3.4+/-1 feedings recorded per 8-hour period of observation. Mean gain per feeding was 1.5+/-1.1 g. The daily mass of milk ingested by newborn infants was estimated at 15+/-11 g. This volume did not show a tendency to increase during the first 24 postnatal hours, nor was it related to perinatal or postnatal factors or to breastfeeding time.  
แชร์ให้เพื่อน

กระเพาะอาหารของลูกแรกเกิด ในวันแรกมีขนาดใหญ่เท่าไร?

[seed_social]
[seed_social]