เมื่อแม่เจ็บป่วย

CMV กับ การให้นมแม่

22 มิถุนายน 2017
แชร์ให้เพื่อน

CMV กับ การให้นมแม่

[seed_social]
[seed_social]

การติดเชื้อ CMV ในทารกหลังคลอด อาจติดได้ทางเชื้อที่ออกมากับน้ำลาย ปัสสาวะ สารคัดหลั่งทางช่องคลอด หรือ น้ำนมแม่ แต่จะไม่ค่อยเกิดอาการในทารกที่คลอดครบกำหนด

พบ CMV ในนมแม่ของแม่ที่มีผลเลือด CMV -seropositive ในอัตราตั้งแต่ 10- 85%

และอัตราการพบ CMV ในน้ำนม colostrum ต่ำกว่าในนมแม่ระยะหลัง

ดังนั้นการให้นมแม่ในช่วงสัปดาห์แรกจึงค่อนข้างปลอดภัย(สำหรับทารกที่คลอดครบกำหนด)

ในการศึกษาหนึ่งโดย Vochem 1998 พบว่า เชื้อ CMV จะออกมาทางน้ำนมมากที่สุดในระยะ 3-4 สัปดาห์หลังคลอด อีกการศึกษาหนึ่งก็พบมีไวรัสระหว่าง 2- 12 สัปดาห์หลังคลอด

ในแม่ที่ CMV-seropositive ( คือเจาะเลือดแล้วผลบวกต่อเชื้อ CMV) สามารถให้นมแม่แก่ลูกของตัวเองที่คลอดครบกำหนดได้ ถึงแม้ว่าจะมีอัตราการติดเชื้อ CMV มากกว่าทารกที่กินนมผสม ในช่วงอายุ 1 ปี แรก แต่การติดเชื้อในสถานการณ์นี้ไม่พบว่าทำให้มีการเจ็บป่วย ไม่มีอาการต่างๆ และไม่มีผลเสียตามมา

( อ้างอิงจากหนังสือ Breastfeeding : a guide for the medical professikon 7 th edition หน้า428)

ถ้าลูกเป็นทารกที่คลอดก่อนกำหนด จะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะ ภูมิต้านทานจะต่ำกว่า ทารกที่ครบกำหนด ถ้าจะให้นมแม่แนะนำให้บีบน้ำนมออกมาแล้วแช่แข็งที่ – 20 องศา C อย่างน้อย 24 ชั่วโมง ก่อนจะเอามาให้ทารกกิน พบว่าทำเช่นนี้แล้วการติดเชื้อ CMV สู่ทารกที่คลอดก่อนกำหนดพบได้น้อยลง

Admin
มูลนิธิศูนย์นมแม่
บทความที่เกี่ยวข้อง
ลูกอายุ 1 เดือน ถ่ายจนก้นแดง
อาหารตามวัย ควบคู่ไปกันมแม่ ตอน2
ยาภูมิแพ้และลดการบวมของเยื่อบุทางเดินหายใจ